แอลัน ทัวริง
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
แอลัน ทัวริง | |
---|---|
![]() ทัวริงในปี 1951 | |
เกิด | 23 มิถุนายน ค.ศ. 1912 ไมดาเวล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ |
เสียชีวิต | 7 มิถุนายน ค.ศ. 1954 วิล์มสโลว์ เชชเชอร์ ประเทศอังกฤษ | (41 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | การเป็นพิษจากไซยาไนด์ |
สุสาน | อัฐิโปรยใกล้กับ ณาปนสถานโวกกิง[1] |
การศึกษา | โรงเรียนเชอร์เบิร์น[2] |
ศิษย์เก่า |
|
มีชื่อเสียงจาก | |
รางวัล | รางวัลสมิธ (1936) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | |
สถาบันที่ทำงาน | |
วิทยานิพนธ์ | Systems of Logic Based on Ordinals (1938) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | อลอนโซ เชิร์ช[4] |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | โรบิน แกนดี้[4][5] |
มีอิทธิพลต่อ | แมกซ์ นิวแมน[6] |
ลายมือชื่อ | |
![]() |
แอลัน แมธิสัน ทัวริง (อังกฤษ: Alan Mathison Turing; 23 มิถุนายน ค.ศ. 1912 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 1954) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักตรรกศาสตร์นักรหัสวิทยา นักปรัชญา นักชีววิทยาเชิงทฤษฎีและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ เขาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์
เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุก ๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม ฮัต 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องเอนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ ซึ่งประมาณกันว่าเขาสามารถย่นเวลาสงครามได้ถึง 2 ปี
หลังสงครามสิ้นสุดลง เขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรก ๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริง ๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริงได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้
นอกจากนั้นแล้ว การทดสอบของทัวริงที่เขาได้เสนอนั้นมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่องปัญญาประดิษฐ์ แต่มีข้อถกเถียงว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักรนั้นมีสำนึกและสามารถคิดได้
ประวัติ
[แก้]แอลัน ทัวริงเป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1912 ที่ลอนดอน และอาศัยอยู่กับพี่ชาย บิดาและมารดาของทัวริงพบกันและทำงานที่ประเทศอินเดีย
ในสมัยมัธยม ทัวริงสนิทและนับถือรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อ คริสโตเฟอร์ มอร์คอม (Christopher Morcom) ซึ่งเสียชีวิตไปเสียก่อน ทัวริงเสียใจมากจึงตั้งใจสานต่อสิ่งที่รุ่นพี่เขาอยากทำให้สำเร็จ ตลอดสามปีหลังจากนั้น เขาเขียนจดหมายอย่างสม่ำเสมอให้คุณแม่ของมอร์คอม ว่าเขาคิดและสงสัยเรื่องความคิดของคนว่าไปจับจดอยู่ในเรื่องหนึ่ง ๆ ได้อย่างไร (how the human mind was embodied in matter) และปล่อยเรื่องนั้น ๆ ออกไปได้อย่างไร (whether accordingly it could be released from matter) แล้ววันหนึ่งเขาก็ไปเจอหนังสือดังในยุคนั้นชื่อ "The Nature of the Physical World" อ่านไปก็เกิดนึกไปเองว่าทฤษฏีกลศาสตร์ควอนตัมมันต้องเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง mind and matter ที่เขาคิดอยู่
การเสียชีวิต
