อะเพลกเทลอินโนเซนซ์
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
อะเพลกเทลอินโนเซนซ์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | อาโซโบ สตูดิโอ |
ผู้จัดจำหน่าย | โฟกัส โฮมม์ อินเตอร์แอ็คทีฟ |
กำกับ |
|
อำนวยการผลิต |
|
ออกแบบ | เควิน โชตูร์ |
โปรแกรมเมอร์ | อลัน กูยแยซ |
ศิลปิน | ออลีวีเย พอนซอนเน็น |
เขียนบท | เซบัสเตียง เรนาร์ด |
แต่งเพลง | ออลีวีเย เดลีวีเยร์ |
เครื่องเล่น | |
วางจำหน่าย | วินโดวส์ เพลย์สเตชัน 4 เอกซ์บอกซ์วัน 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 นินเท็นโด สวิตช์เพลย์สเตชัน 5 อกซ์บอกซ์ซีรีย์เอ็กซ์/เอส 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 |
แนว | แอคชั่น-ผจญภัย ลอบเร้น |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
อะเพลกเทลอินโนเซนซ์ (อังกฤษ: A Plague Tale: Innocence) เป็นวิดีโอเกมประเภท แอคชั่น-ผจญภัย สยองขวัญ ลอบเร้น พัฒนาโดยอาโซโบ สตูดิโอและจัดจำหน่ายโดยโฟกัส โฮมม์ อินเตอร์แอ็คทีฟ สำหรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เพลย์สเตชัน 4และเอกซ์บอกซ์วัน วางจำหน่ายในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 และได้รับคำชมแง่บวกจากนักวิจารณ์ส่วนใหญ่
เกมเพลย์
[แก้]ใน อะเพลกเทลอินโนเซนซ์ ผู้เล่นจะได้ควบคุมตัวละครอามิเซีย เดอ รูน (Amicia de Rune) จากมุมมองบุคคลที่สาม โดยเวลาส่วนใหญ่ในเกมแล้ว ผู้เล่นจะต้องทำการลอบเร้นเพื่อเลี่ยงการปะทะกับศัตรู หากถูกจับได้จะถูกฆ่าทันที อามิเซียพกสลิงเป็นอาวุธ ซึ่งสามารถทำให้โซ่ขาด, สร้างเสียงรบกวน หรือทำให้ศัตรูเกิดอาการงงงวยเป็นเวลานานพอที่จะทำให้หนูรุมโจมตีพวกเขา สลิงของเธอยังสามารถใช้สังหารศัตรูได้ด้วยการเล็งที่หัว มันยังสามารถใช้ยิงสิ่งของอย่างอื่นได้เช่นกัน บางชนิดสามารถจุดไฟ, ดับไฟ หรือล่อหนูมายังจุดใดจุดหนึ่ง[1] ตัวเกมประกอบด้วยปริศนาเอาตัวรอดเป็นจำนวนมาก, โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการหาวิธีไล่หรือล่อฝูงหนูเพื่อเข้าสู่บริเวณใหม่ หรือใช้จัดการศัตรู การขับไล่หนูโดยส่วนมากแล้วใช้ไฟเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากหนูในเกมจะไม่เข้าใกล้แสงไฟ อามิเซียยังสามารถประดิษฐ์กระสุนและอุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ได้เช่นกัน รวมไปถึงลูกหินฉาบกำมะถัน ซึ่งสามารถใช้จุดไฟได้, ระเบิดเหม็นซึ่งสามารถดึงดูดฝูงหนูไปยังจุดที่ยิง หรือสารที่มีฤทธิ์ดับไฟซึ่งสามารถใช้โยนใส่คบเพลิงของศัตรู[2] ผู้เล่นยังสามารถสั้งให้ให้ฮิวโก้ (Hugo) น้องชายของอามิเซียกระทำบางอย่างได้ในระหว่างเล่น อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนั้นก็มีความเสี่ยงอยู่ เพราะฮิวโก้อาจจะเริ่มส่งเสียงดังได้หากถูกปล่อยให้อยู่คนเดียวเป็นเวลานาน อันจะเป็นการดึงดูดสิ่งไม่พึงประสงค์ ในช่วงหลังของเกมผู้เล่นสามารถบังคับตัวฮิวโก้ได้ แม้เขาจะไม่สามารถประดิษฐ์สิ่งของ แต่เขาสามารถควบคุมฝูงหนูและเร้นลอดผ่านทางช่องทางเล็ก ๆ ความสามารถทั้งหมดจะถูกนำมารวมกันเมื่อพี่น้องทั้งสองกลับมาพบหน้ากันอีกครั้งในช่วงท้ายเกม
เนื้อเรื่อง
