ข้ามไปเนื้อหา

อามาร์ดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่แสดงพื้นที่ของชาวอามาร์ดระหว่างเซฟีด-รูดกับแม่น้ำโดเฮซอร์

อามาร์เดียน (อังกฤษ: Amardians) โดยมากเรียกเป็น อามาร์ดี (Amardi, บางครั้งเป็น มาร์ดี (Mardi)) เป็นชนเผ่าอิหร่านโบราณ[1]ที่อาศัยอยู่บริเวณภูมิภาคภูเขาริมทะเลแคสเปียนทางเหนือ[2] ซึ่งเป็นที่มาของวัฒนธรรมยุคเหล็กที่มาร์ลิก[3] กล่าวกันว่าพวกเขามีความข้องหรือเป็นเผ่าเดียวกันกับ Dahae และ Sacae นั่นคือ พวกเขาเป็นชาวซิท[4] เฮโรโดตุสกล่าวถึงเผ่าที่มีชื่อคล้ายกันเป็นหนึ่งใน 10 ถึง 15 เผ่าเปอร์เซียในเปอร์ซิส[1][5]

พวกเขาอาศัยอยู่ในหุบเขาระหว่างซูซิสกับเปอร์ซิส[6] (ปัจจุบันอยู่ในอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้) Nearchus กล่าวถึงมาร์ดีตอนใต้เป็นหนึ่งใน 4 กลุ่มชนภูเขานักล่าแห่งบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ ร่วมกับซูซี, Uxii และ Elymaeans[7] ในบรรดากลุ่มชนร่อนเร่ 4 กลุ่ม มีเพียงอามาร์ดีเท่านั้นที่เป็นอิหร่านในทางภาษาศาสตร์[8]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า Mardi มาจากศัพท์อิหร่านเก่าของคำที่แปลว่า "มนุษย์"[6] (เปอร์เซียเก่า: 𐎶𐎼𐎫𐎡𐎹 martiya; จากอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม *mr̥tós, "มรรตัย")

Richard N. Frye เชื่อว่าชื่อนครออโมลมีรากจากคำว่า Amard ซึ่งปรากฏเป็นคำว่า Amui ในภาษาเปอร์เซียกลาง[9] ตามวรรณกรรมประวัติศาสตร์ ออโมลเป็นเมืองหลวงของตาปูเรีย (ปัจจุบันคือมอแซนแดรอน) นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของจักรวรรดิซาเซเนียนเป็นอย่างน้อยจนถึงจักรวรรดิข่านอิลของจักรวรรดิมองโกล

บันทึกประวัติศาสตร์

[แก้]

สตราโบกล่าวถึงชื่อ มาร์ดี หลายครั้ง เขาระบุที่ตั้งของชนกลุ่มนี้ที่ตอนใต้ของทะเลแคสเปียนในบริเวณที่ปัจจุบันคือจังหวัดกีลอนและจังหวัดมแซนแดรอนในอิหร่านตอนเหนือ[3][7] ในแผนที่นี้ เขากล่าวถึง Amardos (และแม่น้ำอามาร์ดอส) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคเซฟีดรูดในขณะนั้น[3][10]

เฮโรโดตุสกล่าวถึงเผ่าที่มีชื่อคล้ายกันเป็นหนึ่งใน 10 ถึง 15 เผ่าเปอร์เซียในเปอร์ซิส[1][5] พวกเขาอาศัยอยู่ในหุบเขาระหว่างซูซิสกับเปอร์ซิส[11] ซึ่งอยู่ในบริเวณอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ Nearchus กล่าวถึงมาร์ดีตอนใต้เป็นหนึ่งใน 4 กลุ่มชนภูเขานักล่าแห่งบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ ร่วมกับซูซี, Uxii และ Elymaeans[7] ในบรรดากลุ่มชนร่อนเร่ 4 กลุ่ม มีเพียงอามาร์ดีเท่านั้นที่เป็นอิหร่านในทางภาษาศาสตร์[12]

ภาพ

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • "The Mardians: A Note" (PDF). Leonardo Gregoratti (Durham University, UK). Anabasis, Studies for Classical Eastern Orientalism.

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "IRAN" [v. PEOPLES OF IRAN (2) Pre-Islamic]. Encyclopædia Iranica. Vol. XIII. สืบค้นเมื่อ July 20, 2017.
  2. Compact Bible atlas with gazetteer. Baker Book House. 1979. p. 7. ISBN 9780801024320 – โดยทาง Google Books.
    - Smith, William (1854). Dictionary of Greek and Roman Geography. Vol. 1. Little, Brown & Company – โดยทาง Google Books.
    - Indo-iranica. Vol. 2. Iran Society. 1947. p. 21 – โดยทาง Google Books.
  3. 3.0 3.1 3.2 Negahban, Ezat O. (1995). Marlik: The Complete Excavation Report. UPenn Museum of Archaeology. p. 321. ISBN 9780924171321.
  4. Norris, Edwin (1853). Memoir on the Scythic Version of the Behistun Inscription (ภาษาอังกฤษ). Harrison and Sons.
  5. 5.0 5.1 Encyclopaedia Iranica. Vol. 13. Routledge & Kegan Paul. 2004. p. 336. ISBN 9780933273955. สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.
  6. 6.0 6.1 Eadie, John (1852). Early Oriental History, Comprising the Histories of Egypt, Assyria, Persia, Lydia, Phrygia, and Phoenicia (ภาษาอังกฤษ). Griffin. ISBN 9780848207410.
  7. 7.0 7.1 7.2 "CASPIANS". Encyclopædia Iranica. Vol. V. p. 62. สืบค้นเมื่อ July 20, 2017.
  8. electricpulp.com. "IRAN v. PEOPLES OF IRAN (2) Pre-Islamic – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-07.
  9. Richard N. Frye. "Ancient Central Asian History Notes". Proceedings of the Second European Congress of Iranian Studies. Rome: ISMEO. p. 188. town of Amul on the Amu Darya and the Amul in Mazanderan, Iran, both of which may be traced back to the migration of an Iranian tribe called Amardi or Mardi
  10. "GĪLĀN" [iv. History in the Early Islamic Period]. Encyclopædia Iranica. Vol. X. pp. 634–635. สืบค้นเมื่อ July 20, 2017.
    - Wright, John Henry (1905). A history of all nations from the earliest times. Lea Brothers.
  11. Eadie, John (1852). Early Oriental History, Comprising the Histories of Egypt, Assyria, Persia, Lydia, Phrygia, and Phoenicia (ภาษาอังกฤษ). Griffin. p. 276. mardi.
  12. electricpulp.com. "IRAN v. PEOPLES OF IRAN (2) Pre-Islamic – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-07.