ข้ามไปเนื้อหา

ออลเทอร์นาทิฟร็อก

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัลเทอร์เนทีฟ ร็อก)

ออลเทอร์นาทิฟร็อก (อังกฤษ: alternative rock ในบางครั้งอาจเรียกว่า ดนตรีออลเทอร์นาทิฟ (alternative music), ออลต์-ร็อก (alt-rock) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ออลเทอร์นาทิฟ) เป็นแนวเพลงร็อกที่เกิดขึ้นจากเพลงใต้ดินอิสระในคริสต์ทศวรรษ 1980 และเริ่มได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในคริสต์ทศวรรษ 1990 ทั้งนี้ คำว่า "ออลเทอร์นาทิฟ" นั้นหมายถึง ความแตกต่างด้านแนวเพลงจากดนตรีร็อกกระแสหลัก ความหมายของคำนี้แต่เดิมกว้างกว่านี้ คือหมายถึงยุคของนักดนตรี ไปจนถึงแนวเพลงหรืออาจเป็นแค่ทำงานอิสระ กลุ่มคนที่ทำงานแบบดีไอวายในแนวพังก์ร็อก ซึ่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นี้เองได้ปูพื้นฐานให้กับดนตรีออลเทอร์นาทิฟ[5] ในช่วงเวลานี้เอง "ออลเทอร์นาทิฟ" ล้วนอธิบายว่าหมายถึงดนตรีจากศิลปินร็อกใต้ดินที่ได้เป็นที่รู้จักในกระแสหลัก หรือดนตรีประเภทไหนก็ตาม ไม่ว่าจะใช่ร็อกหรือไม่ ที่สืบทอดมาจากดนตรีพังก์ร็อก (ตัวอย่างเช่น พังก์ นิวเวฟ และโพสต์พังก์)

ออลเทอร์นาทิฟร็อก มีความหมายครอบคลุมถึงดนตรีที่แตกต่าง ในแง่ของซาวด์เพลง บริบททางสังคม และรากเหง้าท้องถิ่น เมื่อสิ้นสุดคริสต์ทศวรรษ 1980 นิตยสารและซีน (Zine), สถานีวิทยุในวิทยาลัย และการพูดแบบปากต่อปากนี้เองที่ทำให้แนวนี้โดดเด่นขึ้นมาและถือเป็นจุดเด่นความหลากหลายของออลเทอร์นาทิฟร็อก ยังช่วยให้กำหนดนิยามแนวเพลงที่แตกต่างให้ชัดเจน (กระแสดนตรี) เช่น นอยส์ป็อป, อินดีร็อก, กรันจ์ และชูเกซ แนวเพลงย่อยจำพวกนี้ส่วนใหญ๋แล้วจะประสบความสำเร็จในกระแสหลักได้เพียงเล็กน้อยและมีไม่กี่วง อย่าง ฮุสเกอร์ดุ และ อาร์.อี.เอ็ม. ที่ได้เซ็นสัญญากับค่ายใหญ่ แต่วงออลเทอร์นาทิฟส่วนใหญ่แล้วจะประสบความสำเร็จด้านยอดขายที่ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับแนวร็อกอื่น ๆ และดนตรีป็อปในช่วงนั้น วงส่วนใหญ่จะเซ็นสัญญากับค่ายเพลงอิสระและได้รับความสนใจจากวิทยุที่เปิดเพลงกระแสหลัก โทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ เพียงเล็กน้อย และจากการแจ้งเกิดของวงเนอร์วานาและความนิยมในกระแสเพลงกรันจ์และบริตป็อปในคริสต์ทศวรรษ 1990 ออลเทอร์นาทิฟร็อกก็สามารถก้าวสู่ดนตรีกระแสหลัก มีวงออลเทอร์นาทิฟหลายวงประสบความสำเร็จ

ต้นกำเนิดของชื่อ

[แก้]

ก่อนที่ชื่อ ออลเทอร์นาทิฟร็อก จะใช้กันอย่างกว้างขวางราวปี 1990 จำพวกของเพลงที่ถูกอ้างถึงมีความหมายที่หลากหลายกันไป[6] ปี 1979 เทอร์รี ทอลคิน ใช้คำว่า ดนตรีออลเทอร์นาทิฟ (Alternative Music) เพื่อบรรยายถึงวงที่เขากำลังเขียนถึงอยู่[7] ปี 1979 สถานีวิทยุจากดัลลาสคลื่น เคเซดอีดับเบิลยู (KZEW) มีรายการคลื่นลูกใหม่ช่วงดึกที่ชื่อ "ร็อกแอนด์โรลล์ออลเทอร์นาทิฟ" (Rock and Roll Alternative)[8] ส่วนคำว่า "คอลเลจร็อก" ใช้ในสหรัฐเพื่ออธิบายหมายถึงดนตรีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เพื่อเชื่อมโยงกับขอบเขตสถานีมหาวิทยาลัยและรสนิยมของนักเรียนระดับมหาวิทยาลัย[9] ในสหราชอาณาจักรค่ายเพลงประเภทดีไอวายมากมายเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมย่อยพังก์ จากข้อมูลของหนึ่งในผู้ก่อตั้งค่ายเชอร์รีเรด กล่าวว่านิตยสาร เอ็นเอ็มอี และนิตยสาร ซาวส์ ได้เผยแพร่ชาร์ตเพลงจากข้อมูลของร้านขายแผ่นเล็ก ๆ เรียกชาร์ตนี้ว่า "ออลเทอร์นาทิฟชาตส์" (Alternative Charts) ส่วนชาร์ตระดับชาติชาร์ตแรกที่ดูจากยอดขายเรียกว่า อินดี้ชาร์ต (Indie Chart) ตีพิมพ์ในเดือนมกราคม 1982 ชาร์ตประสบความสำเร็จทันทีจากการช่วยเหลือของค่ายเพลงเหล่านี้ ณ ตอนนั้นคำว่าอินดี้ใช้เพื่ออธิบายถึงค่ายอิสระ[10] ในปี 1985 อินดี้มีความหมายเจาะจงไปทางแนวเพลง หรือกลุ่มแนวเพลงย่อย มากกว่าแค่สถานะการเผยแพร่เพลง[9]

การใช้คำว่า ออลเทอร์นาทิฟ เพื่ออธิบายถึงเพลงร็อกเกิดขึ้นราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1980[11] ขณะนั้นเป็นคำทั่วไปที่อธิบายถึงเพลงล้ำสมัย เป็น เพลงแบบใหม่ และดนตรีโพสต์โมเดิร์น ที่เป็นการบ่งบอกถึงความสดใหม่ และพิเศษ ตามลำดับ เพื่อบ่งซาวด์ให้ต่างจากเพลงในอดีต[5][12] คนที่ทำงานด้านดีเจและโปรโมเตอร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 อ้างว่าที่มาของคำนี้เกิดขึ้นจากสถานีวิทยุเอฟเอ็มอเมริกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่เปิดเพลงรูปแบบทางเลือกใหม่ก้าวหน้าไปจนถึงเพลงรูปแบบท็อป 40 โดยเปิดเพลงยาวขึ้นและให้อิสระแก่ดีเจในการเลือกเพลงมากกว่า จากข้อมูลของหนึ่งในดีเจและโปรโมเตอร์ "บางครั้งคำว่า 'ออลเทอร์นาทิฟ' ถือเป็นการค้นพบใหม่ และยืมมาจากบุคลากรสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่พวกเขาประยุกต์มาใช้กับเพลงโพสต์พังก์ใหม่, อินดี้ และเพลงใต้ดินอะไรก็ตาม"[13] ในช่วงแรกคำนี้ตั้งใจให้หมายถึง เพลงร็อกนอกกระแส ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจาก "เพลงเฮฟวีเมทัลบัลลาด, เพลงนิวเวฟบาง ๆ" และ "เพลงชาติเต้นรำอันทรงพลัง"[14] การใช้คำนี้ก็กว้างมากขึ้นให้รวมถึงเพลงนิวเวฟ, ป็อป, พังก์ร็อก, โพสต์พังก์ และในบางครั้งหมายถึงเพลงคอลเลจ/อินดี้ร็อก ที่พบเห็นได้ในสถานีวิทยุ "ออลเทอร์นาทิฟเพื่อการค้า" ในยุคนั้นอย่างเช่น เคอาร์โอคิว-เอฟเอ็ม (KROQ-FM) ในลอสแอนเจลิส นักข่าว จิม เกอร์ (Jim Gerr) เขียนไว้ว่า ออลเทอร์นาทิฟได้รวบความหลากหลายอย่างเช่น "แร็ป, แทรช, เมทัล และอินดัสเทรียล" ไว้ด้วยกัน[15] ในเดือนธันวาคม 1991 นิตยสาร สปิน เขียนว่า "ปีนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เป็นที่โด่งดังแจ่มแจ้งว่า อะไรก่อนหน้าถือว่าเป็นออลเทอร์นาทิฟร็อก ที่เป็นกลุ่มศูนย์กลางการตลาดของเด็กมหาวิทยาลัย ที่ทำกำไรพอควร หากจะตั้งขอบเขตแนวโน้มแล้ว ในความเป็นจริงคือได้ก้าวสู่กระแสหลักเรียบร้อยแล้ว"[15] รายการครั้งแรกของลอลลาพาลูซา เทศกาลของนักท่องเที่ยวในอเมริกาเหนือ ให้นึกถึงหัวหน้าวงเจนส์แอดดิกชัน เพอร์รี ฟาร์เรลล์ ที่กลับมารวมตัวกันใหม่ "โดยมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของชุมชนออลเทอร์นาทิฟร็อก" ร่วมด้วยเฮนรี โรลลินส์, บัตต์โฮลเซิฟเฟอส์, ไอซ์-ที, ไนน์อินช์เนลส์, ซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์ และเจนส์แอดดิกชัน[15] ปีเดียวกันฟาร์เรลล์เป็นคนต้นคิดคำว่า ออลเทอร์นาทิฟเนชัน (Alternative Nation)[16] ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 คำนี้มีนิยามที่เจาะจงอีกครั้ง[5] ปี 1997 นีล สเตราสส์แห่ง เดอะนิวยอร์กไทมส์ จำกัดความหมายของออลเทอร์นาทิฟร็อกว่า "ร็อกแน่วแน่ที่แยกโดยความเปราะบาง, ท่อนริฟฟ์กีตาร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากคริสต์ทศวรรษ 1970 และนักร้องที่เจ็บปวด เต็มไปด้วยปัญหา จนพวกเขานำไปสู่มิติแห่งมหากาพย์"[14]

