ออริเจน
หน้าตา
ออริเจน | |
---|---|
เกิด | ค.ศ. 184/5 อะเล็กซานเดรีย จักรวรรดิโรมัน |
เสียชีวิต | ค.ศ. 253/4 ไทร์ จักรวรรดิโรมัน |
สำนัก | ศาสนาคริสต์ |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
เป็นอิทธิพลต่อ
|
ออริเจน (อังกฤษ: Origen /ˈɒrɪdʒən/; กรีก: Ὠριγένης, Ōrigénēs)[1] เป็นนักพรตและนักเทววิทยาชาวอะเล็กซานเดรีย[2] ผู้มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผลงานของเขาแสดงถึงการวิจารณ์ตัวบท นัยวิเคราะห์คัมภีร์ไบเบิล อรรถปริวรรตศาสตร์ ปรัชญา และการใช้ชีวิตทางศาสนา และถือเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อวิถีพรตนิยมในศาสนาคริสต์ยุคแรก[2][3]
ออริเจนไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญอย่างปิตาจารย์ท่านอื่น ๆ เพราะคำสอนบางอย่างของเขาขัดกับคำสอนของเปาโลอัครทูตและยอห์นอัครทูต เช่น สอนว่าวิญญาณมีอยู่ก่อนการปฏิสนธิ สิ่งสร้างทั้งหมด (อาจรวมถึงปีศาจ) จะคืนดีกับพระเป็นเจ้าในวาระสุดท้าย[4] พระบุตรมีสถานะต่ำกว่าพระเจ้าพระบิดา เป็นต้น ซึ่งคำสอนเหล่านี้ศาสนาคริสต์กระแสหลักไม่ยอมรับ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The New Catholic Encyclopedia (Detroit: Gale, 2003). ISBN 978-0-7876-4004-0
- ↑ 2.0 2.1 Richard Finn (2009). Origen and his ascetic legacy, in: Asceticism in the Graeco-Roman World. Cambridge University Press. pp. 100–130.
- ↑ John Anthony McGuckin (2004). The Westminster Handbook to Origen. Westminster John Knox Press. p. 64. ISBN 978-0-664-22472-1.
- ↑ Patrides, C. A. (October–December 1967). "The salvation of Satan". Journal of the History of Ideas. 28 (4): 467–478. doi:10.2307/2708524. JSTOR 2708524. reprinted in Patrides, C. A. (1982) [1967]. "'A principle of infinite love': The salvation of Satan". Premises and motifs in Renaissance literature. Journal of the History of Ideas. Vol. 28. Princeton, New Jersey: Princeton University Press. pp. 467–478. doi:10.2307/2708524. JSTOR 2708524.