อิบน์ อับบาส
อับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส | |
---|---|
عبد الله بن عباس | |
คำนำหน้าชื่อ | ฮับรุลอุมมะฮ์ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 619 |
มรณภาพ | ฮ.ศ. 687 |
ศาสนา | อิสลาม |
อาชีพ | ผู้เชี่ยวชาญตัฟซีร, ผู้มีความสนใจอัลกุรอาน, ซุนนะฮ์, หะดีษ และตัฟซีร มีชีวิตช่วงยุคทองของอิสลาม |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ศาสดา | มุฮัมมัด |
ได้รับอิทธิจาก | |
อับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส (อาหรับ: عَبْد ٱللَّٰه ٱبْن عَبَّاس; ค.ศ. 619 – 687) หรือรู้จักในนาม อิบน์ อับบาส เป็นลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่งของมุฮัมมัดผู้เป็นนบี ท่านเป็นนักตัฟซีร อัลกุรอานผู้ยิ่งใหญ่[1][2]
ท่านเป็นบุตรชายของอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏเฏาะลิบ ลุงของมุฮัมมัด และเป็นหลานชายของมัยมูนะฮ์ บินต์ อัลฮาริษ ซึ่งต่อมากลายเป็นภรรยาของมุฮัมมัด ในช่วงแรกของการต่อสู้เพื่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ ท่านสนับสนุนท่านอะลี อิบน์ อะบีฏอลิบ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการบัศเราะฮ์ หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ถอนตัว แล้วไปที่มักกะฮ์ ในรัชสมัยของท่านมุอาวิยะฮ์ที่ 1 ท่านอาศัยอยู่ ณ. แคว้นฮิญาซ และมักจะเดินทางไปยังดามัสกัส หลังจากมุอาวิยะฮ์ที่ 1 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 680 ท่านก็ไปที่อัฏฏออิฟ ซึ่งเขาเสียชีวิตราวปี ค.ศ. 687[1][3]
อับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาสได้รับการยกย่องอย่างสูงจากความรู้เกี่ยวกับหะดีษและการตัฟซีร อัลกุรอาน ตั้งแต่แรกเริ่ม ท่านรวบรวมข้อมูลความรู้จากเศาะฮาบะฮ์ท่านอื่นๆ และสอนมัจญ์ลิส และเขียนข้อคิดเห็นมากมาย[4]
ชีวประวัติ
[แก้]ตระกูล
[แก้]ท่านเป็นบุตรชายคนที่สามของพ่อค้าผู้มั่งคั่ง อัลอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏเฏาะลิบ ดังนั้นท่ารจึงถูกเรียกว่า อิบน์ อับบาส (บุตรของอับบาส) มารดาของท่านคือ อุมมุลฟัฎล์ ลุบาบะฮ์ ซึ่งภาคภูมิใจในการเป็นผู้หญิงคนที่สองที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ในวันเดียวกับเพื่อนสนิทของนางคือ เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด ภรรยาของมุฮัมมัด[5]
บิดาของอิบน์ อับบาส และบิดาของมุฮัมมัด หรือที่รู้จัก ทั้งสองเป็นบุตรของชัยบะฮ์ อิบน์ ฮาชิม หรือรู้จักกันดีในนาม อับดุลมุฏเฏาะลิบ บิดาของชัยบะฮ์ อิบน์ ฮาชิม คือ ฮาชิม อิบน์ อับดุมะนาฟ บรรพบุรุษของตระกูลบะนูฮาชิมแห่งเผ่ากุร็อยช์ ในมักกะฮ์[ต้องการอ้างอิง]
ฮ.ศ. 619–632: ยุคของมุฮัมมัด
[แก้]อิบน์ อับบาส เกิดในปีที่ 3 ก่อนฮัจญ์เราะฮ์ศักราช (ฮ.ศ. 619–620) และมารดาของท่านพาท่านไปหามุฮัมมัด ก่อนที่นางจะเริ่มต้นให้นมบุตร เหตุการณ์นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพวกเขา[6]
กล่าวกันว่ามุฮัมมัดจะดึงท่านเข้ามาใกล้ แล้วตบไหล่ท่าน แล้วขอดุอาอ์ว่า "โอ้อัลลอฮ์! โปรดสอนเขา (ความรู้เกี่ยวกับ) คัมภีร์ (อัลกุรอาน)"[7] นะบีมุฮัมมัดยังได้ดุอาอ์ให้ท่านบรรลุความเข้าใจในศาสนาด้วย[8] อิบน์ อับบาสติดตามมุฮัมมัด จดจำและเรียนรู้คำสอนของท่าน[6]