การนิยามดนตรีออลเทอร์นาทิฟมักเป็นเรื่องยากลำบากเหตุเพราะ มีการประยุกต์ใช้คำที่ขัดแย้งกัน 2 อย่าง ออลเทอร์นาทิฟสามารถอธิบายถึงดนตรีที่ท้าทายดนตรีมีเป็นอยู่ และ "นอกคอกอย่างรุนแรง, ต่อต้านการค้า และต่อต้านกระแสหลัก" แต่คำนี้ก็ยังใช้ในอุตสาหกรรมดนตรีเพื่อแสดงถึง "ทางเลือกของผู้บริโภคจากร้านแผ่นเสียง, วิทยุ, เคเบิลทีวี และอินเทอร์เน็ต"[17] อย่างไรก็ดี ดนตรีออลเทอร์นาทิฟก็เหมือนจะขัดแย้งในตัวเอง เพราะได้กลายมาธุรกิจและสามารถทำเงินได้แบบเพลงร็อกกระแสนิยม โดยค่ายเพลงใช้คำว่า "ออลเทอร์นาทิฟ" เป็นดนตรีการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังในกลุ่มที่เพลงร็อกกระแสนิยมไม่สามารถเข้าถึงได้[18] การนิยามความหมายที่กว้างขึ้นของแนวเพลงนี้ เดฟ ทอมป์สันได้พูดถึงในหนังสือของเขา ออลเทอร์นาทิฟร็อก ว่าการเกิดวงเซ็กซ์พิสทอลส์ หรืออย่างการออกจำหน่ายอัลบัม ฮอร์ซิส ของแพตตี สมิท และ เมทัลแมชชีนมิวสิก ของลู รีด เป็น 3 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดออลเทอร์นาทิฟร็อก[19] จนในช่วงที่ผ่านมา (ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000) เมื่ออินดี้ร็อกกลายเป็นคำทั่วไปในสหรัฐที่อธิบายหมายถึง โมเดิร์นป็อป และร็อก คำว่า "อินดี้ร็อก" และ "ออลเทอร์นาทิฟร็อก"จึงสามารถใช้สลับสับเปลี่ยนกันได้[20] ขณะที่มุมมองของ 2 แนวเพลงนี้ที่เหมือนกันคือ อินดี้ร็อกเป็นคำที่ใช้จากวงอังกฤษ แต่ออลเทอร์นาทิฟร็อกมักใช้กับวงอเมริกันมากกว่า[21]

คุณลักษณะ

[แก้]

คำว่า "ออลเทอร์นาทิฟร็อก" โดยพื้นฐานแล้วอยู่ภายใต้ความหมายของ ดนตรีใต้ดิน ที่เกิดขึ้นมาในช่วงตื่นตัวของพังก์ร็อก ตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1980[22] ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อกนั้น ได้นิยามคำจำกัดความส่วนใหญ่โดยผู้ปฏิเสธความสำเร็จทางธุรกิจของวัฒนธรรมกระแสหลัก ถึงแม้ว่าอาจมีข้อถกเถียงเกิดขึ้นตั้งแต่ศิลปินใหญ่แนวออลเทอร์นาทิฟจะประสบความสำเร็จในกระแสหลักหรือได้ทำงานกับค่ายใหญ่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา (โดยเฉพาะตั้งแต่สหัสวรรษใหม่เป็นต้นมา) วงออลเทอร์นาทิฟร็อกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยมากจะเล่นในคลับเล็ก ๆ บันทึกเสียงกับค่ายอินดี และเผยแพร่ความนิยมแบบปากต่อปาก[23] ดังนั้นเพลงออลเทอร์นาทิฟจึงไม่ได้สร้างขึ้นจากสไตล์ดนตรีโดยทั้งหมด ถึงแม้ว่า เดอะนิวยอร์กไทมส์ จะอธิบายในปี 1989 ว่าเป็นแนวเพลงที่ "อย่างแรกคือเป็นดนตรีกีตาร์ ด้วยกีตาร์นี้เองที่ระเบิดคอร์ดอันทรงพลัง ทำให้ชัดขึ้นโดยท่อนริฟฟ์ที่ก้องกังวาน เสียงอื้ออึงโดยกีตาร์ฟัซซ์โทนและความแหลมจากเสียงสะท้อนกลับ"[24]

โดยปกติแล้วเพลงร็อกในสไตล์อื่น ตั้งแต่ช่วงเพลงร็อกกระแสหลักในคริสต์ทศวรรษ 1970 เนื้อเพลงแนวออลเทอร์นาทิฟร็อกจะมีแนวโน้มที่จะพูดถึงเนื้อหาเรื่องสังคม อย่างเช่น การใช้ยา ความตกต่ำทางเศรษฐกิจ การฆ่าตัวตาย และสิ่งแวดล้อมนิยม[23] วิถีเนื้อเพลงที่พัฒนาขึ้นเป็นการสะท้อนถึงสังคมและความตึงเครียดทางเศรษฐกิจในสหรัฐและสหราชอาณาจักรในคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[25]

ประวัติ

[แก้]

ยุคก่อนออลเทอร์นาทิฟร็อก (คริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970)

[แก้]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ก่อนการเกิดของออลเทอร์นาทิฟร็อก อยู่ในช่วงกระแสโพรโตพังก์[26] ต้นกำเนิดของออลเทอร์นาทิฟร็อก สามารถย้อนกลับไปได้ถึงอัลบัม เดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์แอนด์นีโก (1967) ของ เดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์[27] ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่วงนออลเทอร์นาทิฟร็อกหลายวงในยุคหลัง[28] อัลบัม วีร์ออนลีอินอิตฟอร์เดอะมันนี (We're Only In It For The Money) ของ เดอะมาเทอส์ออฟอินเวนชัน (1968) ได้ถูกยอมรับว่าเป็นอัลบัมเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อกยุคแรก[29] ศิลปินเช่น ซิด บาร์เร็ตต์ (Syd Barrett) มีอิทธิพลต่อออลเทอร์นาทิฟร็อกโดยทั่ว ๆ ไป[30] รวมทั้งวงคาบาเรต์วอลแทร์ (Cabaret Voltaire) เดอะโมโนโครมเซ็ต (The Monochrome Set) สเวลแม็ปส์ (Swell Maps) พอปกรุป (Pop Group) และพีไอแอล (PIL)[31] เป็นวงออลเทอร์นาทิฟร็อกในคริสต์ทศวรรษที่ 1970

คริสต์ทศวรรษ 1980

[แก้]
Male singer in white shirtsleeves and trousers, with a band behind him on a small stage.
หนึ่งในวงออลเทอร์นาทิฟยุคแรกที่ได้รับความนิยม วง อาร์.อี.เอ็ม. ที่ได้รับการเล่นออกอากาศทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัย จนมีฐานแฟนเพลง ได้ก้าวสู่กระแสเพลงหลักได้

ช่วงปี 1984 วงดนตรีโดยมากมักจะเซ็นสัญญากับค่ายเพลงอิสระที่มีเพลงร็อกหลากหลายรูปแบบและได้รับอิทธิพลเพลงร็อกในคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นบางส่วน[32]

ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 ออลเทอร์นาทิฟร็อกยังคงถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใต้ดิน ขณะที่มีบางเพลงที่ได้รับความนิยมจนกลายเป็นเพลงฮิตหรืออัลบัมฮิต จนได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมจากสิ่งพิมพ์กระแสหลักอย่าง โรลลิงสโตน ออลเทอร์นาทิฟร็อกในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยมากจะอยู่กับค่ายเพลงอิสระ ตีพิมพ์ในแฟนซีน หรือเล่นในสถานีวิทยุของวิทยาลัย วงออลเทอร์นาทิฟได้สร้างกลุ่มคนฟังใต้ดินโดยการออกทัวร์อย่างคงเส้นคงวา และออกอัลบัมต้นทุนต่ำอยู่เป็นประจำ อย่างในสหรัฐ วงใหม่ ๆ จะเจริญรอยตามแบบวงที่มาก่อน นี่ทำให้ขยายขอบเขตของเพลงใต้ดินในอเมริกา เพิ่มเติมเข้ากับแวดวงต่าง ๆ ในหลาย ๆ แห่งของสหรัฐ[22] แม้ศิลปินออลเทอร์นาทิฟอเมริกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จะไม่เคยมียอดขายอัลบัมที่ดี การลงทุนลงแรงของพวกเขาก็ถือได้ว่ามีอิทธิพลให้กับนักดนตรีออลเทอร์นาทิฟในยุคต่อมา และได้ปูพื้นฐานความสำเร็จให้แก่พวกเขาเอง[33] เมื่อวันที่ 10 กันยายน 1988 เกิดชาร์ตเพลงออลเทอร์นาทิฟขึ้นบนนิตยสาร บิลบอร์ด เป็น 40 อันดับเพลงที่ถูกเล่นบ่อยที่สุดบนสถานีวิทยุออลเทอร์นาทิฟและโมเดิร์นร็อกในสหรัฐ เพลงอันดับ 1 เพลงแรกคือเพลง "พีก-อะ-บู" ของซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์[34] ในปี 1989 แนวเพลงนี้ได้รับความนิยมมากเพียงพอจนเกิดทัวร์รวมศิลปินอย่าง นิวออร์เดอร์, พับลิกอิมเมจลิมิเตด และ เดอะชูการ์คิวส์ ออกทัวร์กันในสหรัฐ[35]

