ข้ามไปเนื้อหา

อารยธรรมมายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรมายา)
แผนที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรมายา

อาณาจักรมายา เป็นอาณาจักรโบราณในอเมริกากลาง มีพื้นที่บริเวณประเทศเม็กซิโกคาบเกี่ยวกับประเทศเบลีซ และประเทศกัวเตมาลา มีความรุ่งเรืองช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 1502 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่นครวากา ปัจจุบันคือ เอลเปรู มีอายุร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมเตโอตีอัวกาน (en:Teotihuacan)

อาณาจักรมายาปกครองด้วยระบบกษัตริย์ เรียกว่า คูฮุลอะฮอว์ (K'uhul ajaw) หรือ เทวกษัตริย์

อารยธรรม

[แก้]

ชาวมายาใช้อักษรภาพในการบันทึก มีความสามารถทางดาราศาสตร์ จนสามารถทำนายเวลาเกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคาได้ล่วงหน้าเป็นเวลานาน รู้จักทำปฏิทินใช้ รู้จักประดิษฐ์เลขศูนย์ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ รู้จักค้าขายเกลือ หยก และเครื่องปั้นดินเผา แต่ชาวมายาไม่รู้จักใช้ล้อและไม่รู้จักการถลุงแร่ ซึ่งแสดงว่าชาวมายาดำรงชีวิตเหมือนมนุษย์หินที่รู้จักใช้เพียงไม้ กระดูกสัตว์ หินปูน และหินทรายในการสร้างเมือง

ชาวมายานับถือเทพเจ้ามาก และมีเทพเจ้ามากมาย ทั้งสุริยเทพ วสันตเทพ และมรณเทพ เทพเจ้าเหล่านี้ทรงโปรดปรานการเสวยเลือด ดังนั้นจึงมีพิธีบูชายัญด้วยชีวิตของหญิงพรหมจารี (บริสุทธิ์) เพื่อถวายเทพ [1]

พีระมิด

[แก้]

พีระมิดของชาวมายามีความสูงกว่า 150 ฟุต บนยอดพีระมิดจะแบนราบแตกต่างไปจากของอียิปต์ที่ปลายแหลม ประกอบด้วยบันไดทางขึ้น 4 ด้าน บันไดด้านละ 91 ขั้น รวมกับยกพื้นที่ฐานของพีระมิดอีกนับรวมเป็นได้ 365 ครบหนึ่งปี ถือเป็นปฏิทินถาวรอย่างหนึ่งของชาวมายา หนึ่งปีของชาวมายามี 13 เดือน และฤดูกาลอีก 4 ฤดู [2]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

[แก้]
ตีกัล

ประกอบด้วยเมืองสำคัญ ๆ คือ

  • ตีกัล (en:Tikal) มีพีระมิดของชาวมายา สูง 212 ฟุต บนยอดวิหารมีห้องมากมาย มีแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพเป็นจำนวนมาก ตามฝาผนังของวิหารก็มีรูปสลักเต็มแทบทุกด้าน
  • เปเตน (Peten)
  • ปาเลงเก (en:Palenque) มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยปากัล พบหลุมศพจำนวนมากและในวิหารแห่งศิลาจารึก (Temple of the Inscriptions)
  • ซีบิลชัลตุน (en:Dzibilchaltun) มีวิหารขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า The Temple of the Seven Dolls

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-15. สืบค้นเมื่อ 2007-10-07.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-02. สืบค้นเมื่อ 2007-10-07.