ข้ามไปเนื้อหา

อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์
المستنصر بالله
เหรียญทองของอัลมุสตันศิร, อียิปต์, ค.ศ. 1055
อิมามเคาะลีฟะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์องค์ที่ 8
ครองราชย์13 มิถุนายน ค.ศ. 1036 (15 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 427)[a] – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1094 (18 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ ฮ.ศ. 487)[b]
ก่อนหน้าอัซซอฮิร
ถัดไปอัลมุสตะอ์ลี
ประสูติ2 กรกฎาคม ค.ศ. 1029 (16 ญุมาดัษษานี ฮ.ศ. 420)[3][4]
ไคโร ประเทศอียิปต์
สวรรคต29 ธันวาคม ค.ศ. 1094 (18 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ ฮ.ศ. 487)[b] (65 พรรษา)
ประเทศอียิปต์
พระราชบุตร
ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์
พระราชบิดาอัซซอฮิร
พระราชมารดาเราะศ็อด[9]
ศาสนาชีอะฮ์อิสมาอีลียะฮ์

อะบู ตะมีม มะอัด อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ (อาหรับ: أبو تميم معد المستنصر بالله‎; 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1029 – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1094)[b] เป็นเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์องค์ที่ 8 ใน ค.ศ. 1036 ถึง 1094 พระองค์เป็นหนึ่งในผู้ปกครองมุสลิมที่ปกครองนานที่สุด[10] รัชสมัยของพระองค์คือช่วงเริ่มต้นรัฐฟาฏิมียะฮ์ ในช่วงต้นของรัชสมัยมีความต่อเนื่องของผู้บริหารที่มีความสามารถฝยการบริหารรัฐฟาฏิมียะฮ์ (อะนูชตะกีน, อัลญัรญะรออี และอัลยาซูรีในภายหลัง) ควบคุมความเจริญรุ่งเรืองของรัฐในช่วงสองทศวรรษแรกของรัชสมัยอัลมุสตันศิร อย่างไรก็ตาม การแตกหักของราชสำนักระหว่างกลุ่มราชสำนักเติร์กกับเบอร์เบอร์/ซูดานหลังจากการลอบสังหารอัลยาซูรีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในอียิปต์ และการสูญเสียการควบคุมบริหารเหนือดินแดนนอกอียิปต์ของฟาฏิมียะฮ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป เกือบส่งผลให้รัฐฟาฏิมียะฮ์ล่มสลายจนสิ้นในคริสต์ทศวรรษ 1060 การแต่งตั้งบัดร์ อัลญะมาลี นายพลชาวอาร์เมเนีย ผู้ขึ้นมามีอำนาจเป็นวิเซียรใน ค.ศ. 1073 และกลายเป็นเผด็จการของประเทศโดยพฤตินัยภายใต้การครองราชย์เพียงในนามของอัลมุสตันศิร[2][1][4]

เคาะลีฟะฮ์อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์เป็นอิมามคนสุดท้ายก่อนที่จะเกิดการแตกแยกในขบวนการอิสมาอีลียะฮ์ออกเป็น 2 กลุ่ม เนื่องจากการต่อสู้กันอย่างต่อเนื่องระหว่างนิซาร พระราชโอรสองค์โต กับอัลมุสตะอ์ลี พระอนุชาของนิซารผู้ได้รับการเลี้ยงดูให้ขึ้นครองราชย์โดยอัลอัฟฎ็อล ชาฮันชาฮ์ บุตรและผู้สืบทอดของบัดร์ อัลญะมาลี ผู้ที่ติดตามนิซารกลายมาเป็นอิสมาอีลียะฮ์สายนิซารีที่พบเป็นหลักในอิหร่านและซีเรีย ส่วนผู้ที่ตามอัลมุสตะอ์ลีกลายเป็นสายมุสตะอ์ลี

พระราชประวัติ[แก้]

อัลมุสตันศิรเสด็จพระราชสมภพที่ไคโรในวันที่ 16 ญุมาดัษษานี ฮ.ศ. 420/2 กรกฎาคม ค.ศ. 1029[4] จากอะลี อัซซอฮิรกับเราะศ็อด ทาสผิวดำจากนูเบีย[11] เมื่อพระชนมพรรษา 8 เดือน พระราชบิดาประกาศให้พระองค์เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ พระองค์มีพระนามว่า อะบู ตะมีม มะอัด นามสกุล อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ ("ผู้ถามถึงชัยชนะจากพระผู้เป็นเจ้า") พระองค์ขึ้นครองราชย์รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ในวันที่ 15 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 427/13 มิถุนายน ค.ศ. 1036 ตอนพระชนมพรรษา 7 พรรษา ในช่วงปีแรกของการเป็นเคาะลีฟะฮ์ พระราชมารดาเป็นผู้บริหารกิจการของรัฐ พระองค์ครองราชย์เป็นเวลา 60 ปี ซึ่งยาวนานที่สุดในบรรดาเคาะลีฟะฮ์ทั้งหมดทั้งในอียิปต์หรือรัฐอิสลามอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม อำนาจของฟาฏิมียะฮ์ถูกจำกัดอยู่ที่อียิปต์ เนื่องจากการพิชิตลิแวนต์ของพวกเซลจุค นอร์มันในซิซิลีกับมอลตา และชนเผ่าอาหรับสร้างความสั่นคลอนต่อฝ่ายฟาฏิมียะฮ์เหนือตูนิเซียและตริโปลี[1] อัลมุสตันศิรถือว่าเป็นผู้ไร้ความสามารถ[ต้องการอ้างอิง] และนั่นทำให้ราชสำนักของพระองค์จึงถูกครอบงำโดยทหารแข็งแกร่งและเจ้าหน้าที่คนโปรดของพระราชมารดา ในขณะที่คลังสมบัติก็หมดลงด้วยการต่อสู้แบบประจัญบานจากฝ่ายต่าง ๆ[12]