อีกฟากหนึ่ง ออลเทอร์นาทิฟร็อกอังกฤษเริ่มมีความโดดเด่นขึ้นมาในช่วงที่สหรัฐอยู่ในช่วงแรก โดยเริ่มใส่ความเป็นป็อปมากกว่า (ดูได้จากอัลบัมและซิงเกิลที่โดดเด่น เช่นเดียวกับการเปิดกว้างที่มักใส่องค์ประกอบเพลงเต้นรำและวัฒนธรรมในคลับเข้ามาด้วย) และเนื้อเพลงให้ความสำคัญกับความเป็นชาวอังกฤษ ผลก็คือ วงออลเทอร์นาทิฟร็อกจำนวนหนึ่งประสบความสำเร็จด้านยอดขายในสหรัฐด้วย[36] ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อกได้รับการเปิดออกอากาศอย่างแพร่หลายบนวิทยุในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดีเจหลายคน อาทิ จอห์น พีล (ทำงานสถานีวิทยุออลเทอร์นาทิฟบน บีบีซีเรดิโอวัน), ริชาร์ด สกินเนอร์ และแอนนี ไนติงเกล นอกจากนี้ศิลปินยังมีกลุ่มผู้ติดตามอย่างเหนียวแน่ทั้งในสหรัฐ โดยผ่านสถานีวิทยุแห่งชาติอังกฤษและสื่อดนตรีรายสัปดาห์ และยังมีวงออลเทอร์นาทิฟหลายวงประสบความสำเร็จที่ชาร์ตในสหรัฐนี้ด้วย[37]

เพลงใต้ดินในสหรัฐ ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980

[แก้]
A woman and a man playing guitar in performance. The woman on the left is dressed in a short dress and the man on the right is in jeans and a shirt.
คิม กอร์ดอน กับ เทิร์สตัน มัวร์ จากวงโซนิกยูท

วงออลเทอร์นาทิฟอเมริกันยุคแรก ๆ อย่างเช่น เดอะดรีมซินดิเคต, เดอะบอนโกส, เทนเทาซันด์แมนิแอกส์, อาร์.อี.เอ็ม., เดอะฟีลีส์ และไวโอเลนต์เฟมส์ ได้รวมเพลงพังก์เข้ากับเพลงโฟล์ก รวมถึงเพลงกระแสหลักมาไว้ด้วยกัน อาร์.อี.เอ็ม. เป็นวงที่ประสบความสำเร็จที่สุดโดยทันที อัลบัมเปิดตัวชุด เมอร์เมอร์ (1983) เข้าใน 40 อันดับแรก และยังได้ฐานผู้ฟังเพลงแจงเกิลป็อปจำนวนมาก[38] อีกหนึ่งในผู้อยู่ในกระแสเพลงแจงเกิลในต้นยุคคริสต์ทศวรรษ 1980 วงเพรสลีย์อันเดอร์กราวด์จากลอสแอนเจลิส นำซาวด์ในคริสต์ทศวรรษ 1960 มาฟื้นฟู เข้ากับความหลอน เสียงร้องอันกลมกลืนอิ่มเอิบ และกีตาร์ที่ประสานกันกับโฟล์กร็อก เช่นเดียวกับเพลงพังก์และเพลงใต้ดิน อย่างวงเดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์[22]

ค่ายเพลงอิสระอเมริกันอย่าง เอสเอสทีเรเคิดส์, ทวิน/โทนเรเคิดส์, ทัชแอนด์โกเรเคิดส์ และดิสคอร์ดเรเคิดส์ มีความโดดเด่นขึ้นมาจากการสลับเปลี่ยนจากเพลงฮาร์ดคอร์พังก์ที่โดดเด่นในกระแสเพลงใต้ดินอเมริกัน ไปสู่แนวเพลงที่หลากหลายมากขึ้นของเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อกที่กำลังโดดเด่นขึ้นมา[39] วงจากมินนีแอโพลิส อย่าง ฮุสเกอร์ดุ และเดอะรีเพลซเมนส์ ก็เป็นหนึ่งในวงที่สลับเปลี่ยนแนวเพลงนี้ ทั้ง 2 วงเริ่มจากการเป็นวงพังก์ร็อก จากนั้นก็เปลี่ยนซาวด์ดนตรีให้ฟังดูมีเมโลดีมากขึ้น[22] ไมเคิล แอเซอร์แรดยืนยันว่า ฮุสเกอร์ดุถือเป็นกุญแจสำคัญในการเชื่อมเปลี่ยนเพลงฮาร์ดคอร์พังก์และเพลงที่มีเมโลดี้มากขึ้น ทำให้ดนตรีคอลเลจร็อกที่เกิดขึ้นมีความหลากหลาย แอเซอร์แรดเขียนไว้ว่า "ฮุสเกอร์ดุมีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวให้เพลงใต้ดินที่มีเมโลดีและเพลงพังก์ร็อกให้ไม่เป็นเรื่องแย้งกัน"[40] วงยังได้สร้างตัวอย่างที่ดี ด้วยการเป็นวงอินดีอเมริกันวงแรกที่เซ็นสัญญากับค่ายใหญ่ ยังได้ทำให้สร้างเพลงคอลเลจร็อกให้ "เป็นกิจการเพื่อการค้าอย่างชัดเจน"[41] ขณะที่วงเดอะรีเพลสเมนส์ที่แต่งเพลงอกหักและเล่นคำมากกว่าที่จะพูดเรื่องการเมือง ก็ทำให้เกิดกระแสเพลงใต้ดินได้อย่างมาก แอเซอร์แรดเขียนว่า "ร่วมกับวง อาร์.อี.เอ็ม. แล้ว เดอะรีเพลสเมนส์เป็นหนึ่งในวงใต้ดินไม่กี่วงที่คนฟังเพลงกระแสหลักชื่นชอบ"[42]

ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 กระแสออลเทอร์นาทิฟร็อกอเมริกันมีอิทธิพลกว้างขึ้นตั้งแต่เพลงออลเทอร์นาทิฟพอปแปลก ๆ (เดย์ไมต์บีไจแอนส์ และ แคมเปอร์แวนบีโทเฟน) ไปจนถึงนอยส์ร็อก (โซนิกยูท, บิกแบล็ก, เดอะจีสัสไลซาร์ด[43]) และอินดัสเทรียลร็อก (มินิสทรี, ไนน์อินช์เนลส์) ซาวด์ดนตรีเหล่านี้ทำให้มีวงที่ตามมา อย่างวงจากบอสตันที่ชื่อ พิกซีส์ และวงจากลอสแอนเจลิสที่ชื่อ เจนส์แอดดิกชัน[22] ในช่วงเวลาเดียวกัน แนวย่อยเพลงกรันจ์กำเนิดขึ้นในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ในช่วงแรกใช้ชื่อว่า "เดอะซีแอตเทิลซาวด์" (The Seattle Sound) จนกระแสกระแสเพลงแนวนี้ได้รับความนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990[44] กรันจ์เป็นเพลงที่มีส่วนผสมดนตรีกีตาร์ที่ฟังดูเลอะเทอะและมืดมัว ที่ปะติดปะต่อเข้ากับเฮฟวีเมทัลและพังก์ร็อก[45] มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางโดยค่ายเพลงอิสระที่ชื่อ ซับป็อป วงกรันจ์ได้รับการกล่าวว่ามีแฟชั่นจากร้านราคาถูก มักเป็นเสื้อเชิร์ตสักหลาดและใส่รองเท้าบูตคอมแบต เข้ากับภูมิอากาศท้องถิ่น[46] วงกรันจ์ยุคแรกเช่น ซาวด์การ์เดน และมัดฮันนีย์ ที่ได้รับการกล่าวถึงในสหรัฐและสหราชอาณาจักรตามลำดับ[22]

ในช่วงสิ้นทศวรรษ มีหลายวงออลเทอร์นาทิฟเริ่มเซ็นสัญญากับค่ายใหญ่ ขณะที่วงที่เซ็นกับค่ายใหญ่แรก ๆ อย่าง ฮุสเกอร์ดุ และเดอะรีเพลซ์เมนส์ ได้รับความสำเร็จเล็กน้อย ค่ายที่ได้เซ็นสัญญากับวงอย่าง อาร์.อี.เอ็ม. และเจนส์แอดดิกชัน ก็ได้รับแผ่นเสียงทองคำและแผ่นเสียงทองคำขาว ก่อให้เกิดการแจ้งเกิดของออลเทอร์นาทิฟในเวลาต่อมา[47][48] บางวงอย่างเช่น พิกซีส์ ประสบความสำเร็จข้ามทวีป ขณะที่ในประเทศบ้านเกิดไม่ประสบความสำเร็จ[22]

