ข้ามไปเนื้อหา

อลาหาบาด

พิกัด: 25°27′N 81°51′E / 25.450°N 81.850°E / 25.450; 81.850
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัลลอฮาบาด)
อลาหาบาด

  • อิลลาฮาบาด
    ประยาค
ประยาคราช
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: อาสนวิหารออลเซนต์, Khusro Bagh, ศาลสูงอลาหาบาด, สะพานยมุนาใหม่, อาคารสูงในย่านซิวิลไลนส์, มหาวิทยาลัยแห่งอลาหาบาด, อนุสรณ์สถานธอร์นฮิลล์ เมย์น ใน สวนสาธารณะแอลเฟรด และอนันตภวัน
สมญา: 
The Sangam City,[1] City of Prime Ministers,[2]
Abode of God[3]
อลาหาบาดตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
อลาหาบาด
อลาหาบาด
ที่ตั้งของอลาหาบาดในอุตตรประเทศ
อลาหาบาดตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
อลาหาบาด
อลาหาบาด
อลาหาบาด (ประเทศอินเดีย)
อลาหาบาดตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
อลาหาบาด
อลาหาบาด
อลาหาบาด (ทวีปเอเชีย)
พิกัด: 25°27′N 81°51′E / 25.450°N 81.850°E / 25.450; 81.850
ประเทศ อินเดีย
รัฐอุตตรประเทศ
Divisionอลาหาบาด
จังหวัดอลาหาบาด
การปกครอง
 • ประเภทMunicipal Corporation
 • องค์กรAllahabad Municipal Corporation
 • นายกรัฐมนตรีAbhilasha Gupta (BJP)
 • Divisional CommissionerAshish Kumar Goel, IAS
 • District MagistrateSuhas L. Y., IAS
 • Inspector General, Allahabad RangeMohit Aggarwal, IPS
 • Senior Superintendent of PoliceNitin Tiwari, IPS
พื้นที่[4]
 • มหานคร82 ตร.กม. (32 ตร.ไมล์)
ความสูง98 เมตร (322 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[5]
 • มหานคร1,117,094 คน
 • อันดับ38th
 • ความหนาแน่น14,000 คน/ตร.กม. (35,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[6]1,216,719 คน
 • Metro rank41st
เดมะนิมAllahabadi, Ilahabadi, Prayagraji
ภาษา
 • ทางการฮินดี[7]
 • เพิ่มเติมอูรดู[7]
 • พื้นบ้านอวธี[8]
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN211001-18
รหัสโทรศัพท์+91-532
ทะเบียนพาหนะUP-70
Sex ratio852 /1000
เว็บไซต์Official district website
ป้อมปราการริมฝั่งแม่น้ำยมุนาในอลาหาบาด สร้างโดยพระเจ้าอักบาร์มหาราช
Topography timeline
ริมฝั่งแม่น้ำยมุนาในอลาหาบาดในช่วงฤดูฝน

อลาหาบาด (Allahabad; ฮินดี: इलाहाबाद; อูรดู: الہ آباد) หรือชื่อทางการ ประยาคราช (Prayagraj; ฮินดี: प्रयागराज) เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในรัฐอุตตรประเทศ และมีความสำคัญทางศาสนาฮินดูเพราะเป็นจุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามสายคือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และแม่น้ำสรัสวดีมาบรรจบกันซึ่งเรียกว่าจุฬาตรีคูณ

แต่เดิมเมืองนี้ชื่อเมืองประยาค พบศิลาจารึกสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเกี่ยวกับคำสอนทางพุทธศาสนา ในสมัยพระเจ้าสมุทรคุปต์ได้บันทึกเพิ่มเติมในด้านที่ว่างอยู่เกี่ยวกับการขยายอำนาจของพระองค์ ต่อมาใน พ.ศ. 2127 พระเจ้าอักบาร์มหาราชแห่งราชวงศ์โมกุลเปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็นอลาหาบาด แปลว่าเมืองแห่งอัลลอฮ์ เมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญของอินเดียด้วย โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์กบฏซีปอย พ.ศ. 2400 – 2401 และได้เลื่อนขึ้นเป็นเมืองหลวงของยูไนเต็ดโพรวินซ์หรือรัฐอุตรประเทศในปัจจุบัน

ต่อมา ใน พ.ศ. 2430 ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยอลาหาบาด ทำให้เมืองนี้มีความสำคัญทางการศึกษา ความสำคัญทางการเมืองและการค้าลดลงเมื่อย้ายเมืองหลวงของแคว้นจากอลาหาบาดไปยังเมืองลักเนา คงเหลือแต่ความสำคัญทางด้านการศึกษาและศาสนา โดยเฉพาะในเทศกาลมาฆเมลา จะมีผู้มาแสวงบุญที่จุฬาตรีคูณจำนวนมาก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mani, Rajiv (21 พฤษภาคม 2014). "Sangam city, Allahabad". Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2014.
  2. "City of Prime Ministers". Government of Uttar Pradesh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2014.
  3. "Nicknames of Indian Cities – Complete List". 26 ตุลาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2018.
  4. "Allahabad". allahabadmc.gov.in (ภาษาอังกฤษ). Government of Uttar Pradesh. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2018.
  5. "Census 2011" (PDF). Census India. The Registrar General & Census Commissioner. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2014.
  6. "Urban Agglomerations/Cities having population 1 lakh and above" (PDF). Census India. The Registrar General & Census Commissioner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2014.
  7. 7.0 7.1 "52nd REPORT OF THE COMMISSIONER FOR LINGUISTIC MINORITIES IN INDIA" (PDF). nclm.nic.in. Ministry of Minority Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2018.
  8. "Awadhi". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
  • ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. อลาหาบาด ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 108-110

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]