อามิช
ครอบครัวอามิชเดินทางด้วยรถม้าในเทศมณฑลแลงคัสเตอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย | |
ศาสนิกชนรวม | |
---|---|
373,620 (อามิชคณะเก่า ค.ศ. 2022)[1] | |
ศาสดา | |
ยาคอบ อัมมันน์ | |
ภูมิภาคที่มีศาสนิกชนจำนวนมาก | |
สหรัฐ (ส่วนมากอยู่ในรัฐอินดีแอนา โอไฮโอ เพนซิลเวเนีย; จำนวนสำคัญอยู่ในรัฐเคนทักกี มิสซูรี มิชิแกน นิวยอร์กและวิสคอนซิน; ส่วนน้อยอยู่ในรัฐอื่น ๆ) แคนาดา (ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐออนแทรีโอ) | |
ศาสนา | |
แอนาแบ๊บติสต์ | |
คัมภีร์ | |
คัมภีร์ไบเบิล | |
ภาษา | |
ดัตช์เพนซิลเวเนีย, เยอรมันแบร์น, อเลมันน์ล่าง, เยอรมันอาลซัส, เยอรมันสูงอามิช, อังกฤษ |
อามิช (/ˈɑːmɪʃ/; เยอรมันเพนซิลเวเนีย: Amisch; เยอรมัน: Amische) หรือรู้จักอย่างเป็นทางการว่า อามิชคณะเก่า (Old Order Amish) เป็นกลุ่มคริสตชนนิกายแอนาแบ๊บติสต์ดั้งเดิมที่มีต้นกำเนิดจากชาวเยอรมันสวิสและแคว้นอาลซัสในฝรั่งเศส[2] พวกเขามีความใกล้ชิดกับกลุ่มเมนโนไนต์ซึ่งนับถือนิกายแอนาแบ๊บติสต์เช่นกัน[3] อามิชเป็นที่รู้จักจากการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย สวมเสื้อผ้าธรรมดา ถือคติสันตินิยมคริสต์ รักษาระดับการแยกตัวจากโลกภายนอกและปรับตัวต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเชื่องช้า พวกเขาให้คุณค่ากับชีวิตชนบท การพึ่งพาตนเอง การทำงานด้วยแรงงาน ความถ่อมตนและน้อมรับพระประสงค์ของพระเจ้า (Gelassenheit)
ประวัติศาสตร์ของอามิชเริ่มจากการแตกแยกในนิกายแอนาแบ๊บติสต์เมนโนไนต์ของชาวสวิสและอาลซัสในสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1693 ที่นำโดยยาคอบ อัมมันน์[4] ผู้ติดตามอัมมันน์รู้จักต่อมาว่าอามิช[5] ช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 อามิชแบ่งออกเป็นอามิชคณะเก่ากับเมนโนไนต์อามิช ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาวอามิชและเมนโนไนต์จำนวนมากอพยพมาอยู่ที่เพนซิลเวเนีย ปัจจุบันอามิชคณะเก่า อามิชคณะใหม่ อามิชบีชีเก่ารวมถึงเมนโนไนต์คณะเก่ายังคงพูดภาษาดัตช์เพนซิลเวเนีย แม้ชาวอามิชคณะเก่าในเทศมณฑลแอดัมส์และแอลเลน รัฐอินดีแอนาจะใช้ภาษาย่อยอลามันน์ที่แตกต่างกัน 2 ภาษาย่อย[6] ในปี ค.ศ. 2021 มีชาวอามิชคณะเก่าอาศัยอยู่ในสหรัฐมากกว่า 350,000 คนและในแคนาดาประมาณ 6,000 คน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชากรอามิชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาจากการไม่คุมกำเนิด[7]
ชาวอามิชยังคงรักษาวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของตน การเป็นสมาชิกเริ่มจากการเข้าพิธีบัพติศมาซึ่งทั่วไปอยู่ในช่วงอายุ 16–23 ปี พิธีนมัสการจะประกอบขึ้นทุกวันอาทิตย์ที่บ้านหรือโรงนา พวกเขามีข้อกำหนดที่เรียกว่า ออร์ดนุง (Ordnung) ซึ่งแตกต่างไปตามแต่ละชุมชน สมาชิกทุกคนจะตรวจสอบและชำระข้อกำหนดนี้ทุก ๆ สองปี ออร์ดนุง ครอบคลุมหลายด้านในชีวิตประจำวัน เช่น การห้ามหรือจำกัดการใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์และรถยนต์ รวมถึงการแต่งกาย ชาวอามิชมักศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนห้องเดียวของตนและยุติการศึกษาในระบบเมื่อถึงเกรด 8 ชาวอามิชส่วนใหญ่ไม่ทำประกันเชิงพาณิชย์หรือประกันสังคม พวกเขามีแนวคิดไม่ต่อต้านและไม่ร่วมกองทัพเช่นเดียวกับกลุ่มแอนาแบ๊บติสต์ปัจจุบัน[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Amish Population 2022: Amish Call New Mexico Home". Elizabethtown College, the Young Center for Anabaptist and Pietist Studies. July 29, 2022. สืบค้นเมื่อ August 2, 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Harry, Karen; Herr, Sarah A. (2 April 2018). Life beyond the Boundaries: Constructing Identity in Edge Regions of the North American Southwest (ภาษาอังกฤษ). University Press of Colorado. ISBN 978-1-60732-696-0.
The Amish were one of many Anabaptist groups that grew from the Radical Reformation in sixteenth-century Europe (Hostetler 1993).
- ↑ "Anabaptists". Young Center for Anabaptist and Pietist Studies at Elizabethtown College. สืบค้นเมื่อ 11 May 2022.
The Amish are one of many Anabaptist groups that trace their roots to the Anabaptist movement in sixteenth-century Europe at the time of the Protestant Reformation. Other groups include Mennonites, Hutterites, the Brethren in Christ, and Brethren groups that began in Schwarzenau, Germany, in 1708.
- ↑ Kraybill 2001, pp. 7–8.
- ↑ Kraybill 2001, p. 8.
- ↑ Zook, Noah; Yoder, Samuel L (1998). "Berne, Indiana, Old Order Amish Settlement". Global Anabaptist Mennonite Encyclopedia Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2013. สืบค้นเมื่อ April 3, 2009.
- ↑ "Amish Population Change, 1992–2017" (PDF). Young Center for Anabaptist and Pietist Studies, Elizabethtown College. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2020. สืบค้นเมื่อ December 28, 2017.
- ↑ Long, Steve. "The Doctrine of Nonresistance" (ภาษาอังกฤษ). Pilgrim Mennonite Conference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 20 May 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อามิช
- "อามิช". ที่สารานุกรมบริแทนนิกา