ในช่วงกลางทศวรรษ อัลบัม เซนอาร์เคต ของฮุสเกอร์ดุมีอิทธิพลด้านดนตรีต่อวงฮาร์ดคอร์ดโดยมีการพูดเรื่องส่วนตัว นอกจากนั้นกระแสเพลงฮาร์ดคอร์ในวอชิงตันดีซี ที่เรียกเพลงเหล่านี้ว่า "อีโมคอร์" หรือ "อีโม" เกิดขึ้นมา และได้รับการพูดถึงเรื่องเนื้อเพลงที่เข้าถึงอารมณ์ส่วนตัวเป็นสาระสำคัญอย่างมาก (นักร้องบางคนร้องไห้) และยังเพิ่มเติมบทกวีแบบการเชื่อมโยงเสรี (free association) และโทนเพลงแบบสารภาพผิด วงไรตส์ออฟสปริงได้รับคำจำกัดความว่าเป็นวงอีโมวงแรก เอียน แม็กเคย์อดีตสมาชิกวงไมเนอร์ทรีต ผู้ก่อตั้งค่ายดิสคอร์ดเรเคิดส์ ถือเป็นศูนย์กลางเพลงอีโมของเมือง[49]

แนวเพลงอังกฤษและแนวโน้มในคริสต์ทศวรรษ 1980

[แก้]
Head and shoulders shot of man, with wild, tangled hair and lipstick on, playing in a stage spotlight.
รอเบิร์ต สมิทแห่งวงเดอะเคียวร์

แนวเพลงกอทิกร็อกเริ่มพัฒนานอกเหนือจากโพสต์พังก์อังกฤษในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 กิตติศัพท์ว่าเป็น "รูปแบบเพลงร็อกใต้ดินที่มืดหม่นและเศร้าหมองที่สุด" กอทิกร็อกใช้ซาวด์เครื่องสังเคราะห์เสียงและกีตาร์เป็นพื้นฐานซึ่งเป็นผลมาจากโพสต์พังก์ เพื่อสร้าง "ลางสังหรณ์ ความโศกเศร้า และมักใช้ทัศนียภาพของเสียงแบบมหากาพย์" ผนวกกับเนื้อเพลงของแนวนี้ที่มักเอ่ยถึง วรรณกรรมจินตนิมิต, โรคภัย, สัญลักษณ์ทางศาสนา และเรื่องไสยศาสตร์เหนือธรรมชาติ[50] วงแนวนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากกลุ่มโพสต์พังก์อังกฤษ 2 วง คือ จอยดิวิชันกับซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์[51] ซิงเกิลเปิดตัวของเบาเฮาส์ที่ชื่อ "เบลาลูโกซีส์เดด" (Bela Lugosi's Dead) ออกขายปี 1979 ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์ของแนวเพลงกอทิกร็อก[52] อัลบัมวงเดอะเคียวร์หลายอัลบัมที่ "หดหู่น่าสลดใจ" อาทิ พอร์โนกราฟี (1982) ก็ทำให้วงมีสัณฐานในแนวเพลงนี้ อีกทั้งยังปูฐานรากให้มีกลุ่มผู้ฟังติดตามกลุ่มใหญ่[53]

วงออลเทอร์นาทิฟร็อกอังกฤษกุญแจดอกสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 คือวงจากแมนเชสเตอร์ที่ชื่อ เดอะสมิทส์ นักข่าวดนตรี ไซมอน เรย์โนลส์ ชี้ว่าเดอะสมิทส์และวงอเมริกันร่วมสมัย อาร์.อี.เอ็ม. ถือเป็น "2 วงสำคัญออลต์-ร็อกของวันนั้น" แสดงความเห็นว่า "พวกเขาเป็นวงยุค 80 ที่ให้ความรู้สึกถึงการต่อต้านยุค 80 แต่เพียงผู้เดียว" เรย์โนลส์พูดถึงเดอะสมิทส์ว่า "ทีท่าทั้งหมดนั้นมีนัยยะต่อผู้ฟังชาวอังกฤษที่ไร้ยุค เหมือนถูกขับไล่จากดินแดนพวกเขา"[54] เสียงกีตาร์ที่เดอะสมิทส์ได้นำมาใช้ในยุคนั้น คือดนตรีโดดเด่นด้วยเสียงสังเคราะห์ ถูกมองว่าเป็นสัญญาณจบของยุคนิวเวฟและเป็นการมาถึงของออลเทอร์นาทิฟร็อกในสหราชอาณาจักร แม้วงจะประสบความสำเร็จไม่มากบนอันดับเพลงและมีงานในระยะสั้น เดอะสมิทส์ก็สำแดงอิทธิพลไปทั่วกระแสเพลงอินดีในอังกฤษจนสิ้นศตวรรษ ซึ่งหลายวงก็ได้รับหลักเกณฑ์เนื้อเพลงของนักร้องวงมอร์ริสซีย์ และแนวทางการเล่นกีตาร์แข็งกร้าวของจอห์นนี มาร์[36] เทปคาสเซตต์รวมเพลง ซีเอตตีซิก ออกพิเศษโดยนิตยสาร เอ็นเอ็มอี ในปี 1986 มีศิลปินอย่าง ไพรมัลสกรีม, เดอะเวดดิงพรีเซนต์ และวงอื่น ๆ ก็มีอิทธิพลในการพัฒนากระแสอินดีป็อปและอินดีอังกฤษมาโดยตลอด[55][56]

ยังมีอีกหลายรูปแบบของออลเทอร์นาทิฟร็อกที่พัฒนาขึ้นในสหราชอาณาจักรในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซาวด์ของวงเดอะจีซัสแอนด์แมรีเชนได้รวมเอา "เสียงเศร้า" ของวงเดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์ เข้ากับเมโลดี้เพลงป็อปของเดอะบีชบอยส์ และงานผลิตแบบวอลล์ออฟซาวด์ของฟิล สเปกเตอร์[57][58] ขณะที่นิวออร์เดอร์เกิดขึ้นมาหลังจากวงโพสต์พังก์ จอยดิวิชัน สิ้นสลาย พวกเขาได้ทำการทดลองดนตรีเทคโนกับเฮาส์[36] เดอะแมรีเชน รวมถึงไดโนเสาร์จูเนียร์, ซีเอตตีซฺก และวงดรีมป็อปค็อกโททวินส์ เป็นผู้เป็นต้นแบบอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวชูเกซซิงในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้รับการขนานนามเรื่องสมาชิกของวงจ้องมองเท้าตัวเอง และเหยียบเอฟเฟกต์กีตาร์[59] บนเวที มากกว่าที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม วงชูเกซซิงอย่าง มายบลัดดีวาเลนไทน์ และสโลว์ไดฟ์ได้สร้างสรรค์เสียงอึกทึกอันท้วมท้น "อย่างไม่สนใจซาวด์เพลง" ที่ร้องอย่างคลุมเครือ และเล่นเมโลดีที่มีท่อนริฟฟ์เสียงต่ำ เสียงบิด และเสียงสะท้อน อย่างยาวนาน[60] วงชูเกซซิงโดดเด่นขึ้นมาในสื่อเพลงอังกฤษในปลายทศวรรษ ร่วมไปกับกระแสเพลงแมดเชสเตอร์ การแสดงส่วนใหญ่ที่ไนต์คลับในแมนเชสเตอร์ที่ชื่อ เดอะฮาเซียนดา มีเจ้าของคือนิวออร์เดอร์และแฟกทอรีเรเคิดส์ มีการแสดงวงแมดเชสเตอร์อย่างเช่น แฮปปี้มันเดส์ และเดอะสโตนโรสเซสที่ผสมเข้ากับจังหวะเต้นรำแอซิดเฮาส์ กับความป็อปของเมโลดีกีตาร์[61]

ความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1990

[แก้]

ช่วงเริ่มต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อุตสาหกรรมดนตรีถูกชักนำจากความเป็นไปได้ทางธุรกิจออลเทอร์นาทิฟร็อก และค่ายใหญ่หาวงต่าง ๆ อย่างแข็งขัน อาทิ เจนส์แอดดิกชัน, เรดฮอตชิลีเพปเปอส์, ไดโนเสาร์จูเนียร์, ไฟร์โฮส และเนอร์วานา[47] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำเร็จของอาร์.อี.เอ็ม. ได้กลายเป็นพิมพ์เขียวให้กับวงออลเทอร์นาทิฟจำนวนมากในปลายยุคคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 วงมีผลงานอย่างยาวนานและในคริสต์ทศวรรษ 1990 ถือเป็นหนึ่งในวงที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก[22]

เคิร์ต โคเบน (คนหน้า) และคริสต์ โนโวเซลิช กับวงเนอร์วานาแสดงสดในงานเอ็มทีวีมิวสิกอะวอดส์ 1992