[แก้]เนื้อเรื่องของเกมเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1348 อามิเซีย เดอ รูน เด็กสาวจากตระกูลขุนนางผู้ปกครองดินแดนชนบทในแคว้นอากีแตน ซึ่งถูกกองทัพอังกฤษรุกรานในช่วงสงครามร้อยปี น้องชายของเธอ ฮิวโก้ ป่วยตั้งแต่กำเนิด แม่ของพวกเขา เบียทริซ์ (Béatrice) ซึ่งเป็นนักเล่นแร่ ได้ทำการกักตัวบุตรชายไว้ในคฤหาสน์ประจำตระกูลเป็นเวลาหลายปีเพื่อหาทางรักษา ขณะที่อามิเซียกำลังออกล่าสัตว์ในป่ากับโรเบิร์ต ผู้เป็นบิดา เธอก็ได้พบกับเหตุการณ์ประหลาด และสุนัขล่าสัตว์ก็ถูกฆ่าโดยสิ่งที่มองไม่เห็น พวกเขารีบกลับไปยังคฤหาสน์ แต่ทหารจากศาลศาสนา ซึ่งนำโดยลอร์ดนิโคลัส (Lord Nicholas) ได้มาถึงในเวลไล่เลี่ยกันและทำการค้นคฤหาสน์เพื่อจับตัวฮิวโก้ สังหารโรเบิร์ตและบรรดาข้ารับใช้ เบียทริซ์ช่วยนำทางลูก ๆ ของเธอหนี และกำชับให้อามิเซียพาฮิวโก้ไปหาลอเรนทิสต์ (Laurentius) นายแพทย์ประจำตระกูล ก่อนที่ตัวเธอเองจะถูกฆ่า
อามิเซียและฮิวโก้หลบหนีไปทางหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งพวกเขาได้พบว่าฝูงหนูได้แพร่เชื้อกาฬโรคและคอยกัดกินทุกสิ่งที่ขวางหน้า ทั้งสองต้องหลบหนีผู้คนในหมู่บ้าน ซึ่งเชื่อว่าฮิวโก้เป็นต้นเหตุของโรคระบาด และทหารของศาสนจักร อามิเซียและฮิวโก้เดินทางไปถึงไร่ของลอเรนทิสต์ได้ในที่สุด แต่พวกเขากลับพบว่าตัวลอเรนทิสต์ได้ติดเชื้อกาฬโรคไปแล้ว ลอเรนทิสต์จึงขอให้อามิเซียช่วยสานต่องานวิจัยที่แม่ของเธอทำเอาไว้ เมื่อบ้านของลอเรนทิสต์ถูกหนูบุกเข้ามา อามิเซียและฮิวโก้จึงหนีไปพร้อมกับลูกศิษย์ของเขา ลูคัส (Lucas) เพื่อตามหาปราสาทเงา (Château d'Ombrage) ลึกลับ ระหว่างที่พวกเขากำลังเดินทาง ลูคัสได้อธิบายว่าเลือดของฮิวโก้เป็นพาหะของสิ่งชั่วร้ายเหนือธรรมชาติที่ชื่อว่า พรีมา มาร์คิวลาร์ (Prima Macula) ซึ่งหลับไหลอยูในสายเลือดของตระกูลชนชั้นสูงหลายตระกูลมาตั้งแต่ครั้งโรคระบาดจัสติเนียน เบียทริซ์และลอเรนทิสต์พยายามหาทางรักษาอาการนี้มาเป็นเวลานานแล้ว ในขณะที่ประธานศาลศาสนา (Grand Inquisitor) ไวทาลิส เบเนเวนต์ (Vitalis Bénévent) ต้องการพลังของมัน พวกอามิเซียได้รับการช่วยเหลือจากอาร์เธอร์ (Arthur) และเมลี (Melie) พี่น้องฝาแฝดผู้ประกอบอาชีพเป็นโจร ทุกคนไปถึงปราสาทได้อย่างปลอดภัย ยกเว้นอาร์เธอร์ที่ถูกจับตัวไประหว่างทาง
ลูคัสได้บอกในภายหลังว่าเขาต้องการตำราต้องห้าม แซงจีนุส อิเตอร์เนรา (Sanguinis Itinera) เพื่อผสมตัวยาที่อาจจะอาการรักษาฮิวโก้ได้ให้เสร็จสมบรูณ์ อามิเซียจึงแอบเข้าไปในมหาวิทยาลัยของเมืองใกล้ ๆ เพื่อไปเอาแซงจีนุส อิเตอร์เนรา ในขณะที่เมลีมุ่งหน้าไปช่วยอาร์เธอร์โดยลำพัง อามิเซียสามารถเข้าไปเอาหนังสือได้สำเร็จ และได้ช่วยเหลือช่างตีเหล็กนามว่า รอดริก (Rodric) เขาจึงช่วยเธอหนีออกจากมหาวิทยาลัยนั้นเป็นการตอบแทน อามิเซียกับรอดริกเดินทางกลับปราสาทพร้อมกับอาร์เธอร์และเมลี อาร์เธอร์ได้เปิดเผยว่าเขาเห็นเบียทริซ์ถูกจองจำโดยพวกศาลศาสนา อามิเซียจึงกำชับให้พวกเขาเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ แต่ฮิวโกได้ยินบทสนทนาทั้งหมด ต่อมาอาการของเขาก็แย่ลงอย่างรวดเร็ว