คำกล่าวของท่านนะบีมุฮัมมัด
[แก้]ใน ฮ.ศ. 10 นะบีมุฮัมมัดล้มป่วยครั้งสุดท้าย ในช่วงเวลานี้ มีหะดีษรายงานเกี่ยวกับปากกาและกระดาษ โดยมีอิบน์ อับบาสเป็นผู้รายงานชั้นแรก ในขณะนั้นมีอายุประมาณ 12 ปี หลายวันหลังจากนั้น อับบาส และ อะลี ก็พยุงตัวของนะบีมุฮัมมัดบนไหล่ของพวกเขา เนื่องจากนะบีมุฮัมมัดอ่อนแอเกินกว่าจะเดินได้โดยไม่ต้องขอความช่วย
ฮ.ศ. 632–634: ยุคของอะบูบักร์
[แก้]มรดกจากนบีมุฮัมมัด
[แก้]อิบน์ อับบาสอายุ 13 ปี เมื่อนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต หลังจากที่อะบูบักร ขึ้นสู่อำนาจ อิบน์ อับบาสและบิดาของท่านก็อยู่ในหมู่ผู้ที่ขอส่วนแบ่งมรดกของนบีมุฮัมมัด แต่ไม่สำเร็จ[ต้องการอ้างอิง] ท่านอะบูบักร์กล่าวว่า ท่านเคยได้ยินนะบีมุฮัมมัด กล่าวว่า นะบีจะไม่ทิ้งมรดกไว้เบื้องหลังตามกฎของอัลลอฮ์
การสอนศาสนา
[แก้]นอกจากการศึกษาของท่านเองแล้ว อิบน์ อับบาสยังเป็นครูอีกด้วย บ้านของท่านที่ท่านสอนเปรียบได้ดั่งมหาวิทยาลัย[6]
ศิทย์คนหนึ่งรายงานถึงเหตุการณ์ปกติที่หน้าบ้านของท่านว่า:
ท่านจัดชั้นเรียนวิชาเดียวในแต่ละวัน ชั้นเรียนของท่านครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น ตัฟซีร, ฟิกฮ์, ฮะลาล และ ฮะรอม, ฆ็อซวะฮ์, กวีนิพนธ์, ประวัติศาสตร์อาหรับก่อนอิสลาม, กฎหมายมรดกอิสลาม, ภาษาอาหรับ และนิรุกติศาสตร์[6]
ฮ.ศ. 634–644: ยุคของอุมัร
[แก้]ให้คำปรึกษาอุมัร
[แก้]อุมัรมักขอคำแนะนำจากอิบน์ อับบาสในเรื่องสำคัญของรัฐ และอุมัรอธิบายว่าท่านเป็น "ชายหนุ่มที่ทรงคุณวุฒิ":[6]
เศาะฮาบะฮ์ ซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ กล่าวว่า:
ข้าไม่เคยเห็นใครที่เข้าใจศาสนาได้เร็วกว่า มีความรู้ และสติปัญญามากกว่าอิบน์ อับบาสมาก่อน ข้าเคยเห็นอุมัรเรียกท่านมาเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่ยากลำบากต่อหน้าทหารผ่านศึกของแห่บะดัร จากชาวมุฮาญิรีน และอันศอร ท่านอิบน์ อับบาสจะพูดและอุมัรจะไม่เพิกเฉยต่อสิ่งที่ท่านพูด[6]
ฮ.ศ. 656–661: ยุคของอะลี
[แก้]ยุทธการที่ศิฟฟีน
[แก้]อิบน์ อับบาสยังคงเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันต่ออะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ ลูกพี่ลูกน้องของท่าน ในระหว่างที่ทำสงครามกับมุอาวียะฮ์ รวมถึงในยุทธการที่ศิฟฟีนด้วย ท่านยังได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองบัศเราะฮ์ ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อะลี [ต้องการอ้างอิง]
กองทัพกลุ่มใหญ่ของอะลีไม่พอใจกับผลลัพธ์ของสงครามของอะลีกับมุอาวียะฮ์ และแยกออกเป็นอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ เคาะวาริจญ์ อิบน์ อับบาสมีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวพวกเขาจำนวนมากให้กลับไปหาอะลี ประมาณ 20,000 คน จาก 24,000 คน ตามแหล่งข้อมูลบางแห่ง ท่านใช้ความรู้เกี่ยวกับชีวประวัติของนบีมุฮัมมัด โดยเฉพาะเหตุการณ์ในสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์[6]
ฮ.ศ. 680–683: ยุคของยะซีด
