ข้ามไปเนื้อหา

อักษรจีนพระนางบูเช็กเทียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:Table Hanzi แม่แบบ:Expand Chinese

อักษรจีนพระนางบูเช็กเทียน (อังกฤษ: Chinese characters of Empress Wu หรือ the Zetian characters; จีน: 則天文字; พินอิน: Zétiān wénzì) เป็นอักษรจีนที่พระนางบูเช็กเทียน ซึ่งเป็นจักรพรรดินีพระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน ทรงมีพระราชดำริให้สร้างและปรับปรุงใหม่เพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจของพระนาง โดยตัวอักษรเหล่านั้นพระนางมิได้เป็นผู้ประดิษฐ์ออกแบบด้วยพระองค์เอง หากแต่มีข้าราชบริพารคนหนึ่งชื่อ จงฉินเค่อ (จีน: 宗秦客; พินอิน: Zōng qín kè) ซึ่งเป็นบุตรของญาติลูกพี่ลูกน้องของพระนางเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 689 จำนวนของตัวอักษรทั้งหมดไม่แน่ชัด ข้อมูลแต่ละแหล่งระบุจำนวนต่างกันเช่น 12, 17, 19, หรือ 30 ตัวอักษรเป็นต้น ตัวอักษรใหม่เหล่านี้ถูกบังคับใช้ในรัชกาลพระนางบูเช็กเทียน แต่ยุติลงเมื่อพระนางสวรรคตใน ค.ศ. 705

ตัวอักษรพระนางบูเช็กเทียนนั้น บางส่วนที่ยังใช้อยู่บ้างนั้นอนุรักษ์ใช้เฉพาะเขียนประวัติศาสตร์สมัยพระนางเท่านั้น และตัวอักษรบางตัวที่มีใช้ในยุคปัจจุบันบ้างในความหมายที่ต่างไป เช่นใช้ในภาษาคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ หรือในภาษาเฉพาะเท่านั้น

ลักษณะของตัวอักษรแต่ละตัวเองก็มีรูปแบบที่อาจแตกต่างไปตามการใช้งานหรือในเอกสารชนิดต่าง ๆ กัน เช่นคำว่า จ้าว (จีน: 照; พินอิน: zhào) ซึ่งเป็นพระนามของพระนางบูเช็กเทียนนั้น ถูกแทนด้วยตัวอักษรใหม่ คือ 瞾 แต่ในบางครั้งก็ถูกเขียนอย่างผิด ๆ ว่า 曌 ทั้งนี้เมื่อศึกษาในพจนานุกรมคังซี (Kangxi Dictionary) จึงพบคำอธิยว่าคำที่ถูกต้องควรเป็นคำที่เขียนด้วยอักษรที่ประกอบด้วย 目 ("ตา") 2 ตัวอักษรมากกว่าอักษรคำว่า 明 ("ส่องสว่าง โชติช่วง") เป็นต้น

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ตัวอักษรจีนในสมัยพระนางบูเช็กเทียนมิได้มากจากการคิดประดิษฐ์อักษรใหม่จากเริ่มต้นทั้งหมด แต่มาจากการสร้างโดยประกอบหรือยืมตัวอักษรเดิมต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกัน ดังตัวอย่าง

เมื่อราชวงศ์โจวล่มสลายลงพร้อมการสิ้นพระชมน์ของพระนางบูเช็กเทียน จึงนำตัวอักษรแบบดั้งเดิมกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง และในที่สุดผู้คนก็ลืมวิธีการเขียนแบบใหม่นั้นไป คงเหลือตัวอักษรบางตัวที่ถูกนำมาใช้ในประเทศอื่นบ้าง

เกร็ดเกี่ยวกับรัชกาลจักรพรรดินีบูเช็กเทียนสามารถหาอ่านได้ในหนังสือ "คัมภีร์ถัง" (the Book of the Tang)

ตัวอย่าง

[แก้]
ตัวอักษรเดิม พินอิน และความหมาย ตัวอักษรใหม่ รูปขยาย Unicode คำอธิบายความหมาย
zhào (เจ้า)
(มีความหมายว่า "ส่องสว่าง" และ "ภาพถ่าย" ด้วย)
แม่แบบ:Unihan ชื่อของพระนางบูเช็กเทียน “” มี้รากฐานมาจากคำสี่คำ ประกอบด้วยคำว่า “日月当空” ซึ่งหมายถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์อันเป็นสัญลักษณ์แห่งหยินและหยาง
zhào (เจ้า)
แม่แบบ:Unihan มีลักษณะการเขียนตามที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมกังซี (Kangxi dictionary)
tiān (เทียน)
ท้องฟ้า สวรรค์
𠑺 แม่แบบ:Unihan คำนี้มีที่มาจากตัวอักษรที่ใช้เป็นตราประทับของคำว่า 天
𠀑 แม่แบบ:Unihan เป็นรูปแบบการเขียนที่เส้นบางเส้นลากต่อกันตามลักษณะการเขียนด้วยลายมือ (handwritten script)
de (ตี)
โลก แผ่นดิน
แม่แบบ:Unihan ตัวอักษรคำว่า โลก นี้ประกอบด้วยตัวอักษรคำว่า ภูเขา น้ำ และดิน
rì (รื่อ)
พระอาทิตย์ วัน
𡆠 แม่แบบ:Unihan กล่าวกันว่าเป็นตัวแทนของเทพอีกาสามขา (the Three-legged crow Sun deity of Chinese mythology) ในตำนานเทพนิยายจีน
yuè (เยว่)
พระจันทร์ เดือน
แม่แบบ:Unihan กล่าวกันว่าเป็นตัวแทนรูปกระต่าย หรือคางคกบนดวงจันทร์
𠥱 แม่แบบ:Unihan มีลักษณะเช่นเดียวกับด้านบน
xīng (ซิง)
ดาว ดวงดาว
แม่แบบ:Unihan ลักษณะวงกลมอันว่างเปล่าแสดงถึงคำว่า 'ดวงดาว' ปัจจุบันใช้ในอักษรจีนสมัยใหม่แทนตัวเลขของจีน ในความหมายว่า ศูนย์ (number zero)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]