อามิเซียและลูคัสจึงจำต้องกลับไปยังฤหาสน์ประจำตระกูลอีกครั้งเพื่อค้นหางานวิจัยของเบียทริซ์และพบห้องวิจัยลับของเธออยู่ใต้ซากโบราณสถานโรมันที่อยู่ใกล้เคียง ลูคัสจึงทำการผสมตัวยาให้เสร็จและรีบนำกลับไปให้ฮิวโก้ดื่ม ยาดังกล่าวช่วยบรรเทาอาการของเขาให้ทุเลาลง แต่ต่อมาฮิวโก้ก็หนีไปมอบตัวกับศาลศาสนาเพื่อตามหาเบียทริซ์ ทำให้อามิเซียรู้สึกผิดอย่างมากที่ปกปิดความจริงจากน้องชาย ขณะเดียวกันไวทาลิสก็ทำการฉีดเลือดของฮิวโกเข้าสู่ร่างของตน เพื่อที่จะสามารถควบคุมพลังของมาร์คิวลาร์ได้ แต่ยาของลูคัสได้ชะลอการกลายพันธ์ของมันให้ช้ากว่าปกติ ต่อมาฮิวโก้ได้หลบหนีจากการถูกคุมขังและพบกับเบียทริซ์อีกครั้ง ซึ่งได้บอกกับฮิวโกว่าพลังของเขาสามารถใช้ควบคุมฝูงหนูได้ แต่ทั้งสองก็ถูกจับอีกครั้ง ไวทาลิสจึงขู่จะเอาชีวิตเบียทริซ์เพื่อเป็นการเร่งให้พลังในตัวฮิวโก้ให้ตื่นขึ้นมา
เดือนมกราคม ค.ศ. 1349 ปราสาทเงาถูกโจมตีโดยฝูงหนูที่นำโดยลอร์ดนิโคลัสและฮิวโก้ ซึ่งโกรธอมิเซียจากการที่เธอปิดบังความจริงเกี่ยวกับเบียทริซ์ นิโคลัสได้สังหารอาร์เธอร์ และสั่งให้ฮิวโกจัดการกับอามิเซีย แต่อามิเซียสามารถดึงสติของฮิวโก้กลับมาได้ และพวกเขาก็ร่วมมือกันจัดการนิโคลัสด้วยฝูงหนู ก่อนที่เขาจะตกลงไปในหลุมเมื่อปราสาทถล่มลงมา พวกอามิเซียจึงตัดสินใจว่าจะใช้ฝูงหนูสู้กับพวกศาลศาสนาและไปช่วยเบียทริซ์ พวกเขาบุกไปยังอาสนวิหารที่พวกไวทาลิสใช้เป็นศูนย์บัญชาการ ระหว่างนั้นรอดริกได้สละชีวิตตนเองเพื่อให้คนอื่นๆ ไปถึงอาสนวิหารได้อย่างปลอดภัย ไวทาลิสได้ทำการเพาะพันธ์หนูที่มีเพียงแต่เขาเท่านั้นที่ควบคุมได้ ฝูงหนูของไวทาลิสและฮิวโก้ต่างเข้าปะทะกัน จนกระทั่งอามิเซียสบโอกาส จึงใช้สลิงของเธอสังหารไวทาลิสเสีย สามวันต่อมา ทั้งหนูและเชื้อกาฬโรคก็หายไป ถึงแม้ชาวบ้านจะยังกลัวฮิวโก้อยู่บ้างก็ตาม เมลีแยกตัวออกจากกลุ่มหลังจากนั้นไม่นาน ส่วนอามิเซีย ฮิวโก ลูคัส และเบียทริซ์ที่มีอาการป่วย ก็ออกเดินทางไปที่ท่าเรือเพื่อหาบ้านแห่งใหม่
การพัฒนา
[แก้]ทีมพัฒนาของเกมนำโดย อาโซโบ สตูดิโอ (Asobo Studio) นับเป็นเกมแรกที่เป็นความคิดริเริ่มของทางทีมงานเอง นับตั้งแต่เกมแข่งรถ ฟิวส์ (Fuel) ในปี 2009 วิธีบรรยายเนื้อเรื่องของเกมได้รับอิทธิพลมาจาก เดอะลาสต์ออฟอัส และ บราเธอร์: อะเทลออฟทูซันส์ แก่นเรื่องหลักของ อะเพลกเทลอินโนเซนซ์ คือ "ครอบครัว" และการพัฒนาความสัมพันธ์ของตัวละครในสถานการณ์คับขัน[3] แก่นเรื่องที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ "ความไร้เดียงสา"[4]โดยเฉพาะฮิวโก้ ซึ่งเฝ้ามองการกระทำของผู้เล่น และจะค่อย ๆ แปรเปลี่ยนจากเด็กไร้เดียงสากลายเป็นคนที่มีจิตใจโหดเหี้ยม[5] นักแสดงเด็ก ชาร์ล็อต แมคเบอร์นี (Charlotte Mcburney) และโลแกน ฮันนา (Logan Hannan) รับหน้าที่พากย์เสียงของอามิเซียและฮิวโก้ตามลำดับ ทั้งสองยังมีส่วนร่วมในการสร้างบทสนทนาของตัวละครด้วยเช่นกัน[6]มีหนูกว่า 5,000 ตัวปรากฏในฉากของเกม เพื่อให้มั่นใจว่าตัวเกมสามารถเร็นเดอร์ ภาพเหล่าศัตรูภายในเกมได้โดยไม่เสียประสิทธิภาพ ทีมงานจึงได้แบ่งการเร็นเดอร์รายละเอียดของหนูออกเป็นสี่ชั้น โดยหนูที่อยู่ไกลจากผู้เล่นจะทำหน้าเป็นพื้นหลัง และไม่ได้รับการลงรายละเอียด ส่วนหนูที่อยู่ใกล้ตัวผู้เล่นจะได้รับการลงรายละเอียดอย่างดี[7]
