อาชิตะ, มามะงะอิไน
อาชิตะ, มามะงะอิไน | |
---|---|
ประเภท | ครอบครัว ดราม่า |
เขียนโดย | ซายะ มัตสึดะ |
แสดงนำ | |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | โยชิฮิโระ อิเกะ คาซูโยชิ ไซโต |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | "ดาเระกะวาตาชิ" โดย โคโทริงโงะ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศญี่ปุ่น |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาญี่ปุ่น |
จำนวนตอน | 9 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | ฮิบิกิ อิโต |
ผู้อำนวยการสร้าง | โชตะ ฟูกูอิ โทชิอากิ นัมบะ |
ผู้กำกับภาพ | รีวอิจิ อิโนมาตะ มาโกโตะ นากานูมะ |
ผู้ลำดับภาพ | ชินจิ โนจิมะ |
ความยาวตอน | 60 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | นิปปงทีวี |
ออกอากาศ | 15 มกราคม ค.ศ. 2014 – 12 มีนาคม ค.ศ. 2014 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
พรุ่งนี้...จะไม่มีแม่แล้ว (ไทย) Çocukluk (ตุรกี) |
อาชิตะ, มามะงะอิไน (ญี่ปุ่น: 明日、ママがいない; "พรุ่งนี้จะไม่มีแม่แล้ว") เป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่น ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์นิปปงทีวี ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม จนถึง 12 มีนาคม ค.ศ. 2014 นำแสดงโดย มานะ อาชิดะ และ ริโอะ ซูซูกิ ที่มีชื่อเสียงจากผลงานการแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง มาเธอร์ (2010) และ วูแมน (2013) ตามลำดับ[1] เล่าเรื่องราวของเด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า[2]
ออกอากาศไปทั้งสิ้น 9 ตอน และได้รับเรตติงเฉลี่ยที่ 12.85% ในภูมิภาคคันโต[3] อาชิตะ, มามะงะอิไน ได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์จากการถ่ายทอดชีวิตของเด็กกำพร้าที่ไม่สมควรโดยองค์กรสวัสดิภาพญี่ปุ่น[2]
เรื่องย่อ
[แก้]มากิ วาตานาเบะ ขณะอายุ 9 ปีถูกทิ้งอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าชื่อ โคงาโมะโนะอิเอะ (コガモの家, "บ้านเป็ด") หลังแม่ของเธอถูกจับกุมในข้อหาทำร้ายร่างกายโดยไม่มีเจตนา ที่นี่เธอพบกับโพสต์ เด็กหญิงที่ถูกทิ้งตั้งแต่กำเนิดในตู้ทิ้งเด็ก (baby hatch)[โปรดขยายความ] ขณะที่เด็กคนอื่น ๆ ถูกทอดทิ้งโดยผู้ปกครองหรือถูกนำมาพักจากเหตุการกระทำทารุณหรือการทอดทิ้งเด็ก สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าดำเนินการโดยนักสืบเกษียณ โทโมโนริ ซาซากิ ที่ดูผิดปกติเป็นพ่อบ้านด้วยความรุนแรง ทุก ๆ สัปดาห์ โทโมโนริ จัดให้มีการทดลองอยู่พักอาศัยกับครอบครัวอุปถัมภ์โดยให้เด็ก ๆ เป็นคนตัดสินใจเลือกผู้ปกครองด้วยตนเองตามความชอบของแต่ละคน เด็กในสถานเลี้ยงฯ จะใช้ชีวิตกับพวกเขาเป็นระยะเวลา 1–2 วันและตัดสินใจว่าพวกเขาอยากให้ถูกรับเลี้ยงหรือไม่
เด็กที่อาศัยอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของซาซากิต้องพบเจอกับการถูกเลือกปฏิบัติโดยสังคมและอาการบอบช้ำทางจิตหลังถูกทอดทิ้งไว้ที่สถานเลี้ยงฯ ขณะที่เด็กส่วนใหญ่เฝ้ารอความหวังที่จะได้รับเลี้ยงอยู่ในครอบครัวอันอบอุ่น มากิกลับให้ความหวังกับการที่แม่ของเธอจะมารับเธอกลับจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าสักวันหนึ่ง
ตัวละคร
[แก้]- คิราระ ซาซากิ แสดงโดย มานะ อาชิดะ (โพสต์)
- มากิ วาตานาเบะ แสดงโดย ริโอะ ซูซูกิ (ดงกิ)
- นาโอมิ โทบะ แสดงโดย ฮิโยริ ซากูราดะ (พีอามิ)
- ยูอิโกะ โทโจ แสดงโดย โคโนมิ วาตานาเบะ (บอมบิ)
- ล็อกเกอร์ แสดงโดย โชเฮ มิอูระ
- โอสึโบเนะ แสดงโดย ซูซูกะ โอโงะ
- โทโมโนริ ซาวากิ แสดงโดย ฮิโรชิ มิกามิ
- คานะ มิซูซาวะ แสดงโดย ฟูมิโนะ คิมูระ
- ยูกิ โทโจ แสดงโดย ยู ชิโรตะ
ผลตอบรับ
[แก้]อาชิมะ, มามะงะอิไน ได้รับเรตติงในตอนแรกที่ 14% ในภูมิภาคคันโต[4] อย่างไรก็ตาม จากข้อโต้เถียงและข้อวิพากษ์วิจารณ์ เรตติงของตอนที่ 2 ตกลงมาที่ 13.5%[5] สำหรับเรตติงเฉลี่ยของอาชิตะ, มามะงะอิไน อยู่ที่ 12.85% ในภูมิภาคคันโต[3]