[แก้]วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1954 ทัวริงถูกพบเสียชีวิตในบ้านพัก ขณะอายุ 41 ปี หลังการชันสูตรพบว่าเขารับสารไซยาไนด์ในปริมาณที่เป็นพิษถึงชีวิต แต่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครทราบเหตุผลที่ทำให้เขาเสียชีวิต บ้างว่าเขาฆ่าตัวตายเพราะแรงกดดันจากข้อหารักร่วมเพศและการถูกฉีดยาลดความต้องการทางเพศ บ้างก็ว่าเขารับไซยาไนด์โดยบังเอิญเพราะเป็นสารเคมีที่เขาใช้ในการทำงาน บ้างก็ว่าเขาถูกลอบสังหารเพื่อป้องกันความลับของรัฐบาลรั่วไหล[7]
ล้างมลทิน
[แก้]ใน ค.ศ.2013 เขาได้รับพระราชทานอภัยโทษหลังการเสียชีวิตจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และอังกฤษได้บังคับใช้กฎหมายลดทอนความเป็นอาชญากรรมของการรักร่วมเพศระหว่างผู้ชาย หรือ "กฎหมายของทัวริง" (Turing's Law) ซึ่งส่งผลให้ชายที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามกฎหมายรักร่วมเพศที่ถูกยกเลิกไปก่อนหน้านี้ ทั้งผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ พ้นจากความผิด โดยจะได้รับการล้างมลทินและข้อหาดังกล่าวจะถูกลบออกจากประวัติอาชญากรรม[8]
สันนิษฐานเกี่ยวกับการเสียชีวิต
[แก้]มีการสันนิษฐานว่าแอลัน ทัวริงได้ทำการฆ่าตัวตาย ได้สันนิษฐานได้หลายสาเหตุ ว่าจะมาจากการหนักใจเรื่องการรักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน ที่รัฐบาลอังกฤษได้สั่งให้ทำการรักษาเพื่อไม่ให้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศแทนการจำคุก และยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งคือ อาจจะเกิดการฆาตกรรมเนื่องจากรักษาความปลอดภัยความลับทางทหารเกี่ยวกับภารกิจเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พบอยู่ภายในห้องนอนของเขาคือผลแอปเปิลที่ถูกกัดแหว่ง ได้ทำการคาดเดาว่าการตายโดยแอปเปิลของทัวริงไม่จำเป็นต้องมีเจตนา หรืออาจจะเจตนา จากการตรวจพบสารไซยาไนด์บนผลแอปเปิล หรืออีกสาเหตุหนึ่งคือการวางผลแอปเปิ้ลโดนสารไซยาไนด์ในห้องทดลองของเขาแล้วเผลอรับประทานเข้าไป แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปการเสียชีวิตของแอลัน ทัวริงได้[9]
การศึกษาและงาน
[แก้]ใน ค.ศ. 1931 เขาเข้าเรียนคณิตศาสตร์ที่คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งในช่วงเวลานั้น คิงส์คอลเลจเป็นที่พักชายล้วน และทัวริงก็อยู่อย่างเปิดเผยว่าเขาเป็นเกย์ และเข้าร่วมกิจกรรมชมรม ทัวริงมีความสุขกับชีวิตที่นี่มากและทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น พายเรือ เรือใบเล็ก และวิ่งแข่ง ทัวริงพูดเสมอว่า "งานของผมนั้นเครียดมาก และทางเดียวที่ผมจะเอามันออกไปจากหัวได้ก็คือ วิ่งให้เต็มที่" และเขาก็วิ่งอย่างจริงจัง โดยที่ผลการวิ่งมาราธอนของเขา ชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมนักกรีฑาสมัครเล่น ด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 43 นาที 3 วินาที ใน ค.ศ. 1946 ซึ่งในการแข่งขันวิ่งมาราธอนโอลิมปิก เมื่อ ค.ศ. 1948 คนที่ได้เหรียญทอง ทำเวลาได้เร็วกว่าเขาเพียง 11 นาที
ใน ค.ศ. 1933 ทัวริงได้พบกับเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และได้พูดคุยในหัวข้อความสามารถในการพิสูจน์สมมติฐานหรือประพจน์ในทางคณิตศาสตร์อย่างมีรูปแบบ (formalism) ซึ่งในวงการคณิตศาสตร์ขณะนั้น เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์เสนอไว้ว่าสัจจะในคณิตศาสตร์สามารถถูกจัดอย่างเป็นรูปแบบใด ๆ ได้ ("mathematical truth could be captured by any formalism") แต่ในทางตรงกันข้าม คูร์ท เกอเดิลโต้ด้วยการเผยแพร่ ความไม่สมบูรณ์ของคณิตศาสตร์: ประพจน์จริงเกี่ยวกับตัวเลขที่ไม่สามารถพิสูจน์ด้วยการประยุกต์ชุดกฎการลดทอน ("the incompleteness of mathematics: the existence of true statements about numbers which could not be proved by the formal application of set rules of deduction")
