อายูกะ ข่าน
อายูกะ ข่าน | |
---|---|
ข่านคัลมึค | |
ไทช์แห่งคัลมึค | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1672 – 1690 |
ค.ศ. 1672 | |
มอนชัค | |
ข่านแห่งรัฐข่านคัลมึค | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1690 – 1724 |
เซเรน ดอนดุก ข่าน | |
ประสูติ | ค.ศ. 1642 |
สวรรคต | ค.ศ. 1724 |
พระราชบิดา | มอนชัค |
ศาสนา | ศาสนาพุทธแบบทิเบต |
อายูกะ (อักษรโรมัน: Ayuka) หรือ อายูกิ ข่าน (อักษรโรมัน: Ayuki Khan; ค.ศ. 1669–1724) เป็นผู้นำชาวคัลมึคภายใต้การปกครองรัฐข่านคัลมึค ซึ่งถึงจุดสุดยอดในด้านเศรษฐกิจ, การทหาร และอำนาจทางการเมือง ในนามของรัสเซีย อายูกะ ข่าน ได้ปกป้องพรมแดนทางใต้ของรัสเซีย มีส่วนร่วมในการสำรวจทางทหารหลายครั้งเพื่อต่อสู้กับชนเผ่ามุสลิมในเอเชียกลาง, คอเคซัสเหนือ และคาบสมุทรไครเมีย[1]
กองทหารคัลมึคได้บุกโจมตีบาจเคอร์โดยมีการก่อการกำเริบบาจเคอร์ที่คาซันและโอเรนบุร์ก (ค.ศ. 1681–1684) จากนั้นรัฐบาลรัสเซียก็ส่งไปเจรจาสำหรับอายูเกะ เจ้าชาย โกลิตซิน อะเลกเซย์ อีวาโนวิช ซึ่งการเจรจาเหล่านี้ล้มเหลวในการหยุดการโจมตีคัลมึคของรัสเซีย รวมทั้งทำให้อายูกะ ข่าน มีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับปอร์ต, ไครเมีย และเปอร์เซีย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองรัสเซียในความพยายามที่จะเสริมสร้างอิทธิพลในแม่น้ำวอลกาตอนล่าง โดยได้สนับสนุนอายูกะ ข่าน และใช้กองกำลังของเขาในระหว่างการปราบปรามการก่อการกำเริบของอัสตราฮัน (ค.ศ. 1705–1706) และบูลาวิน (ค.ศ. 1707–1709) เช่นเดียวกับในมหาสงครามเหนือ (ค.ศ. 1700–1721) และสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย (ค.ศ. 1722–1723)[2] สำหรับสงครามหลัง เพื่อเป็นเกียรติแก่การรับใช้ของเขา เขาได้รับพระราชทานดาบทองคำและเข็มขัดที่ประดับด้วยเพชรพลอยโดยจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1[3]
อายูกะ ข่าน ฟื้นความสัมพันธ์อย่างสันติกับอาณาจักรรัสเซีย โดยหันความสนใจไปทางทิศตะวันออก ซึ่งอายูกะ ข่าน ได้ดำเนินการทัพทางทหารต่อชาวคาซัคและเติร์กเมน โดยทำให้พวกเขาตกเป็นเมืองขึ้น ส่วนหนึ่งของมังเฆิสชัคเติร์กเมนถูกแทนที่โดยอายูกะ ข่าน แห่งแม่น้ำวอลกา ในช่วงเวลาเดียวกันรวมถึงการทำสงครามกับชาวดาเกสตาน, คูมึค, คาบาร์เดีย และคูบันที่ประสบความสำเร็จ กระทั่งใน ค.ศ. 1690 ทะไลลามะได้พระราชทานตำแหน่งคัลมึค ไทชา อายูเกะ ข่าน ด้วยลัญจกร
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Dupu, Trevor N.; Wendell Blanchard (1991). Mongolia: Chapter 3C. Mongolia in Transition. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-16.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Republic of Kalmykia". Kommersant. 2004-03-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08. สืบค้นเมื่อ 2007-04-06. "The Kalmyk Khanate reached its peak of power in the period of Ayuka Khan (1669-1724). Ayuka Khan fulfilled his responsibility to protect the southern borders of Russia and conducted many military expeditions against the Crimean Tatars, Ottoman Empire and Kuban Tatars. He also waged wars against the Kazakhs, subjugated the Mangyshlak Turkmens, and made multiple expeditions against the highlanders of the North Caucasus."
- ↑ Konstantin Nikolaevich Maksimov. Kalmykia in Russia's Past and Present National Policies and Administrative System Central European University Press, 2008 ISBN 9639776173 p 86
- ↑ Konstantin Nikolaevich Maksimov. Kalmykia in Russia's Past and Present National Policies and Administrative System Central European University Press, 2008 ISBN 9639776173 p 86