อะโลอิน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ช่องทางการรับยา | ทางปาก |
รหัส ATC |
|
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
ChemSpider | |
UNII | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.014.371 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C21H22O9 |
มวลต่อโมล | 418.39 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
จุดหลอมเหลว | 148 องศาเซลเซียส (298 องศาฟาเรนไฮต์) (70–80 °C , โมโนไฮเดรต) |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
อะโลอิน (อังกฤษ: aloin) หรือ บาร์บาโลอิน (barbaloin)[1] เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ C21H22O9 มีสีเหลืองน้ำตาล รสขม พบทั่วไปในยางว่านหางจระเข้ เมื่อแห้งใช้เป็นสารรสขม อะโลอินที่สกัดจากธรรมชาติจะเป็นการผสมของ 2 ไดอาสเตอริโอเมอร์ คือ อะโลอินเอ (บาร์บาโลอิน) และอะโลอินบี (ไอโซบาร์บาโลอิน) มักเตรียมได้จากการสกัดยางว่านหางจระเข้แล้วทำให้แห้งในรูปแบบเม็ดหรือของเหลว
อะโลอินช่วยเพิ่มการบีบตัวของลำไส้[2] และป้องกันการดูดน้ำกลับจากอุจจาระ[3] แต่หากใช้มากเกินอาจทำให้ปวดท้องและท้องเสีย ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ. 2002 สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ประกาศให้ยาระบายว่านหางจระเข้ไม่สามารถ "ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย" (Generally recognized as safe) และผลิตภัณฑ์ที่มีสารอะโลอินไม่สามารถวางขายบนเคาน์เตอร์ได้ เพราะอาจเป็นสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม การใช้สารอะโลอินในการรักษาโรคมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Reynolds, Aloes - The genus Aloe, 2004
- ↑ Tenney, Deanne (February 1997). Aloe Vera. Woodland Publishing. p. 12. ISBN 978-1-885670-60-1. สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
- ↑ Lulinski, B.; Cathy Kapica. "Some notes on Aloe Vera". สืบค้นเมื่อ 2007-11-12.
- ↑ Wamer, WG; Vath, P; Falvey, DE (January 2003). "In vitro studies on the photobiological properties of aloe emodin and aloin A". Free Radic Biol Med. 34 (2): 233–42. doi:10.1016/S0891-5849(02)01242-X. PMID 12521605.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อะโลอิน
- "Aloin - MSDS". ScienceLab. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-09. สืบค้นเมื่อ 2016-12-24.