โฟกัส โฮมม์ อินเตอร์แอ็คทีฟ ผู้จัดจำหน่าย ประกาศเปิดตัวเกมในเดือนมกราคม 2017 ในชื่อ เดอะเพลก[8] ตัวอย่างเกมชิ้นแรกได้ขึ้นแสดงในงาน อี3 2017[9] ตัวเกมได้รับวางจำหน่ายสำหรับ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เพลย์สเตชัน 4 และ เอกซ์บอกซ์วัน ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2019[10]
ผลตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ตามข้อมูลของเว็บไซต์ที่รวบรวมบทวิจารณ์ เมทาคริติก เกมได้รับคะแนน "แง่บวกเป็นสวนใหญ่" จากนักวิจารณ์[11][12]มันขึ้นแท่นเกมขายดีอันดับที่เก้าในสหราชอาณาจักรทันทีในสัปดาห์ที่วางจำหน่าย[23]
รางวัล
[แก้]ปี | รางวัล | สาขา | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2019 | โกลเดนจอยสติ๊กอวอร์ด 2019 | งานเสียงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | [24] |
ไททาเนียมอวอร์ด | เกมแห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง | [25] | |
งานศิลป์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การออกแบบเกมยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การบรรยายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
เกมผจญภัยยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
เดอะเกมส์อวอร์ด 2019 | การบรรยายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | [26] | |
สตีมอวอร์ด | เกมเนื้อเรื่องลุ่มลึก | ชนะ | [27] | |
2020 | นิวยอร์กเกมส์อวอร์ด | เกมแห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง | [28] |
เกมอินดี้ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การเขียนบทยอดเยิ่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นาฟจีทีอาร์อวอร์ด | แอนิเมชัน สาขางานศิลป์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [29][30] | |
แอนิเมชัน สาขาเทคนิก | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การกำกับงานศิลป์ สาขาอิทธิพลย้อนยุค | ชนะ | |||
มุมกล้องในเอนจินเกม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การออกแบบการควบคุม สาขางานสามมิติ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การออกแบบเครื่องแต่งกายตัวละคร | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การกำกับภาพยนตร์ในเกม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การออกแบบเกมเพลย์ สาขาทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ (New IP) | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
เกมแนวผจญภัยความคิดริเริ่ม | ชนะ | |||
แสงเงา/พื้นผิว | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
บทเนื้อเรื่อง สาขาทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ (New IP) | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
ประสิทธิภาพการแสดง สาขาตัวละครหลัก (ชาร์ล็อต แมคเบอร์นี) | ชนะ | |||
ประสิทธิภาพการแสดง สาขาตัวละครรอง (เอเดน เฮย์ฮาสต์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