การแจ้งเกิดของวงเนอร์วานานำไปสู่ความนิยมอย่างกว้างขวางของออลเทอร์นาทิฟร็อกในคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อซิงเกิล "สเมลส์ไลก์ทีนสปิริต" จากอัลบัมชุด 2 เนเวอร์ไมนด์ (1991) ออกขาย "ได้เป็นสัญลักษณ์กระตุ้นปรากฏการณ์ดนตรีกรันจ์" เป็นผลจากการออกอากาศมิวสิกวิดีโอของเพลงนี้ทางช่องเอ็มทีวี ทำให้ เนเวอร์ไมนด์ มียอดขาย 400,000 ชุดในสัปดาห์คริสต์มาส 1991[62] จากความสำเร็จของ เนเวอร์ไมนด์ ได้สร้างความประหลาดใจให้กับอุตสาหกรรมดนตรี เนเวอร์ไมนด์ ยังไม่เพียงทำให้เพลงกรันจ์เป็นที่นิยม แต่ยังสร้าง "วัฒนธรรมและออลเทอร์นาทิฟร็อกเพื่อการค้าอย่างชัดเจนโดยทั่วไป"[63] ไมเคิล แอเซอร์แรดยังยืนยันว่า เนเวอร์ไมนด์ เป็นสัญลักษณ์ "การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการเพลงร็อก" ซึ่งขณะนั้นเพลงแฮร์เมทัลมีความโดดเด่นอยู่ตอนนั้นก็ได้เสื่อมลง เนเวอร์ไมนด์ เป็นโฉมหน้าทางดนตรีที่แท้จริงและมีความสำคัญทางวัฒนธรรม[64]

ความสำเร็จที่สร้างความประหลาดใจของเนอร์วานาในอัลบัม เนเวอร์ไมนด์ เป็นการประกาศ "การเปิดรับครั้งใหม่ให้กับออลเทอร์นาทิฟ" ให้กับสถานีวิทยุเพื่อการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดประตูให้กับวงออลเทอร์นาทิฟที่หนักกว่านี้[65] การตื่นตัวใน เนเวอร์ไมนด์ ออลเทอร์นาทิฟ "ได้ขัดขืนใจตัวเองเพื่อก้าวสู่เพลงกระแสหลัก" รวมถึงค่ายเพลง ยังสร้างความสับสนของความสำเร็จในแนวเพลงนี้ ที่ยังไม่อยากกระตือรือล้นแย่งชิงเซ็นสัญญากับวงต่าง ๆ[66] เดอะนิวยอร์กไทมส์ เขียนไว้ในปี 1993 ว่า "ออลเทอร์นาทิฟร็อกยังดูไม่เหมือนเป็นทางเลือกอีกต่อไป ค่ายใหญ่ทุกค่ายมีวงที่ขับเคลื่อนโดยกีตาร์อยู่เต็มมือ สวมเสื้อเชิร์ตที่ไร้รูปร่างและยีนส์เก่า ๆ วงที่วางท่าแย่ ๆ กับท่อนริฟฟ์ที่ดีงาม ที่ยังไม่ติดหู และซ่อนความสามารถเบื้องหลังความไม่แยแสอะไร"[67] อย่างไรก็ดี ศิลปินออลเทอร์นาทิฟหลายวงก็ดูปฏิเสธความสำเร็จที่ขัดแย้งกับความหัวรั้น ในหลักการแนวเพลงแบบดีไอวายที่พวกเขาสนับสนุนก่อนที่จะระเบิดมาในกระแสหลัก รวมถึงแนวคิดเรื่องความเป็นศิลปินที่แท้จริงของพวกเขา[68]

กรันจ์

[แก้]
เอดดี เวดเดอร์จากวงเพิร์ลแจม

กรันจ์วงอื่นเริ่มทำสำเนาความสำเร็จแบบเนอร์วานาในเวลาต่อมา เพิร์ลแจมออกอัลบัมชุดแรกที่ชื่อ เท็น ออกก่อน เนเวอร์ไมนด์ 10 เดือน ในปี 1991 แต่ยอดขายอัลบัมกลับเพิ่มขึ้นในปีถัดมา[69] ครึ่งหลังของปี 1992 เท็น แจ้งเกิดได้สำเร็จ ได้รับการยืนยันแผ่นเสียงทองคำขาวและขึ้นอันดับ 2 บน บิลบอร์ด 200[70] อัลบัม แบดมอเตอร์ฟิงเกอร์ ของซาวด์การ์เดน, เดิร์ต ของอลิซอินเชนส์ และ คอร์ ของสโตนเทมเพิลไพล็อตส์ รวมถึงอัลบัม เทมเพิลออฟเดอะดอก อัลบัมการร่วมงานของสมาชิกจากวงเพิร์ลแจมและซาวด์การ์เดน อัลบัมเหล่านี้เป็นอัลบัมขายดีใน 100 อัลบัมแห่งปี 1992[71] เมื่อความนิยมในวงกรันจ์เหล่านี้เกิดขึ้น โรลลิงสโตน ก็เรียกเมืองซีแอตเทิลว่า "ลิเวอร์พูลใหม่"[46] ค่ายหลักเซ็นสัญญากับวงกรันจ์ที่โดดเด่นขึ้นมาที่เมืองซีแอตเทิล ขณะที่การไหลบ่าของวงต่าง ๆ มายังเมืองนี้ เพราะหวังว่าจะประสบความสำเร็จ[72]

ในเวลาเดียวกัน นักวิจารณ์ยืนยันว่า การโฆษณาได้รับองค์ประกอบแนวคิดของกรันจ์แล้วจะกลายมาเป็นแฟชันสมัยนิยม เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี แสดงความเห็นในบทความปี 1993 ว่า "ไม่มีรูปแบบการหาผลประโยชน์ในวัฒนธรรมย่อยนับตั้งแต่สื่อค้นพบฮิปปีในคริสต์ทศวรรษ 1960"[73] เดอะนิวยอร์กไทมส์ เปรียบเทียบ "กรันจ์อเมริกา" กับตลาดมวลชนแบบพังก์ร็อก, ดิสโก้ และฮิปฮอปที่มาก่อนหน้านี้ ผลคือแนวเพลงกรันจ์ได้รับความนิยม ส่งผลกลับอย่างรุนแรงต่อกรันจ์ที่พัฒนาขึ้นมาในซีแอตเทิล[46] อัลบัมถัดมาของเนอร์วานา อินยูเทโร (1993) ฟังดูโมโหอย่างตั้งใจ มือเบสของวง คริสต์ โนโวเซลิช อธิบายว่า "เป็นซาวด์ก้าวร้าวป่าเถื่อน เป็นอัลบัมทางเลือกอย่างแท้จริง"[74] อย่างไรก็ตาม เมื่อออกอัลบัมในเดือนกันยายน 1993 อินยูเทโร ก็ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ต บิลบอร์ด[75] เพิร์ลแจมก็ยังมียอดขายดีอยู่ในอัลบัมชุด 2 Vs. (1993) โดยขึ้นอันดับ 1 ด้วยยอดขาย 950,378 ชุด ในสัปดาห์แรกที่ออกขาย[76]

บริตป็อป

[แก้]
Two-thirds body shot of a singer wearing a coat with wide lapels; a guitar player is in the background. Both have short, blond hair.
เลียม กับโนล แกลลาเกอร์ แห่งวงโอเอซิส

เมื่อกระแสแมดเชสเตอร์เสื่อมลง และชูเกซซิงก็ดูขาดเสน่ห์ กรันจ์ในอเมริกาก้าวสู่ขาขึ้น ยังมีอิทธิพลต่อกระแสออลเทอร์นาทิฟในอังกฤษ และสื่อดนตรีในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[36] การตอบสนองคือ วงอังกฤษปะปรายได้เกิดขึ้นมาด้วยความปรารถนาที่จะ "กำจัดเพลงกรันจ์" และ "ประกาศสงครามแก่อเมริกา" ได้เข้ามาครอบงำมวลชนและสื่อดนตรีท้องถิ่นอย่างรวดเร็ว[77] ชื่อ "บริตป็อป" ที่ตั้งโดยสื่อ การเคลื่อนไหวครั้งนี้นำโดย พัลป์, เบลอ, สเวด และโอเอซิส เป็นเสมือนการปะทุของกรันจ์ในแบบอังกฤษ ศิลปินเหล่านี้ได้ขับเคลื่อนออลเทอร์นาทิฟขึ้นสู่จุดสูงสุดของอันดับเพลงในประเทศบ้านเกิด[36] วงบริตป็อปได้รับอิทธิพลและนำเสนอการแสดงความนับถือดนตรีกีตาร์อังกฤษในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสและแนวเพลงอย่างเช่น บริติชอินเวชัน, แกลมร็อก และพังก์ร็อก[78] ในปี 1995 ปรากฏการณ์บริตป็อปขึ้นสู่จุดสุดยอดจากสองอริ โอเอซิส และเบลอ ที่ได้สร้างสัญลักษณ์โดยการแข่งขันด้วยการออกซิงเกิลในวันเดียวกัน ผลคือ เบลอเป็นผู้ชนะใน "ศึกแห่งบริตป็อป" (The Battle of Britpop) แต่โอเอซิสก็ได้รับความนิยมมากกว่าเบลอในอัลบัมชุดที่ 2 (วอตส์เดอะสตอรี) มอร์นิงกลอรี? (1995)[79] ซึ่งเป็นอัลบัมขายดีอันดับ 3 ในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร[80]

