อัญชลีมุทรา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
อัญชลีมุทรา (สันสกฤต: अञ्जलि मुद्रा, añjali mudrā) หรือ ปราณามาสนะ (สันสกฤต: प्रणामासन, praṇāmāsana) เป็นท่ามือที่มาจากศาสนาแบบอินเดีย ซึ่งมีการปฏิบัติในเอเชียและที่อื่นๆ ท่ามือนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเคารพและคำทักทายใน อินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังใช้ในหมู่ชาวพุทธในเอเชียตะวันออก ลัทธิเต๋าและชินโต ในหมู่ผู้ฝึกโยคะและกลุ่มคนของประเพณีที่คล้ายคลึงกัน ท่ามือนี้จะมีอยู่ในโยคาสนะจำนวนหลายท่า และยังใช้สำหรับการนมัสการในหลายศาสนาแถบตะวันออก
ที่มาของคำ
[แก้]อัญชลี เป็นคำสันสกฤต แปลว่า "เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์", "ท่าแห่งความเคารพ", "การประสาทพร", "การคารวะ" มาจาก อัญช หมายถึง "การให้เกียรติหรือเฉลิมฉลอง"[1]
มุทรา หมายถึง "ท่า" หรือ "สัญลักษณ์" ความหมายของวลีจึงเป็น "สัญลักษณ์ของความเคารพ"[2]
ท่านี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อของ ฤทัยอัญชลีมุทรา หมายถึง "ท่าเคารพจากใจ" และ อัตตาอัญชลีมุทรา หมายถึง "ท่าเคารพด้วยตัวตน"[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Salutation Seal". Yoga Journal. สืบค้นเมื่อ 2002-06-12.
- ↑ Rea, Shiva. "For Beginners: Anjali Mudra". Yoga Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-12.