ข้ามไปเนื้อหา

อะลิฟค็อนญะรียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ــٰ
ยาอ์มักศูเราะฮ์ ที่มี อะลิฟค็อนญะรียะฮ์ กำกับอยู่ข้างบน

อะลิฟค็อนญะรียะฮ์ (อาหรับ: ألف خنجرية), อะลิฟรูปกริช (อังกฤษ: dagger alif) หรือ อะลิฟตัวยก (อังกฤษ: superscript alif) คือเครื่องหมายเสริมสัทอักษรที่เขียนเป็นเส้นแนวตั้งสั้น ๆ เหนืออักษรอาหรับ โดยใช้แทนเสียง /aː/ ในบริบทที่โดยปกติไม่เขียนด้วย อะลิฟ เช่น هَٰذَا (ฮาษา) หรือ رَحْمَٰن (เราะห์มาน) อะลิฟค็อนญะรียะฮ์ ปรากฏในคำสมัยใหม่เพียงไม่กี่คำ แต่คำบางคำในจำนวนนั้นก็เป็นคำที่พบบ่อย อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายนี้ก็ปรากฏไม่บ่อยนักแม้แต่ในข้อความที่แสดงเครื่องหมายสระอย่างเต็มรูปแบบยกเว้นในอัลกุรอาน[1][2] แป้นพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่มี อะลิฟค็อนญะรียะฮ์ คำว่า (อัลลอฮ์) มักปรากฏขึ้นโดยอัตโนมัติด้วยการพิมพ์ "อะลิฟ ลาม ลาม ฮาอ์" โดยคำนี้ประกอบด้วย อะลิฟ + ตัวแฝดของลามกับ ชัดดะฮ์ และ อะลิฟค็อนญะรียะฮ์ เหนือ ลาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Alhawary, Mohammad T. (2011). Modern standard Arabic grammar: a learner's guide. Wiley-Blackwell. pp. 17–18. ISBN 978-1-4051-5501-4.
  2. Ryding, Karin C. (2005). A Reference Grammar of Modern Standard Arabic. Cambridge University Press. p. 28.