อินดี้ร็อก

[แก้]
วงอินดี้ร็อก เพฟเมนต์ ในปี 1993

ล้วนมีความหมายเดียวกับออลเทอร์นาทิฟร็อกในสหรัฐ อินดี้ร็อกมีความโดดเด่นขึ้นมาหลังจากเนอร์วานาแจ้งเกิด[81] อินดี้ร็อกได้บัญญัติว่าเป็นการปฏิเสธออลเทอร์นาทิฟร็อกที่ซึมซับเข้าสู่กระแสหลักโดยศิลปินที่ไม่สามารถข้ามฟากไปได้หรือปฏิเสธการข้ามฟาก และระมัดระวังเรื่องสุนทรีย์แห่งความเป็นชาย (macho) ขณะที่ศิลปินอินดี้ร็อกไม่เชื่อใจลัทธิการค้าแบบพังก์ร็อก ด้วยแนวเพลงที่ไม่สามารถระบุนิยามได้อย่างแท้จริง ต่อคำที่ว่า "สมมติฐานโดยทั่วไปแล้วคือ มีความเป็นไปได้อย่างแท้จริงที่จะสร้างดนตรีอันหลากหลายของอินดี้ร็อกให้เข้ากันได้กับรสนิยมกระแสหลักเป็นสิ่งแรก"[81]

ค่ายเพลงอย่างเช่น มาทาดอร์เรเคิดส์, เมิร์จเรเคิดส์ และดิสคอร์ด และชาวร็อกอินดี้อย่าง เพฟเมนต์, ซูเปอร์ชังก์, ฟูกาซี และสลีเตอร์-คินนีย์ เป็นผู้โดดเด่นในกระแสอินดี้อเมริกันตลอดคริสต์ทศวรรษ 1990[82] หนึ่งในการเคลื่อนไหวที่สำคัญของอินดี้ร็อกในคริสต์ทศวรรษ 1990 คือเพลงโลฟาย การเคลื่อนไหวนี้มุ่งไปที่การบันทึกเสียงและแจกจ่ายดนตรีที่มีคุณภาพต่ำอย่างตลับเทป ที่ตอนแรกเกิดขึ้นมาในคริสต์ทศวรรษ 1980 จนปี 1992 วงเพฟเมนต์, ไกด์บายวอยซ์ และเซบาโดห์ ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ชื่นชอบแนวโลฟายในสหรัฐ ขณะที่ศิลปินที่ตามมาทีหลังอย่าง เบ็ก และลิซ แฟร์ได้สร้างสุนทรีย์แก่คนฟังกระแสหลัก[83] ยุคนี้ยังเห็นนักร้อง-นักแต่งเพลงออลเทอร์นาทิฟหญิงแนวสารภาพ นอกเหนือจากลิซ แฟร์ ก็มีพีเจ ฮาร์วีย์ที่อยู่ในกลุ่มย่อยนี้[84]

โพสต์กรันจ์

[แก้]
ครีด วงแนวโพสต์กรันจ์ ถ่ายในปี 2002

ในต่อจากครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1990 กรันจ์ถูกแทนที่ด้วยโพสต์กรันจ์ วงโพสต์กรนจ์หลายวงขาดรากฐานความเป็นเพลงใต้ดินของกรันจ์และได้รับอิทธิพลอย่างมากจากที่กรันจ์ยุคเปลี่ยน กล่าวคือ "เป็นรูปแบบหนึ่งของความนิยมอย่างรนแรงที่มองเข้าไปข้างใน, ดนตรีฮาร์ดร็อกที่มุ่งมั่นจริงจัง" วงโพสต์กรันจ์หลายวงเลียนแบบซาวด์และสไตล์ของกรันจ์ "แต่ไม่จำเป็นต้องทำตัวประหลาดเหมือนอย่างศิลปินต้นฉบับ"[85] โพสต์กรันจ์เป็นแนวเพลงที่ประสบความสำเร็จยิ่งกว่า โดยลดเสียงบิดกีตาร์ของกรันจ์ให้ดีขึ้น พร้อมเพื่อออกอากาศทางวิทยุ[85] เดิมทีโพสต์กรันจ์เป็นการแบ่งประเภทอย่างเหยียบหยาม กับวงเกือบแทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นเมื่อกรันจ์อยู่ในกระแสหลักและลอกเลียนแบบซาวด์ของกรันจ์ การแบ่งประเภทนี้บ่งถึงวงที่ใช้ว่าโพสต์กรันจ์ว่า เป็นดนตรีดัดแปลง หรือตอบโต้อย่างถากถางกับการเคลื่อนไหวร็อกทีเป็นของแท้[86] บุช, แคนเดิลบอกซ์ และคอลเลกทีฟโซลถูกเย้ยว่าเป็น โพสต์กรันจ์ ทิม เกรียร์สันจาก อะเบาต์.คอม เขียนว่า "แทนที่จะเป็นการเคลื่อนไหวทางดนตรีโดยความชอบของตน พวกเขาเป็นอย่างที่คิด ได้รับการตอบรับอย่างถากถางต่อการเปลี่ยนสไตล์เป็นดนตรีร็อกของเก๊"[86] โพสต์กรันจ์ได้แปลเปลี่ยนไปในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 อาทิวงอย่าง ฟูไฟเตอส์, ครีด และ นิกเคลแบ็ก ได้เกิดขึ้นมา[86]

โพสต์ร็อก

[แก้]

โพสต์ร็อกกำเนิดขึ้นจากอัลบัม ลาฟฟิงสต็อก ของทอล์กทอล์ก และอัลบัม สไปเดอร์แลนด์ ของสลินต์ ทั้ง 2 ชุด ออกในปี 1991[87] โพสต์ร็อกได้รับอิทธิพลจากหลากหลายแนวเพลง อาทิ เคราต์ร็อก, โพรเกรสซิฟร็อก และแจ๊ซ แนวนี้โค่นล้มหรือปฏิเสธจารีตเพลงร็อก และมักจะรวมเพลงอิเล็กทรอนิกส์[87] ขณะที่ชื่อของแนวเพลงเกิดขึ้นโดยนักข่าวดนตรี ไซมอน เรย์โนลส์ ในปี 1994 สไตล์ของแนวเพลงที่แข็งแรงขึ้นจากการออกวางขายอัลบัม มิลเลียนส์นาวลิฟวิงวิลล์เนเวอร์ดาย (1996) ของศิลปินจากชิคาโก ทอร์ทอยส์[87] โพสต์ร็อกโดดเด่นขึ้นในรูปแบบของดนตรีร็อกทดลองในคริสต์ทศวรรษ 1990 หลายวงในแนวนี้ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเช่น ทริลล์จอกกี, แครงกี, แดรกซิตี และทูเพียวร์[87] แนวเพลงที่ใกล้เคียงกัน อย่าง แมทร็อก ถึงจุดสูงสุดในกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อเปรียบเทียบโพสต์ร็อกกับแมทร็อกที่ดู "ร็อกกิสต์" มากกว่า (คนที่เห็นว่าร็อกดีกว่าป็อป) และเชื่อใจในเครื่องหมายกำหนดจังหวะอันซับซ้อน และถ้อยคำอันสอดประสาน[88] เมื่อสิ้นศตวรรษเกิดกระแสย้อนกลับอย่างรุนแรงต่อเพลงโพสต์ร็อกอันเนื่องจาก "ไร้สติปัญญา" และสามารถสัมผัสได้ถึงการคาดเดาที่เพิ่มขึ้นได้ แต่วงโพสต์ร็อกคลื่นลูกใหม่อย่าง กอดสปีดยู! แบล็กเอมเพอร์เรอร์ และซีกือร์โรส เกิดขึ้นมาพร้อมกับการขยับขยายแนวเพลงให้กว้างขึ้นไป[87]

ความนิยมอื่น

[แก้]
รีลบิกฟิชในปี 2008

ปี 1993 อัลบัม ไซมิสดรีม ของเดอะสแมชชิงพัมป์กินส์ประสบความสำเร็จด้านยอดขายอย่างมาก อัลบัมได้รับอิทธิพลเพลงเฮฟวีเมทัลและโพรเกรสซิฟร็อกอย่างมาก ทำให้ออลเทอร์นาทิฟร็อกก้าวสู่รายการกระแสหลักทางวิทยุและปิดช่องโหว่ระหว่างออลเทอร์นาทิฟร็อกกับดนตรีร็อกที่เล่นเพลงร็อกอเมริกันยุคคริสต์ทศวรรษ 1970[89] ในปี 1995 สแมชชิงพัมป์กินส์ยังออกอัลบัมคู่ชุด เมลลอนคอลลายแอนด์เดอะอินฟินิตแซดเนสส์ ที่ขายได้ 10 ล้านชุดเฉพาะในสหรัฐ ได้รับการยืนยันแผ่นเสียงเพชรอีกด้วย

หลังจากเกือบ 10 ปีที่เพลงใต้ดิน, สกาพังก์ และเพลงที่มีส่วนผสมของสกาอังกฤษยุคแรก ๆ กับพังก์ ได้รับความนิยมในสหรัฐ วงแรนซิดเป็นวงแรกที่ได้แจ้งเกิดจาก "การกลับมาคลื่นลูกที่ 3 ของสกา" และในปี 1996 วงไมตีไมตีบอสสโตนส์, โนเดาต์, ซับไลม์, โกลด์ฟิงเกอร์, รีลบิกฟิช, เลสส์แดนเจก และเซฟเฟอร์ริส มีเพลงเข้าชาร์ตหรือได้รับกระแสตอบรับท่วมท้นทางวิทยุ[90][91]

เปลี่ยนซาวด์

[แก้]