ประสิทธิภาพการแสดง สาขาตัวละครรอง (ทาบิทาร์ รูเบ็นส์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การตัดต่อเสียง สาขาภาพยนตร์ในเกม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
เอฟเฟคเสียง | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การใช้เสียง สาขาทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ (New IP) | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
การวางโครงเนื้อเรื่อง | ชนะ | |||
เพกาซัสอวอร์ด 2020 | เกมยอดเยี่ยม | ชนะ | [31][32] | |
ออกแบบงานศิลป์ยอดเยี่ยม | ชนะ | |||
ออกแบบงานเสียงยอดเยี่ยม | ชนะ | |||
ออกแบบการบรรยายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
ออกแบบเกมยอดเยี่ยม | ชนะ | |||
ฉากหลังยอดเยี่ยม | ชนะ | |||
ตัวละครยอดเยี่ยม | ชนะ | |||
เอสเอ็กซ์เอสดับบลิวเกมมิงอวอร์ด | การบรรยายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | [33] | |
บริติชอคาร์เดมีเกมอวอร์ด ครั้งที่ 16 | ความสำเร็จทางเทคนิค | เสนอชื่อเข้าชิง | [34] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Delahunty-Light, Zoe (22 March 2019). "A Plague Tale: Innocence is here to make you realise how much we've become used to death in video games". เกมส์เรดาร์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Favis, Elise (28 April 2019). "Watch Eight Minutes Of New Gameplay From A Plague Tale: Innocence". เกมส์อินฟอร์มเมอร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Valdes, Giancarlo (28 June 2018). "How 'A Plague Tale: Innocence' Makes Diseased Rats So Terrifying". วาไรตี้. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Ramée, Jordan (25 January 2019). "Survive The Black Death In A Plague Tale: Innocence, Coming This May". เกมสปอต. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Delahunty-Light, Zoe (February 16, 2018). "A Plague Tale: Innocence will have up to 5,000 man-eating rats simultaneously on screen... but you're the real monster here". เกมส์เรดาร์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Chalk, Andy (25 January 2019). "A Plague Tale: Innocence video tells a tale of orphans in the time of the Black Death". พีซีเกมเมอร์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Belzanne, Auerlie (9 May 2019). "Asobo Studio details the tech behind getting thousands of vermin on screen simultaneously". เพลย์สเตชันบล็อก. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Foxell, Sam (7 January 2017). "Focus Home Interactive and Asobo Studios collaborate on new adventure game, The Plague". พีซีเกมส์เอ็น. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ O'Connor, Alice (22 August 2018). "A Plague Tale: Innocence does indeed look like that one game with the brilliant rats". Rock, Paper, Shotgun (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.