การแสดงของนักแสดงได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ชม จากการสำรวจโดยออริคอน 50.8% ของผู้ชมแสดงความพึงพอใจสูงในการแสดงของนักแสดงหลักในตอนแรกของละครโทรทัศน์[6]
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]หลังการออกอากาศตอนแรกของอาชิตะ, มามะงะอิไน ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2014 ได้มีการแสดงความไม่พอใจจากสมาคมครอบครัวอุปถัมภ์, สมาคมสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าต่าง ๆ และโรงพยาบาลจิเก (慈恵病院) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่นที่รับเด็กที่ถูกทอดทิ้งผ่านตู้ทิ้งเด็ก (baby hatch) [7] โรงพยาบาลฯ ที่วิจารณ์การถ่ายทอดชีวิตของเด็กที่ถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งชื่อเล่นของตัวละครเด็กที่ทอดทิ้งว่า "โพสต์" เพราะเป็นการก่อให้เกิด "การทำร้ายทางจิตใจ" ต่อเด็กที่ถูกทิ้งผ่านตู้ทิ้งเด็กจริง ๆ[7] การวิพากษ์วิจารณ์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันที่ 21 มกราคม เมื่อสมาคมสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งชาติและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร้องขอให้นิปปงทีวียกเลิกการออกอากาศอาชิตะ, มามะงะอิไน ต่อไป[2] ละครโทรทัศน์เรื่องนี้ยังได้รับการกล่าวถึงในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[8] โดยว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการฯ โนริฮิซะ ทามูระ กล่าวว่า "มีรายงานเกี่ยวกับเด็กผู้หญิงในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าทำร้ายตนเอง (หลังชมละครโทรทัศน์เรื่องนี้)"[2]
จากข้อวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว บริษัทโฆษณาญี่ปุ่น เช่น มิตซูบิชิเอสเตท และ คาโอ ประกาศว่าพวกเขาจะยกเลิกการให้การสนับสนุนอาชิตะ, มามะงะอิไน[9] ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 22 มกราคม ตอนที่สอง ของละครโทรทัศน์ถูกออกอากาศโดยไม่มีการขึ้นเครดิตผู้สนับสนุนรายการ[10] ขณะที่ตอนที่สามมีการแสดงประกาศโฆษณาในบริการสาธารณะ (public service announcement) แทนโฆษณา[9]
ข้อวิพากษ์วิจารณ์สิ้นสุดลงเมื่อนิปปงทีวีกล่าวแถลงต่อสภาสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 ว่า "จะพิจารณาอย่างที่ถ้วนต่อเด็กให้มากยิ่งขึ้น" โดยการแก้ไขบางส่วนของบทละครโทรทัศน์อย่างไม่เจาะจง โคอิจิ ฟูจิโนะ ประธานสภาฯ ตอบรับคำแถลงของสถานีและบอกเป็นนัยว่าเขาจะชมอาชิตะ, มามะงะอิไน จนถึงตอนสุดท้าย[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 芦田愛菜、鈴木梨央と初共演で“泣ける”母なき子ドラマ主演. ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-11-29. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "NTV drama controversy represents conflict between delicate issue and freedom of expression". Mainichi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
- ↑ 3.0 3.1 明日、ママがいない <日本テレビ>. Audience Rating TV (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
- ↑ 芦田愛菜主演『明日、ママがいない』初回14.0%. Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
- ↑ 芦田愛菜主演『明日、ママがいない』2話は13.5%. Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
- ↑ 芦田愛菜の演技に好評価『明日、ママがいない』. Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
- ↑ 7.0 7.1 日テレのドラマ「明日、ママがいない」への抗議問題。施設の子どもに対する「想像力の欠如」と「加害性」. The Huffington Post Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
- ↑ 明日ママ、影響調査へ 厚労相「全国協議会に確認したい」. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-02-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
- ↑ 9.0 9.1 日テレ「明日、ママがいない」スポンサー全社がCM見合わせ. Sanpo (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-30. สืบค้นเมื่อ 2014-01-28.
- ↑ 「明日ママ」提供表示なし…一部CMがAC広告に差し替え. Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-28.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- อาชิตะ, มามะงะอิไน ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)