ช่วงสิ้นสุดทศวรรษ สไตล์ของออลเทอร์นาทีฟได้เปลี่ยนไปเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นมากมาย เรื่องที่น่าจดจำอย่างเช่น การเสียชีวิตของเคิร์ต โคเบน แห่งวงเนอร์วานาในปี 1994 และการมีคดีความของวงเพิร์ลแจมต่อผู้จัดงานคอนเสิร์ต ทิกเกตมาสเตอร์ ที่ส่งผลกีดกันให้วงไม่ได้เล่นงานใหญ่ ๆ หลายงานในสหรัฐ[68] นอกจากนี้เกิดความเสื่อมความนิยมในวงกรันจ์ บริตป็อปก็ร่วงโรยกันไป อย่างอัลบัมชุดที่ 3 ของโอเอซิส บีเฮียร์นาว (1997) ได้คำวิจารณ์ไม่สดใสนัก ส่วนวงเบลอก็เริ่มได้รับอิทธิพลจากออลเทอร์นาทิฟร็อกอเมริกัน[92] การเปลี่ยนสัญญะที่สื่อความหมายของออลเทอร์นาทิฟร็อกก่อให้เทศกาลดนตรีลอลลาปาลูซาหายไปหลังจากพยายามหาวงนำมาแสดงไม่สำเร็จในปี 1998 ความจริงคือปัญหาที่เกิดในปีนั้น สปิน ได้บอกไว้ว่า "ลอลลาปาลูซาดูเฉื่อยชาเหมือนอย่างออลเทอร์นาทิฟร็อกตอนนี้"[93]

แม้จะเปลี่ยนไปในแง่สไตล์ ออลเทอร์นาทิฟร็อกยังคงอยู่ในกระแสได้อยู่ โพสต์กรันจ์ยังคงทำเงินได้เมื่อเริ่มศตวรรษที่ 21 เมื่อวงอย่างครีด และแมตช์บ็อกซ์ทเวนตี ถือเป็นวงร็อกที่ได้รับความนิยมที่สุดในสหรัฐ[85] ขณะเดียวกัน บริตป็อปเริ่มเสื่อมความนิยม เรดิโอเฮดที่เคยได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีในอัลบัมชุด 3 โอเคคอมพิวเตอร์ (1997) จนอัลบัมถัดมา คิดเอ (2000) และ แอมนีซิแอก (2001) ที่ได้รับการกล่าวว่าแตกต่างจากประเพณีนิยมบริตป็อป เรดิโอเฮดและวงบริตป็อปยุคหลังอย่าง แทรวิส และโคลด์เพลย์ ถือเป็นกำลังสำคัญของร็อกอังกฤษในยุคถัดมา[94]

วงอีโม จิมมีอีตเวิลด์ แสดงในปี 2007

กลางคริสต์ทศวรรษ 1990 วงซันนีเดย์รีลเอสเตตได้กำหนดนิยามเพลงอีโมขึ้นมา อัลบัม พิงเคอร์ตัน (1996) ของวีเซอร์ก็ถือว่าเป็นอัลบัมที่สร้างผลกระทบ ในปี 2000 เมื่อก้าวทศวรรษใหม่ อีโมเป็นแนวเพลงร็อกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแนวเพลงหนึ่ง[49] ผลงานยอดนิยมที่ประสบความสำเร็จได้ยอดขายได้แก่ บลีดอเมริกา ของจิมมีอีตเวิลด์ (2001) และ เดอะเพลซซิสยูแฮฟคัมทูเฟียร์เดอะโมสต์ ของแดชบอร์ดคอนเฟชชันนอล (2003)[95] อีโมแบบใหม่มีซาวด์แบบกระแสหลักมากขึ้นมากกว่าในคริสต์ทศวรรษ 1990 และดูดึงดูดใจต่อวัยรุ่นได้อย่างมาก มากกว่าช่วงก่อร่างสร้างตัวในช่วงก่อนหน้านี้[95] ขณะเดียวกัน การใช้คำว่า "อีโม" ขยับขยายไปมากกว่าคำว่าแนวเพลง ได้กลายมาเป็นแฟชั่น ทรงผม และดนตรีที่ปลดปล่อยอารมณ์[96] ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของอีโมในกระแสหลักกับวงที่เกิดขึ้นใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 2000 อาทิวงที่ทำผลงานหลักแผ่นเสียงทองคำขาวหลายชุดอย่าง ฟอลล์เอาต์บอย[97] และมายเคมิคอลโรแมนซ์[98] รวมถึงวงในกระแสหลักอย่าง พาร์อะมอร์[97] และแพนิก! แอตเดอะดิสโก[99]

ศตวรรษที่ 21

[แก้]
Two-thirds body shot of singer with short brown hair, wearing a black shirt and jeans, performing on stage. A band is partially visible in the background.
อเล็กซ์ คาพราโนส แห่งวงฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์

ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 มีวงออลเทอร์นาทิฟร็อกเกิดขึ้นหลายวง เช่น เดอะสโตรกส์, ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์, อินเตอร์พอล และเดอะแรปเจอร์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจที่สำคัญจากโพสต์พังก์และนิวเวฟ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของโพสต์พังก์ริไววัล[100] หลังจากความสำเร็จของวงอย่าง เดอะสโตรกส์ และเดอะไวต์สไตรปส์ก่อนหน้านี้ในทศวรรษก่อน วงออลเทอร์นาทิฟร็อกหน้าใหม่ก็ไหลบ่ามา เช่นวงโพสต์พังก์ริไววัล และศิลปินแนวอื่นอย่าง เดอะคิลเลอส์ และเยเยเยส์ ประสบความสำเร็จด้านยอดขายช่วงต้นและกลางคริสต์ทศวรรษ 2000 เชื่อว่าน่าจะเป็นผลจากความสำเร็จของวงเหล่านี้ เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ประกาศไว้ในปี 2004 ว่า "หลังจากเกือบทศวรรษที่วงแร็ปร็อกและนูเมทัลมีความโดดเด่น ในที่สุดออลต์-ร็อกก็กลับมาดีอีกครั้ง"[101] เทอร์ตีเซคันส์ทูมาส์ได้รับความนิยมอย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 2000[102] วงอเมริกันร็อก เรดฮอตชิลีเพปเปอส์ ได้ความนิยมครั้งใหม่ในปี 1999 หลังจากออกอัลบัมชุด แคลิฟอร์นิเคชัน (1999) ที่ยังคงประสบความสำเร็จล่วงเลยถึงคริสต์ทศวรรษ 2000

