ข้ามไปเนื้อหา

อาการชอบถูไถอวัยวะเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้ายแสดงนอกที่จอดรถจักรยานในประเทศญี่ปุ่นที่เตือนว่า "ระวังถูกคลำ"

คำภาษาอังกฤษว่า Frotteurism (อนาจารโดยการเสียดสี) เป็นกามวิปริตที่บุคคลชอบเสียดสีอวัยวะ โดยปกติแถว ๆ บริเวณท้องน้อยหรือเชิงกราน หรือองคชาต ต่อคนที่ไม่ได้ยินยอมเพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ ซึ่งอาจจะรวมการสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายรวมทั้งบริเวณอวัยวะเพศ ส่วนคำว่า Toucherism (อนาจารโดยการจับ) เป็นความตื่นตัวทางเพศที่อาศัยการจับหรือการลูบคลำคนที่ไม่ได้ยินยอม ซึ่งมักจะเป็นการจับหน้าอก ก้น หรือบริเวณอวัยวะเพศ บ่อยครั้งอย่างเร็ว ๆ เมื่อเดินเฉียดกับเหยื่อ[1] นักจิตวิทยาบางท่านพิจารณา Toucherism ว่าเป็นรูปแบบอย่างหนึ่งของ Frotteurism แต่ท่านอื่นแยกแยะระหว่างอนาจารสองอย่างนี้[2]

รากศัพท์ภาษาอังกฤษและประวัติ

[แก้]

จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศส (Valentin Magnan) น่าจะเป็นคนแรกที่จัดอนาจารโดยการเสียดสีว่าเป็นความผิดปกติทางจิต โดยกล่าวถึงเหตุการณ์อนาจารที่เรียกว่า "frottage" 3 เหตุการณ์ในงานศึกษาปี 1890 เป็นคำที่มาจากคำกริยาภาษาฝรั่งเศสว่า frotter ซึ่งหมายความว่า "ถู/เสียดสี" ส่วนคำว่า Frotteur เป็นคำนามที่แปลตามอักษรว่า "บุคคลที่เสียดสี" เป็นคำที่ก่อความนิยมโดยนักเพศวิทยาชาวเยอรมันคนหนึ่ง (Richard von Krafft-Ebing) โดยยืมใช้คำของแพทย์ฝรั่งเศส ต่อมาคำว่า frotteurism จึงบัญญัติขึ้นในปี 1969 ในหนังสือเรียนเกี่ยวกับความผิดปกติทางเพศเล่มหนึ่ง[2]

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต เรียกความผิดปกติทางเพศนี้ว่า frottage จนกระทั่งฉบับที่ 3 (DSM III-R) แล้วจึงเปลี่ยนไปใช้คำว่า frotteurism ในฉบับที่ 4[3] แต่ปัจจุบันใช้คำว่า "frotteuristic disorder" ในฉบับที่ 5[4] อย่างไรก็ดี คำว่า frottage ก็ยังมีใช้ในกฎหมายประเทศตะวันตก ซึ่งใช้เป็นคำไวพจน์กับคำว่า frotteurism

อาการและการจัดหมวดหมู่

[แก้]

คู่มือแพทย์พิมพ์โดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association) คือ คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (ตัวย่อ DSM) ฉบับที่ 5 กำหนดเกณฑ์วินิจฉัยสำหรับ frotteuristic disorder ดังต่อไปนี้

  • การมีอารมณ์ทางเพศ (หรือความตื่นตัวทางเพศ) ที่รุนแรงและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ด้วยการจับหรือเสียดสีกับคนที่ไม่ได้ยินยอม โดยปรากฏเป็นจินตนาการ หรือความอยาก หรือพฤติกรรม เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
  • บุคคลนั้นได้ประพฤติตามความอยากทางเพศเช่นนี้กับบุคคลที่ไม่ได้ยินยอม หรือความอยากหรือจินตนาการทางเพศก่อความทุกข์หรือความบกพร่องทางสังคม ทางอาชีพ หรือในเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญ ในระดับที่สำคัญทางคลินิก