พระองค์สร้างเมียะห์รอบพิเศษที่เสาหนึ่งในมัสยิดอิบน์ ฏูลูน เหนือเมียะห์รอบมีพระนามของพระองค์สลักร่วมกับชะฮาดะฮ์ที่มีการอ่านกันตามสาธารณะในสมัยฟาฏิมียะฮ์ ซึ่งลงท้ายด้วยวลี 'อะลีวะลียุลลอฮ์' หมายถึง "อะลีเป็นพระสหายของอัลลอฮ์"

ราชสำนัก[แก้]

ดาอี/วิเซียรที่มีเชื่อเสียงในรัชสมัยของพระองค์ มีดังนี้:

มูลัย อับดุลลอฮ์กับSyedi Nuruddin เป็นชาวอินเดียสองคนที่เดินทางพบอัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ที่อียิปต์ ทั้งคู่หันมานับถือความเชื่อแบบอิสมาอีลียะฮ์ตามอัลมุอัยยัด ฟีดดีน อัชชีรอซี ดาอีฟาฏิมียะฮ์ และกลับไปอินเดียเพื่อเผยแพร่ความเชื่อนี้[14]

ภาพ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนจัดให้ ค.ศ. 1035 เป็นปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์[1][2] ปีที่มีการอ้างถึงมากกว่าคือ ค.ศ. 1036 โดยเฉพาะในบรรดานักวิชาการมุสลิม[3][4]
  2. 2.0 2.1 2.2 เมื่อแปลงไปเป็นปฏิทินกริกอเรียน วันสวรรคตอยู่ในช่วง 6 มกราคม ค.ศ. 1095[4] แต่วันที่ 29 ธันวาคมเป็นวันที่ที่มีการใช้กันทั่วไป[3][5][6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Hitti, Philip K. (2002). A Short History of the Arabs: From the Earliest Times to the Present (Revised 10 ed.). ISBN 0333631420.
  2. 2.0 2.1 O'Leary, De Lacy (1923). A Short History of the Fatimid Caliphate. p. 193.
  3. 3.0 3.1 3.2 "MÜSTA'LÎ-BİLLÂH el-FÂTIMÎ - TDV İslâm Ansiklopedisi". TDV İslam Ansiklopedisi (ภาษาตุรกี).
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "MUSTANSIR BILLAH I (427-487/1036-1095), 18TH IMAM". ismaili.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
  5. Cohen, Mark R. (2014). Jewish Self-Government in Medieval Egypt. Princeton University Press. p. 218. ISBN 9781400853588.
  6. Ayman Fu'ad Sayyid (2002). The Fatimids and Their Successors in Yaman. I.B. Tauris. p. 5. ISBN 9781860646904.
  7. Hodgson, Natasha R. (2019). Crusading and Masculinities. Routledge. p. 72. ISBN 9781351680141.
  8. Daftary 2007, p. 246.
  9. al-Maqrizi, Ette'aaz al-honafa be Akhbaar al-A'emma Al Fatemeyyeen Al Kholafaa, part 2, p. 45. Qairo. 1973
  10. "al-Mustanṣir" Encyclopædia Britannica Retrieved 31 January 2015
  11. Holt, P. M., and M. W. Daly. "A History of the Sudan: From the Coming of Islam to the Present Day." Taylor & Francis Group, 2014. 16
  12. Daftary, Farhad (1990). The Isma'ilis: Their History and Doctrines. pp. 193-194. ISBN 978-0-521-37019-6.
  13. Klemm, Verena (2004). "MOʾAYYAD FI'L-DIN ŠIRĀZI". Encyclopaedia Iranica.
  14. [1] 12.0 The Fatimid Da'i Al-Mu'ayyad: His Life, by: Dr. Abbas Hamdani, University of Wisconsin, Milwaukee (U.S.A.): ..In this village there were two .men who acquired knowledge, then proceeded from India, in the time of al-Mustansir, to Egypt and joined the lsma'ili faith at the bidding of Sayyidna al-Mu'ayyad from whom they acquired much knowledge. Their names were (Ba)Lam Nath(known as Moulai Abadullah) and Rup Nath (later called Mawla'i Nurad-Din). Both of them returned from Egypt to their native village...."

ข้อมูล[แก้]