[แก้]ชาวซุนนีเชื่อว่าอิบน์ อับบาสสนับสนุนความสามัคคีของชาวมุสลิม และด้วยเหตุนี้จึงท่านไม่ก่อกบฏต่อผู้ปกครอง ท่านแนะนำให้ท่านฮุซัยน์ อิบน์ อะลี ไม่ให้เดินทางไปยัง กูฟะฮ์ ซึ่งสิ้นสุดที่กัรบะลาอ์
สิ่งที่ทิ้งไว้
[แก้]เมื่อความรู้ของอับดุลลอฮ์เติบโตขึ้น ท่านก็เติบโตขึ้นตามไปด้วย มัสรูก อิบน์ อัลอัจญ์ดะอ์ กล่าวถึงท่านว่า:
เมื่อใดก็ตามที่ข้าเห็นอิบน์ อับบาส ข้าจะพูดว่า: ท่านคือ ชายที่หล่อที่สุด เมื่อท่านพูด ข้าจะกล่าวว่า: ท่านเป็นคนที่มีวาจาไพเราะที่สุด และเมื่อท่านสนทนา ข้าจะกล่าวว่า: ท่านเป็นผู้รอบรู้ที่สุดในหมู่มนุษย์”[6]
อิบน์ อับบาสได้รับความเคารพอย่างสูงจากทั้งชีอะฮ์และซุนนี[ต้องการอ้างอิง] อัลกุรอานฉบับกรุงไคโร ค.ศ. 1924 ได้นำอัลกุรอานตามลำดับเวลาของบทต่างๆ ที่ประกาศใช้โดย อิบน์ อับบาส ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางหลังปี ค.ศ. 1924[9][10]
มุมมอง
[แก้]อิบน์ อับบาส มองว่าตัฟซีรสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท:[11]
- การอธิบายอัลกุรอานในเรื่องที่ชาวอาหรับรับรู้และเข้าใจกันดี
- การอธิบายที่จำเป็นต้องรู้เลี่ยงไม่ได้
- การอธิบายที่บรรดาปราชญ์เท่านั้นที่สามารถเข้าใจ
- การอธิบายที่ไม่มีใครรู้นอกจากอัลลอฮ์ (อาหรับ: الله อัลลอฮ์)
ชาวซุนนีมองว่าท่านเป็นผู้รอบรู้มากที่สุดในหมู่เศาะฮาบะฮ์เกี่ยวกับตัฟซีร หนังสือชื่อ ตันวีรุลมิกบาส เป็นหนัสือตัฟซีร คำอธิบายทั้งหมดอาจย้อนกลับไปถึงอิบน์ อับบาส[6] จากรายงานทั้งหมดที่ส่งโดยอิบนุอับบาส มีประมาณ 1660 รายงานที่ถือว่ามีความถูกต้อง (อาหรับ: Sahih) โดยผู้ประพันธ์ของเศาะฮีฮ์ทั้งสอง[6][12][หน้าหนังสือ จำเป็น]
ดูเพิ่ม
[แก้]ลิงค์ภานนอก
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "'Abd Allah ibn al-'Abbas". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-Ak - Bayes (15th ed.). Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica, Inc. 2010. pp. 16. ISBN 978-1-59339-837-8.
- ↑ Ludwig W. Adamec (2009), Historical Dictionary of Islam, p.134.
- ↑ There is uncertainty as to the actual year of his death.
- ↑ "'Abd Allah ibn al-'Abbas". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-Ak - Bayes (15th ed.). Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica, Inc. 2010. pp. 16. ISBN 978-1-59339-837-8.
- ↑ Marriage to a 'past': Parents should not reject a proposal without a good reason – and being a revert with a past is not an acceptable one
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 biography Archived 2009-05-28 at archive.today on the MSA West Compendium of Muslim Texts
- ↑ Sahih al-Bukhari, 9:92:375
- ↑ Sahih Muslim (#6523)
- ↑ Jane Dammen McAuliffe "Preface" Encyclopaedia of the Qur'an, Vol.
- ↑ Gerhard Böwering, "Chronology and the Quran", Encyclopaedia of the Qur'an, Vol.
- ↑ Interpreting The Text
- ↑ Reliance of the Traveller by Ahmad al-Misr, (A Classic Manual of Islamic Sacred Law), translated by Nuh Ha Mim Keller, published by Amana publications, Beltsville, Maryland, USA 1991