อัศฮาบุลอุคดูด
อัศฮาบุลอุคดูด (อาหรับ: أصحاب الأخدود, อักษรโรมัน: ʿaṣ'ḥābu l-ʿukhdūdi) เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงในซูเราะฮ์ อัลบุรูจญ์ จากอัลกุรอาน โดยเป็นเรื่องราวของผู้คนที่ถูกโยนเข้าในคูและจุดไฟเผาเนื่องจากความเชื่อต่ออัลลอฮ์[1]
เรื่องราว
[แก้]โองการที่ 4 ถึง 7 เป็นเรื่องราวผู้ศรัทธาที่ถูกเผาในคู:
โองการ | ภาษาอาหรับ | แปลไทย |
---|---|---|
4 | قُتِلَ أَصْحَابُ الْأُخْدُودِ | บรรดาเจ้าของหลุมพรางถูกสาปแช่ง |
5 | النَّارِ ذَاتِ الْوَقُودِ | ไฟที่เต็มไปด้วยเชื้อเพลิง |
6 | إِذْ هُمْ عَلَيْهَا قُعُودٌ | ขณะที่พวกเขานั่งอยู่ตรงหน้าไฟ |
7 | وَهُمْ عَلَىٰ مَا يَفْعَلُونَ بِالْمُؤْمِنِينَ شُهُودٌ[2] | และพวกเขารู้เห็นเป็นพยานต่อสิ่งที่บรรดาลูกน้องกระทำกับบรรดาผู้ศรัทธา[3] |
จากนั้นในโองการ 8 ถึง 10 อัลกุรอานระบุต่อว่าพวกเขาถูกฆ่าเนื่องจากศรัทธาต่ออัลลอฮ์เท่านั้น:
โองการ | ภาษาอาหรับ | แปลไทย |
---|---|---|
8 | وَمَا نَقَمُوا مِنْهُمْ إِلَّا أَن يُؤْمِنُوا بِاللَّـهِ الْعَزِيزِ الْحَمِيدِ | และพวกเขามิได้แก้แค้นเขาเหล่านั้นเว้นแต่ว่าเขาเหล่านั้นศรัทธาต่อัลลอฮฺผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ |
9 | الَّذِي لَهُ مُلْكُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ ۚ وَاللَّـهُ عَلَىٰ كُلِّ شَيْءٍ شَهِيدٌ | ผู้ซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเป็นของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่งอย่าง |
10 | إِنَّ الَّذِينَ فَتَنُوا الْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ ثُمَّ لَمْ يَتُوبُوا فَلَهُمْ عَذَابُ جَهَنَّمَ وَلَهُمْ عَذَابُ الْحَرِيقِ[2] | แท้จริงพวกที่ประหัตประหารบรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิง แล้วพวกเขามิได้สำนึกผิดกลับตัวนั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษแห่งนรกญะฮันนัม และพวกเขาจะได้รับการลงโทษแห่งการเผาไหม้[3] |
ความหมายของ 'อุคดูด'
[แก้]รายงานจากอัลมุฟเราะดาตฟีเฆาะรีบิลกุรอาน "อุคดูด" (อาหรับ: أخـدود) เป็นรากศัพท์จาก "ค็อด" (อาหรับ: خـد) ซึ่งหมายถึง "คูกว้างและลึกแผ่กระจายไปทั่วแผ่นดิน"[4] สาเหตุที่มีชื่อนี้เพราะเชื่อกันว่าเป็นบริเวณที่เกิดเหตุการณ์เผาตัว[5]
ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ
[แก้]อัลอุคดูดเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ทางตอนใต้ของนัจญ์รอนของซาอุดีอาระเบีย 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์) โดยเกิดขึ้นใน ค.ศ. 520 หรือ 523 ในรัชสมัยของษูนุวาส กษัตริย์ฮิมยัรองค์สุดท้าย[5][6]
เรื่องราวในข้อมูลอื่น
