อักษรคุญชลาโคณฑี
หน้าตา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อักษรคุญชลาโคณฑี | |
---|---|
"อักษรคุญชลาโคณฑี" เขียนเป็นอักษรคุญชลาโคณฑี | |
ชนิด | |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ภาษาโคณฑี |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Gong (312), Gunjala Gondi |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Gunjala Gondi |
ช่วงยูนิโคด | U+11D60..U+11DAF |
อักษรคุญชลาโคณฑี (𑵶𑶍𑶕𑶀𑵵𑶊 𑵶𑶓𑶕𑶂𑶋 𑵵𑶋𑶅𑶋, Gunjala Gondī Lipi) คืออักษรที่ใช้เขียนภาษาโคณฑีซึ่งค้นพบที่หมู่บ้านคุญชลาในรัฐเตลังคานาทางตอนใต้ของอินเดีย มีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรโมฑี[1]
ภาษาโคณฑีเป็นภาษาในตระกูลภาษาดราวิเดียน ที่มีประชากรพูดราว 2 ล้านคน ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเขียนด้วยอักษรเทวนาครีหรืออักษรเตลูกู[2] ส่วนอักษรคุญชลาโคณฑีนั้นเป็นอักษรเก่าไม่ได้ใช้ในปัจจุบันนี้
อักษรนี้ได้รับการค้นพบที่หมู่บ้านคุญชลา (Gunjala) ในปี 2008 และต่อมาจึงได้มีการพัฒนาฟอนต์สำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์ขึ้นมาในปี 2014 โดยคนทลิต และศูนย์วิจัยชนพื้นเมืองของมหาวิทยาลัยไฮเดอราบาดในไฮเดอราบาด รัฐเตลังคานาของอินเดีย[3]
ตัวอักษรนี้ได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดรุ่น 11.0 ช่วงรหัส U+11D60 – U+11DAF ในเดือนมิถุนายน 2018 มีทั้งหมด 63 ตัว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Anshuman Pandey (2015-12-07), Proposal to encode the Gunjala Gondi script in Unicode (PDF)
- ↑ Anshuman Pandey (2015-04-15), Proposal to Encode the Masaram Gondi Script in Unicode (PDF)
- ↑ "Gondi script and font unveiled", The Hindu, 2014-02-21