- ↑ Reiner, Andrew (24 January 2019). "A Plague Tale: Innocence Launches This May". เกมส์อินฟอร์มเมอร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-08. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ 11.0 11.1 "A Plague Tale: Innocence for PC Reviews". เมทาคริติก. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
- ↑ 12.0 12.1 "A Plague Tale: Innocence for PlayStation 4 Reviews". เมทาคริติก. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
- ↑ "A Plague Tale: Innocence for Xbox One Reviews". เมทาคริติก. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Moyse, Chris (20 May 2019). "Review: A Plague Tale - Innocence". เดสทรักทอยด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 22 May 2019.
- ↑ Agnew, Callum (14 May 2019). "A Plague Tale: Innocence Review | Oh, cruel world!". เกมเรโวลูชัน. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
- ↑ Khee Hoon Chan (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence Review - A Sea Of Putrid Rats". เกมสปอต. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 27 May 2019.
- ↑ Zoe Delahunty-Light (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence review: "There are glimmers of something special"". เกมส์เรดาร์พลัส. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Petite, Steven (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence Review". ไอจีเอ็น. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Carnbee (14 May 2019). "Test de A Plague Tale : Innocence par jeuxvideo.com". Jeuxvideo.com. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Chris J Capel (14 May 2019). "A Plague Tale: Innocence review – you'll want to catch this one". พีซีเกมส์เอ็น. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
- ↑ Burks, Robin (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence Review - Heart Pounding and Emotional". สกรีนเร็นต์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
- ↑ Lowry, Brendan (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence PC review: A gripping stealth title that will keep you glued to your seat". วินโดวส์เซ็นทรัล. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
- ↑ Dring, Christopher (20 May 2019). "UK Charts: Rage 2 is No.1 but fails to match original". GamesIndustry.biz. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
- ↑ Tailby, Stephen (20 September 2019). "Days Gone Rides Off with Three Nominations in This Year's Golden Joystick Awards". Push Square. สืบค้นเมื่อ 20 November 2019.
- ↑ "Titanium Awards 2019". Fun & Serious Game Festival. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2019. สืบค้นเมื่อ 21 November 2019.
- ↑ Winslow, Jeremy (November 19, 2019). "The Game Awards 2019 Nominees Full List". เกมสปอต. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 20 November 2019.
- ↑ Watts, Steve (31 December 2019). "Steam Awards 2019 Winners Announced". เกมสปอต. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ.
- ↑ Sheehan, Gavin (2 January 2020). "The New York Game Awards Announces 2020 Nominees". บลีดดิ้งคูล. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
- ↑ "2019 Nominees". เนชั่นแนลอคาร์เดมีอออฟวีดิโอเกมเทรด์รีวิวเวอร์. 13 January 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
- ↑ "2019 Winners". เนชั่นแนลอคาร์เดมีอออฟวีดิโอเกมเทรด์รีวิวเวอร์. 24 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
- ↑ "All the categories (2020)". เพกาซัสอวอร์ด. 7 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-03. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
- ↑ "Pégases 2020 : La liste des vainqueurs par catégorie". Jeuxvideo.com (ภาษาฝรั่งเศส). 10 March 2020. สืบค้นเมื่อ 10 March 2020.
- ↑ Grayshadow (17 February 2020). "2020 SXSW Gaming Awards Nominees Revealed". NoobFeed. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
- ↑ Stuart, Keith (3 March 2020). "Death Stranding and Control dominate Bafta games awards nominations". เดอะการ์เดียน. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2020-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2562
- วิดีโอเกมแอ็กชันผจญภัย
- บันเทิงคดีเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ
- เกมของโฟกัส โฮมม์ อินเตอร์แอ็คทีฟ
- ศาลศาสนาในบันเทิงคดี
- เกมสำหรับเพลย์สเตชัน 4
- วิดีโอเกมผู้เล่นเดี่ยว
- วิดีโอเกมลอบเร้น
- วิดีโอเกมเกี่ยวกับไวรัสระบาด
- วิดีโอเกมที่พัฒนาขึ้นในประเทศฝรั่งเศส
- วิดีโอเกมที่มีตัวละครเอกหญิง
- วิดีโอเกมที่มีฉากในประเทศฝรั่งเศส
- วิดีโอเกมที่มีฉากในคริสต์ศตวรรษที่ 14
- วิดีโอเกมที่มีฉากในสมัยกลาง
- เกมสำหรับวินโดวส์
- เกมสำหรับเอกซ์บอกซ์วัน