[แก้]มีเรื่องราวเกี่ยวกับอัศฮาบุลอุคดูดที่ต่างกัน โดยหนึ่งในนั้นปรากฏในฮะดีษเกี่ยวกับมะลิก (อาหรับ: مَـلِـك, กษัตริย์) ที่มี ซาฮิร (อาหรับ: سَـاحِـر, ผู้วิเศษ) ในสมัยก่อนหน้ามุฮัมมัด เมื่อผู้วิเศษเริ่มแก่ชรา เขากล่าวแก่กษัตริย์ให้หาเด็กชายที่ฉลาดเพื่อเรียนรู้ ซิหร์ (อาหรับ: سِـحْـر, เวทมนตร์) จากเขา อย่างไรก็ตาม ขณะที่เด็กชายกำลังฝึกเวทมนตร์ เขาพบนักบวชขณะเดินทางไปเรียนเวทมนตร์ทุกวัน และท้ายที่สุดกลายเป็นผู้ศรัทธาในพระเจ้า ทำให้เขาสามารถช่วยคนและรักษาผู้ป่วยในวิธีที่แปลกประหลาดได้ เมื่อกษัตริย์ทราบสิ่งนี้ พระองค์สั่งให้เด็กชายละทิ้งความศรัทธานี้เสีย แต่เด็กลายปฏิเสธ ทำให้เขาถูกฆ่าตามพระราชกระแสรับสั่ง พระองค์ก็เผาผู้ที่ติดตามดีน (อาหรับ: ديـن, ศาสนา) ของเด็กชายในคูหนึ่งหรือหลายคู[7][8][9]
อิบน์ อิสฮาก-กิโยมตีความข้อความนี้เป็นการพาดพิงถึงการฆ่าชาวคริสต์แห่งนัจญ์รอนตามพระราชกระแสรับสั่งของพระเจ้าษูนุวาส ข้อมูลคริสเตียนรายงานว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 523 ษูนุวาสหันไปนับถือศาสนายูดาห์และเปลี่ยนชื่อเป็นโยเซฟ พระองค์เสด็จไปที่นัจญ์รอนเพื่อบังคับให้ชาวคริสต์เข้ารีตศาสนายูดาห์ เมื่อพวกเขาปฏิเสธ พระองค์จึงโยนพวกเขาลงในคูหนึ่งหรือหลายคูที่เผาไหม้ทั้งเป็น[5]
มีฮะดีษเกี่ยวกับพระเจ้าทรงเลือกนบี (อาหรับ: نَـبِي, ศาสดา) ในอบิสซีเนีย แต่ผู้คนที่นั่นปฏเสธเขา ท้ายที่สุดทั้งศาสดาและผู้ติดตามถูกเผาในคู[10]
และมีรายงานว่าผู้ติดตามของดาเนียลถูกเผาในคู[11] บางคนกล่าวว่ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นหลายครั้งและหลายที่ เช่น เยเมน คอนสแตนติโนเปิล บาบิโลน อิรัก และอัชชาม; และเรื่องราวนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่เหตุการณ์เดียว[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "People of the Ditch".
- ↑ 2.0 2.1 Quran 85:4–7 "Quran (85:4–7)".
- ↑ 3.0 3.1 "อัลกุรอานซูเราะฮ์ที่ 85 แปลไทย".
- ↑ Sadr-Ameli, Sayyed Abbas. "85". An enlightening commentary into the light of the Quran. Vol. 19. Imam Ali foundation.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Encyclopaedia Of The Quran, Jane Dammen McAuliffe, vol.2, pp.147–148
- ↑ "Ukhdud Najran the story is narrated by Quran and successive civilizations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2015-08-09.
- ↑ Abdul Malik bin Hisham Ibn Hisham, Biography of the Prophet, Darol-Ma'refah Publication, Beirut, vol.1, pp.35–36, 1355 H.Sh.
- ↑ Muhammad Bal'ami, History of the Prophets and Kings, Sorosh Publication, Tehran, vol.2, pp.121–122, 1378 H.Sh.
- ↑ Barghi, Ahmad ibn Muhammad. Almahasen. Vol. 1. p. 250.
- ↑ Shaykh Tabarsi. Majma' al-Bayan. Vol. 10. p. 706.
- ↑ al-Tha'labi, Ahmad ibn Muhammad. Ghesas al-Anbia. Vol. 1. Beirut. pp. 438–439.