สิ่งที่ถูกอ้างถึงเกี่ยวกับออลเทอร์นาทิฟร็อกมากที่สุดในสหรัฐเมื่อผ่านปี 2010 คือแนวเพลงอินดี้ร็อก แต่เดิมคำนี้จำกัดการใช้อยู่แค่เพียงสื่อและช่องออลเทอร์นาทิฟร็อก[20] สถานีวิทยุในคริสต์ทศวรรษ 2010 เปลี่ยนรูปแบบที่ไกลไปจากออลเทอร์นาทิฟร็อกยิ่งขึ้น แต่เป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้หาโฆษณาให้มากกว่ายอดขายของสถานีประเภทท็อป 40/ท็อป 100[103] ขณะเดียวก็เกิดความเห็นขัดแย้งในประเด็นออลเทอร์นาทิฟร็อกต่อกลุ่มผู้ฟังเพลงกระแสหลักหลังปี 2010[104][105] เดฟ โกรลแสดงความเห็นต่อบทความเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2013 บน นิวยอร์กเดลีนิวส์ ที่จั่วหัวว่า ร็อกได้ตายไปแล้ว[106] "ขอพูดเองเออเองว่า สำหรับตัวผมแล้ว ร็อกเหมือนจะยังมีชีวิตอยู่"[107]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mitchell, Tony (2002). Global Noise: Rap and Hip Hop Outside the USA. Wesleyan University Press. p. 105. ISBN 0-8195-6502-4. สืบค้นเมื่อ November 27, 2012.
  2. Whiteley, Sheila; Bennett, Andy; Hawkins, Stan (2004). Music, Space And Place: Popular Music And Cultural Identity. Ashgate Publishing, Ltd. p. 84. ISBN 0-7546-5574-1. สืบค้นเมื่อ November 27, 2012.
  3. AllMusic Neo-psychedelia essay
  4. "Grunge". AllMusic. สืบค้นเมื่อ August 24, 2012.
  5. 5.0 5.1 5.2 di Perna, Alan. "Brave Noise—The History of Alternative Rock Guitar". Guitar World. December 1995.
  6. Azerrad (2001), p. 446.
  7. Azerrad (2001).
  8. "Are We Not New Wave Modern Pop at the Turn of the 1980s by Theo Cateforis University of Michigan Press 2011 p. 38 ISBN 9780472115556
  9. 9.0 9.1 Reynolds, p. 391
  10. Stanley, Bob. "Will the indie chart rise again?". The Guardian. July 31, 2009. Retrieved July 20, 2012.
  11. Thompson, Dave. "Introduction". Third Ear: Alternative Rock. San Francisco: Miller Freeman, 2000. p. viii.
  12. Reynolds, p. 338.
  13. Mullen, Brendan. Whores: An Oral Biography of Perry Farrell and Jane's Addiction. Cambridge: Da Capo, 2005. p. 19. ISBN 0-306-81347-5.
  14. 14.0 14.1 Strauss, Neil. "Forget Pearl Jam. Alternative Rock Lives". The New York Times. March 2, 1997. Retrieved July 20, 2012.
  15. 15.0 15.1 15.2 Gerr, Jim (December 1991), "Artist of the Year: Perry Farrell of Jane's Addiction", Spin (magazine)
  16. Brown, Jake (2011). Jane's Addiction: In the Studio. Black Market Publishing. ISBN 9780972614276.
  17. Starr, Larry; Waterman, Christopher. American Popular Music: From Minstrelsy to MTV. New York: Oxford University Press, 2003. p. 430. ISBN 0-19-510854-X.
  18. Dolan, Emily (2010). "'...This little ukulele tells the truth':indie pop and kitsch authenticity". Popular Music. 29/3: 457–469. doi:10.1017/s0261143010000437.
  19. Alternative Rock by Dave Thompson, reprinted by Google Books
  20. 20.0 20.1 Fonarow, Wendy (July 28, 2011). "Ask the indie professor: why do Americans think they invented indie? For years, Americans never used the term 'indie', preferring to label the likes of Bush 'alternative'. But things changed". The Guardian.
  21. Carew, Anthony. "Alternative Music 101 - Is There a Difference Between 'Alternative' and 'Indie'?". About.com. Retrieved July 20, 2012.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 22.7 Erlewine, Stephen Thomas. "American Alternative Rock/Post-Punk". AllMusic. Retrieved May 20, 2006.
  23. 23.0 23.1 "Rock Music". Microsoft Encarta 2006 [CD]. Redmond, WA: Microsoft Corporation, 2005.
  24. Pareles, Jon. "A New Kind of Rock". The New York Times. March 5, 1989. Retrieved July 19, 2009.
  25. Charlton, Katherine. Rock Music Styles: A History. McGraw Hill, 2003. P. 346–47. ISBN 0-07-249555-3.
  26. "The Top 100 Alternative Albums of the 1960s". March 28, 2013.
  27. BBC Culture "The Velvet Underground: As influential as The Beatles?"
  28. Britannica.com
  29. "Frank Zappa & the Mothers – We're Only in It for the Money".
  30. John Harris (July 12, 2006). "Barrett's influence". The Guardian.
  31. "PiL Official – Bio – Public Image Ltd". pilofficial.com.
  32. Reynolds, p. 392–93.
  33. Azerrad (2001), p. 3–5.
  34. "Top 10 Billboard Chart Milestones", Billboard magazine, p. 17, 27 November 2004
  35. "Review/Rock; Arena-Size Bill of Alternative Rock". The New York Times. July 21, 1989. "It was the final show on a package tour that brought what used to be post-punk alternative rock, the province of clubs and cult audiences, to the arena circuit across the United States."
  36. 36.0 36.1 36.2 36.3 36.4 Stephen Thomas Erlewine. "British Alternative Rock". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2010.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  37. Charlton, p. 349.
  38. "REM Biography". Sing 365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 2, 2012. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 20, 2013.
  39. Reynolds, p. 390.
  40. "Indie music pioneer returns with a little help from his admirershis". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ June 20, 2013.
  41. Azerrad (2001), p. 159.
  42. Azerrad (2001), p. 196.
  43. Erlewine, Stephen Thomas. "The Jesus Lizard Biography". AllMusic. Retrieved August 25, 2008.
  44. http://rock.about.com/od/top10lists/tp/Most-Influential-Seattle-Bands.htm
  45. "Genre – Grunge". AllMusic. สืบค้นเมื่อ October 6, 2007.
  46. 46.0 46.1 46.2 Marin, Rick. "Grunge: A Success Story". The New York Times. November 15, 1992.
  47. 47.0 47.1 Azerrad (1994), p. 160.
  48. Azerrad (1994), p. 4.
  49. 49.0 49.1 AllMusic emo genre essay
  50. "Genre – Goth Rock". AllMusic. สืบค้นเมื่อ October 6, 2007.
  51. Reynolds, p. 352.
  52. Reynolds, p. 359.
  53. Reynolds, p. 357–58.
  54. Reynolds, p. 392.
  55. Hann, Michael (October 13, 2004). "Fey City Rollers". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ July 19, 2009.
  56. Hasted, Nick (October 27, 2006). "How an NME cassette launched indie music". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ July 19, 2009.
  57. "The Jesus and Mary Chain Biography". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ July 20, 2012.
  58. "Encyclopædia Britannica: the Jesus and Mary Chain". สืบค้นเมื่อ July 20, 2012.
  59. Rogers, Jude (July 27, 2007). "Diamond gazers". The Guardian. London.
  60. "Genre – Shoegaze". AllMusic. สืบค้นเมื่อ October 6, 2007.
  61. "Genre – Madchester". AllMusic. สืบค้นเมื่อ October 12, 2007.
  62. Lyons, p. 120.
  63. Olsen, Eric (April 9, 2004). "10 years later, Cobain lives on in his music". MSNBC.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2007. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  64. Azerrad (1994), p. 229–30.
  65. Rosen, Craig. "Some See 'New Openness' Following Nirvana Success". Billboard. January 25, 1992.
  66. Browne, David (August 21, 1992). "Turn That @#!% Down!". EW.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2007. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  67. Pareles, Jon (February 28, 1993). "Great Riffs. Big Bucks. New Hopes?". NYTimes.com. สืบค้นเมื่อ July 19, 2009.
  68. 68.0 68.1 Considine, J.D. "The Decade of Living Dangerously". Guitar World. March 1999
  69. "Smackdown: Pearl Jam vs. Nirvana". Soundcheck. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 23, 2013. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 20, 2013.
  70. Pearlman, Nina. "Black Days". Guitar World. December 2002.
  71. Lyons, p. 136.
  72. Azerrad (2001), p. 452–53.
  73. Kobel, Peter (April 2, 1993). "Smells Like Big Bucks". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  74. DeRogatis, Jim. Milk It!: Collected Musings on the Alternative Music Explosion of the 90s. Cambridge: Da Capo, 2003. p. 18. ISBN 0-306-81271-1.
  75. "In Numero Uno". Entertainment Weekly. October 8, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2007. สืบค้นเมื่อ September 8, 2007.
  76. Hajari, Nisid (November 19, 1993). "Pearl's Jam". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ August 29, 2007.
  77. Youngs, Ian. "Looking back at the birth of Britpop". BBC News. August 14, 2005. Retrieved July 19, 2009.
  78. Harris, p. 202.
  79. Harris, p. xvii.
  80. "Queen head all-time sales chart". BBC.co.uk. November 16, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2007. สืบค้นเมื่อ January 3, 2007.
  81. 81.0 81.1 "Indie Rock". AllMusic. สืบค้นเมื่อ August 2, 2009.
  82. Azerrad (2001), pp. 495–97.
  83. "Lo-Fi". AllMusic. สืบค้นเมื่อ August 2, 2009.
  84. Erlewine, Stephen Thomas. "PJ Harvey Biography". Billboard.com. Retrieved July 20, 2012.
  85. 85.0 85.1 85.2 "Post-Grunge". AllMusic. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007.
  86. 86.0 86.1 86.2 Grierson, Tim. "Post-Grunge. A History of Post-Grunge Rock". About.com.
  87. 87.0 87.1 87.2 87.3 87.4 "Post-Rock". AllMusic. สืบค้นเมื่อ July 28, 2009.
  88. "Math Rock". AllMusic. สืบค้นเมื่อ August 6, 2009.
  89. AllMusic Smashing Pumpkins bio
  90. Thompson, Dave. Alternative Rock : Third Ear - The Essential Listening Companion. Backbeat Books, 2000. ISBN 978-0879306076 p 112.
  91. AllMusic Third Wave Ska Revival
  92. Harris, p. xix.
  93. Weisbard, Eric. "This Monkey's Gone to Heaven". Spin. July 1998.
  94. Harris, p. 369–70.
  95. 95.0 95.1 J. DeRogatis (ตุลาคม 3, 2003). "True Confessional?". Chicago Sun Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2011{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์).
  96. H. A. S. Popkin (มีนาคม 26, 2006). "What exactly is 'emo,' anyway?". MSNBC.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2011{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์).
  97. 97.0 97.1 F. McAlpine (มิถุนายน 14, 2007). "Paramore: Misery Business". MSNBC.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2011{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์).
  98. J. Hoard. "My Chemical Romance". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2011{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์).
  99. F. McAlpine (ธันวาคม 18, 2006). "Paramore "Misery Business"". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2011{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์).
  100. "New Wave/Post-Punk Revival". AllMusic. สืบค้นเมื่อ August 6, 2009.
  101. Hiatt, Brian; Bonin, Lian; Volby, Karen (July 9, 2004). "The Return of (Good) Alt-Rock". EW.com. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007.
  102. Leahey, Andrew. "Thirty Seconds to Mars". AllMusic. All Media Network. สืบค้นเมื่อ October 20, 2014.
  103. Grubbs, Eric. "Josh Venable on the Edge's Demise: 'Today Cheerleaders and Indie Kids Love Band of Horses'". dallasobserver.com. Dallas Observer, LP. สืบค้นเมื่อ 7 April 2018.
  104. Catalano, Michele. "Don't Believe The Billboard Charts; Rock Isn't Dead". Forbes. สืบค้นเมื่อ December 29, 2013.
  105. Pawlak, Christine. "Alternative rock radio: The sad, unwarranted decline of FM Rock Stations". Slate. สืบค้นเมื่อ December 29, 2013.
  106. Farber, Jim. "VMAs 2013: Rock is dead, One Direction and Justin Timberlake's brands of Top 40 are king at MTV Awards". NY Daily News. สืบค้นเมื่อ December 29, 2013.
  107. Grohl, Dave. "Twitter / foofighters: Hey @NYDailyNews, speak for..." Twitter. สืบค้นเมื่อ December 29, 2013.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]