ข้ามไปเนื้อหา

อะชิการุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อะชิการุ

[แก้]

ชาวนาทหาร หรือ พวกอะชิการุ เป็นกำลังเสริมที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อแม่ทัพ แม้ความเชื่อฟังและฝีมือของพวกเขาจะยังห่างไกลจากความต้องการก็ตาม พวกอะชิการุมีชื่อในทางการปล้นชิงและจริยธรรมของพวกเขาก็ด้อยกว่าพวกซามูไรที่แท้จริง แต่ในสงครามที่เกิดขึ้นตามมา ไดเมียวทุกๆคนใช้กองกำลังอะชิการุอย่างเต็มที่เพื่อสนับสนุนนักรบซามูไรของพวกเขา พวกอะชิการุกลายเป็นแหล่งของกำลังทางการทหารที่ขาดเสียมิได้และราคาถูกอย่างยิ่ง พวกอะชิการุเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและในการสงครามของญี่ปุ่นในยุคนั้น พวกเขาเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเรียกว่า เกะโคคุโจ หรือ “เบื้องล่าง กดดันเบื้องสูง”

การเป็นทหารคือหนทางในการหลบเลี่ยงพวกนายภาษีอย่างหนึ่งของพวกชาวนา คือหนีไปร่วมกับกองทัพของไดเมียวคนใดคนหนึ่ง และสิ่งที่ต้องใช้ก็แค่เกราะและอาวุธซึ่งก็หาได้ง่ายๆ เพราะสงครามหลายๆ ปีที่ผ่านมาทำให้ญี่ปุ่นเต็มไปด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์ โอกาสที่จะหนีไปจากชั้นชาวนาแม้จะเลือนลางแต่ก็มีอยู่ และยังมีสมบัติอีกมากมายให้ปล้นชิง

แต่เมื่อถูกกดดันด้วยบรรยากาศแห่งสงคราม พวกอะชิการุมักเกิดอาการหวั่นไหวและหวาดกลัว แม่ทัพที่ดีจะไม่วางกองกำลังอะชิการุไว้ในตำแหน่งสำคัญของการรบใดๆ และต้องให้มีกองทหารอื่นคอยหนุนอยู่ข้าง หลังเพื่อช่วยปลุกขวัญกำลังใจ ช่วยเป็นจุดสำหรับรวมพลใหม่ หรืออาจแค่คอยจ้องฆ่าหากพวกอะชิการุคิดจะหนี


การแต่งกายของอะชิการุ

[แก้]

ทหารอะชิการุมักจะได้รับเกราะที่ได้มาตรฐานและอาวุธจากตระกูลที่พวกเขารับใช้ (อะชิการุจะต้องหาดาบใช้เอง) และการที่จะทำให้เกราะของพวกเขามีสีเดียวกันเพื่อมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ โดยมักจะใช้การลงน้ำมันชักเงาสี บนแผ่นเหล็กและจะมีการเพ้นท์ภาพมอนตราประจำตระกูลไว้ที่หน้าอกและด้านหลัง แม้เกราะของอะชิการุจะใช้วัสดุราคาถูกกว่าเกราะซามูไรอย่างมาก แต่มันก็เป็นส่วนผสมที่ลงตัวที่ให้ทั้งการป้องกันตัวและการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วเหนือกว่ากองทัพชาวนาในยุโรปในยุคเดียวกันอย่างมาก

หมวกของอะชิการุแทบทั้งหมดจะเป็นรูปกรวยเตี้ยๆที่เรียกว่า จิงกาสะ อันเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของพวกอะชิการุ ซึ่งสามารถใช้หงายขึ้นเหนือไฟเป็นอุปกรณ์หุงข้าวได้อีกด้วย

อาวุธหลักของอะชิการุ

[แก้]

อาวุธหลักของอะชิการุคือยาริ(หอกยาว)เพราะว่าการฝึกหัดนั้นง่ายกว่าการใช้ดาบมาก เพียงแค่หันชี้ไปที่เป้าหมายเท่านั้น แถมยังมีราคาถูกกว่าดาบมาก ยาริที่ใช้โดยทหารหอกของตระกูลโอดะจะ ยาวกว่า 5 เมตร ส่วนหนึ่งก็เพื่อใช้เป็น”โล่กำบัง”ให้กับกองปืนคาบศิลา ซึ่งต้องการ สหายศึกที่จะหยุดยั้งศัตรูขณะที่พวกเขาบรรจุกระสุนใหม่ ขณะที่ยุคเซ็นโกคุดำเนินไป อะชิการุยิ่งเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในกองทัพของทุกๆ ตระกูล ในระดับหนึ่ง นี่เป็นเรื่องที่ไม่ อาจหลีกเลี่ยง แค่ความต้องการนักรบหมายความว่าซามูไรจะต้องมีกำลังหนุนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี ซามูไรไม่เคย เข้าสนามรบตามลำพัง ตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม ซามูไรแต่ละคนจะมีผู้รับใช้สองคน (เกะนิน หรือโชจู) ซึ่งจะเป็นเหมือน “ทีมช่วยเหลือ” ที่คอยช่วยนำอาวุธชนิดที่ถูกต้องมาให้ในเวลาที่เหมาะสม ลำเลียงลูกธนูมาให้เพิ่ม หรือแม้แต่ช่วยนับสมบัติที่ยึดได้