ดังนั้น ถ้าบุคคลไม่ได้ประพฤติตามความสนใจ และไม่ประสบกับความทุกข์หรือความบกพร่อง บุคคลนั้นพิจารณาว่า มีความสนใจทางเพศแบบชอบเสียดสี แต่ไม่วินิจฉัยว่ามีความผิดปกติแบบ frotteuristic[4] นักเพศวิทยาบางท่านแยกแยะระหว่าง frotteurism (เป็นการเสียดสีบริเวณเชิงกราน) และ toucherism (เป็นการคลำด้วยมือ) แต่ว่า DSM ไม่ได้แยกแยะ[5] ส่วนนักเพศวิทยาผู้หนึ่ง (Kurt Freund) เรียก frotteurism และ toucherism ว่าเป็น courtship disorder (ความผิดปกติในการจีบคู่) ที่เกิดขึ้นในระยะสัมผัส (tactile stage) ของการจีบคู่ในมนุษย์[6][7]

ความชุกและกฎหมาย

[แก้]

ความชุก (prevalence) ของความผิดปกตินี้ยังไม่มีข้อมูล แต่ว่า DSM ประเมินว่า ชาย 10%-14% ที่พบหมอเกี่ยวกับโรคกามวิปริตหรือ hypersexuality (เซ็กส์เกิน) มีความผิดปกติแบบ frotteuristic ซึ่งก็หมายความว่า ในประชากรทั่วไป ความชุกก็จะต่ำกว่า แต่ว่า ชายทั่วไปในอัตราถึง 30% อาจทำอนาจารโดยการเสียดสี แม้ว่าอาจจะวินิจฉัยไม่ได้ว่ามีความผิดปกติทางจิต[4] คนเสียดสีโดยมากเป็นชาย และเหยื่อโดยมากเป็นหญิง[8] แม้ว่าประเภทหญิงต่อชาย หญิงต่อหญิง และชายต่อชายก็ยังมีด้วย เป็นสิ่งที่บ่อยครั้งทำในสถานการณ์ที่เหยื่อไม่อาจตอบสนองได้ง่าย ๆ เช่นในที่สาธารณะ เช่นในรถไฟหรือในคอนเสิร์ตที่มีคนแน่น

แต่โดยปกติแล้ว ความประพฤติทางเพศที่ไม่ได้ยินยอมจะมองว่าเป็นอาชญากรรมแบบการทำร้ายทางเพศ แต่จะจัดว่าเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง และเมื่อถูกตัดสินว่าผิดอาจจะถูกลงโทษ หรือบังคับให้มีการบำบัดทางจิตเวช[9] โดยประมวลกฎหมายอาญาไทยมาตราที่ 278 กำหนดไว้ว่า

ผู้ใด กระทำอนาจารแก่ “บุคคล” อายุกว่าสิบห้าปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

— ประมวลกฎหมายอาญามาตราที่ 278[10]

โดยที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องสินไหมเป็นค่าตอบแทนอันตรายที่เกิดขึ้นทางร่างกายและจิตใจ

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Cantor, JM; Blanchard, R; Barbaree, HE (2009). Sexual disorders. Oxford textbook of psychopathology (2nd ed.). New York: Oxford University Press. pp. 527–548. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Lussier, Patrick; Piché, Lyne (2008). "Frotteurism: Psychopathology and Theory". ใน Laws, D. Richard (บ.ก.). Sexual Deviance: Theory, Assessment, and Treatment (2nd ed.). The Guilford Press. pp. 131–132, 145.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Laws, D. Richard; O'Donohue, William T. (2012-04-16). Sexual Deviance, Second Edition: Theory, Assessment, and Treatment (2nd ed.). Guilford Press. ISBN 9781462506699. สืบค้นเมื่อ 2013-07-25.
  4. 4.0 4.1 4.2 American Psychiatric Association, บ.ก. (2013). "Frotteuristic Disorder 302.89 (F65.81)". Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition. American Psychiatric Publishing. pp. 691–694.
  5. McAnulty, Richard D; Adams, Henry E; Dillon, Joel (2002). "Sexual disorders: The paraphilias". ใน Sutker, Patricia B; Adams, Henry E (บ.ก.). Comprehensive handbook of psychopathology. New York: Plenum Press. p. 761.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Freund, K. Courtship disorders: Toward a biosocial understanding of voyeurism, exhibitionism, toucherism, and the preferential rape pattern. 'Crime in biological, social, and moral contexts. NY: Praeger. pp. 100–114. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. {{cite book |authors = Freund, K |year = 1990 |title = Courtship disorders |editors = Marshall, WL; Laws, DR; Barbaree, HE |work = Handbook of sexual assault: Issues, theories, and treatment of the offender |location = NY|publisherPlenum Press = }195-207}
  8. "Frotteurism". SexInfo Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-18. สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.
  9. "Advanced Topics in Human Sexuality: frottophilia". SEX ED 601. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.
  10. "อาญา มาตรา ๒๗๘ - ๒๘๗". 2011-09-08.