อะชิการุและปืนคาบศิลา

[แก้]

การฝึกพลธนูต้องใช้เวลานับปีๆ ในการฝึกฝนอย่างหนัก แต่การฝึกใช้ปืนคาบศิลาใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน พวกอะชิการุเป็นกลุ่มทหารในทุกๆ กองทัพที่พร้อมและใช้อาวุธยิงระยะไกลนี้ อาวุธปืนถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงก็เมื่อมันถูกใช้เป็นจำนวนมากๆ ในหมู่อะชิการุ ในภาษาสมัยใหม่ก็คือ อาวุธปืนคาบศิลาจำนวนมากสามารถจะอุดจุดอ่อนของปืนเดี่ยวๆได้โดยการทำให้มันกลายเป็นระบบอาวุธ หากอาวุธปืนถูกใช้ ยิงพร้อมๆ กันในปริมาณมากๆพร้อมกัน หรือการยิงแบบวัลเลย์ กองปืนขนาดใหญ่จะสามารถเอาชนะความไร้ประสิทธิภาพ ของปืนคาบศิลาที่ขาดความแม่นยำอย่างยิ่ง และอัตราการยิงที่ช้า ถ้าโชคดีพอก็สามารถจะยิงได้ถึง สามนัดในหนึ่งนาที แต่โดยทั่วไปแล้วอัตราการยิงพร้อมๆ กันจะเป็นเพียง 2 นัดต่อนาที และในช่องว่างนั้น ขณะที่ พวกอะชิการุกำลังง่วนอยู่กับการบรรจุกระสุนใหม่ นักรบฝ่ายข้าศึกก็สามารถเข้าถึงตัวและทำการรบประชิด และปืนคาบ ศิลาที่ยังไม่ได้บรรจุกระสุนก็คือดุ้นเหล็กหนักๆดีๆนี่เอง ไดเมียวทั้งหมดบรรจุกองปืนคาบศิลาอะชิการุไว้ในกองทัพ แต่ปกติแล้วทุกคนในกองปืนจะยิงพร้อมๆ กัน ซึ่งให้อำนาจ การทำลายล้างที่รุนแรง แต่นั่นก็หมายถึงว่ากองปืนจะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิงในช่วงเวลาที่พลปืนบรรจุกระสุนนัดใหม่ ในทาง ตรงกันข้าม โนบุนางะให้พลปืนเพียงบางส่วนยิงในแต่ละครั้ง การยิงแบบวัลเลย์เป็นยุทธวิธีแบบใหม่ในการรบ ด้วยการให ้ทหารยิงทีละแถวหรือทีละส่วน โนบุนางะสามารถให้กองปืนยิงใส่ศัตรูได้อย่างสม่ำเสมอและไม่ขาดตอน ทำให้การเข้าประชิด กองทหารของเขาเป็นเรื่องเสี่ยงชีวิต เพราะพวกอะชิการุพลปืนจะยิงมาได้เรื่อยๆโดยไม่มีการหยุดชะงัก

โอดะ โนบุนางะ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ประสบความในการดึงศักยภาพของอะชิการุออกมาได้มากที่สุด เขามักจะนำอะชิการุเข้ามาประจำการในกองทัพเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้กองทัพของเขามีขนาดใหญ่มาก และยังได้ติดอาวุธปืนคาบศิลาเป็นจำนวนมากสำหรับกองทหารชนิดนี้ด้วย อะชิการุจำนวนมากรวมทั้งการฝึกที่เข้มงวด ส่งผลให้อะชิการุของตระกูลโอดะ มีระเบียบวินัยและและเป็นที่ครั่นคร้ามทัดเทียมกับพวกซามูไรทีเดียว และพวกเขายังได้แสดงฝีมือโดยการพิชิตกองทัพม้าอันเลื่องชื่อของทาเคดะในการรบที่นางาชิโนะให้เป็นที่ประจักษ์อีกด้วย

การรบที่นางาชิโนะ

[แก้]

ตระกูลทาเคดะจะถูกพิชิตอย่างสิ้นเชิงในปี 1575 ทาเคดะ คัตสึโยริ นำทัพล้อม ปราสาทนางาชิโนะ แต่ทหารฝ่ายโอดะตั้งรับอย่างเหนียวแน่น โนบุนางะเล็งเห็นว่าพื้นดินที่สูงๆ ต่ำๆ น่าจะเป็นโอกาสที่จะบดขยี้ตระกูลทาเคดะ และเขาคิดถูก ในการรบที่นางาชิโนะที่ตามมา เป็นชัยชนะของโอดะ โนบุนางะ และกองปืนคาบศิลา โนบุนางะจัดกำลังพลปืนชั้นยอด 3000 คนเข้าเป็นกองเดียว แล้ววางกำลังไว้เป็นสามแถวหลังแนวขวากไม้ เมื่อพวกทาเคดะชาร์จผ่านสนามรบที่เจิ่งไปด้วยน้ำ กระสุนปืนที่ระเบิดขึ้นทุกๆ 20 วินาทีก็ฉีกพวกเขาออกเป็นชิ้นๆ คนที่รอดจากห่ากระสุนไปได้ก็ถูกรุมสับด้วยทหารหน่วยอื่นๆ ของโนบุนากะ