ใน ค.ศ. 1934 ทัวริงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มหาวิทยาลัยจึงเชิญเขาอยู่เป็น สมาชิกวิจัยด้านคณิตศาสตร์ต่อ ค.ศ. 1935 ทัวริงศึกษาร่วมกับจอห์น ฟอน นอยมันน์ ในหัวข้อปัญหาการตัดสินใจ (Entscheidungs problem) ที่ถามว่า มีวิธีทางหรือกระบวนการที่สามารถตัดสินใจว่าข้อกล่าวอ้างทางคณิตศาสตร์หนึ่งใด ๆ สามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ ("Could there exist, at least in principle, a definite method or process by which it could be decided whether any given mathematical assertion was provable?") ทัวริงจึงวิเคราะห์ว่า คนเราทำอย่างไรเวลาทำงานที่เป็นกระบวนการที่มีกฎเกณฑ์ (methodical process) แล้วก็นึกต่อว่า วางกรอบว่าให้เป็นอะไรซักอย่างที่สามารถทำได้อย่างเป็นกลไก (mechanically) เขาจึงเสนอทฤษฏีออกมาเป็น "The analysis in terms of a theoretical machine able to perform certain precisely defined elementary operations on symbols on paper tape". โดยยกเรื่องที่เขาคิดมาตั้งแต่เด็กว่า 'สถานะความคิด' (state of mind) ของคน ในการทำกระบวนการทางความคิด มันเกี่ยวกับการเก็บ และเปลี่ยนสถานะจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนี่ง ได้ตามการกระทำทางความคิด โดยทัวริงเรียกสิ่งนี้ว่า คำสั่งตรรกะ (logical instructions) แล้วก็บอกว่าการทำงานต้องมี กฎเกณฑ์ที่แน่นอน (definite method; ต่อมาเรียกว่าขั้นตอนวิธี)
เมื่อ ค.ศ. 1936 เขาเตรียมเผยแพร่บทความวิชาการที่มืชื่อเสียง "On Computable Numbers with an application to the Entscheidungsproblem" (ว่าด้วยตัวเลขที่สามารถคำนวณได้และการประยุกต์สำหรับปัญหาการตัดสินใจ) แต่ก่อนเขาจะเผยแพร่บทความนี้ มีอีกงานของฝั่งอเมริกาของอะลอนโซ เชิร์ชออกมาทำนองคล้าย ๆ กัน เขาเลยถูกบังคับให้เขียนอิงบทความของเชิร์ชด้วย (เพราะบทความของเขาเผยแพร่ภายหลัง) แต่ต่อมาเมื่อบทความเขาเผยแพร่ออกมา มักถูกมองว่าเนื้อหาของบทความของเชิร์ชและทัวริงเป็นคนละทฤษฏีกันและของทัวริงมีเนื้อหาที่อ้างบนสมมติฐานภายในคณิตศาสตร์ที่แม่นกว่า การเน้นเรื่อง operation ใน physical world (ยุคต่อมาคนก็เลยนำแนวคิดของเขาไปประยุกต์ใช้และให้เกียรติว่า เครื่องทัวริง จึงเป็นที่มาของการยกย่องให้ทัวริงเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์) ปลายปีนั้นเองเขาก็ได้รับรางวัลสมิธ (Smith's Prize) ไปครอง
ต่อมา เขาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ซึ่งสงบเงียบตัดห่างจากผู้คน แล้วก็ออกบทความว่า โลกทางความคิดกับโลกทางกายมันเชื่อมถึงกันได้ ผ่านออกมาด้วยการกระทำ ซึ่งขัดกับแนวคิดของผู้คนส่วนใหญ่ในยุคนั้น และเสนอความคิดออกมาเป็นเครื่องทัวริง (Universal Turing Machine) ในยุคนั้นยังไม่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ แต่เรียกว่าเป็นเครื่องคำนวณที่สามารถป้อนข้อมูลได้ ต่อมาทัวริงจึงสร้างเครื่องเข้ารหัส (cipher machine) โดยใช้รีเลย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับการคูณเลขฐานสอง หลังจากสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันจึงเสนอตำแหน่งให้เขา แต่เขาตัดสินใจกลับไปที่เคมบริดจ์ โดยทิ้งทีมของเขา และมีจอห์น ฟอน นอยมันน์เข้ามาสานต่อ
ส่วนตัว ทัวริงก็เลือกไปทำงานด้าน 'ordinal logic' ต่อแทน เพราะเขาบอกว่าเป็น "my most difficult and deepest mathematical work, was an attempt to bring some kind of order to the realm of the uncomputable" เพราะทัวริงเชื่อว่าคนเรา โดยสัญชาตญาณสามารถตอบโต้ต่อเหตุการณ์ได้โดยไม่ต้องคำนวณ ("Human 'intuition' could correspond to uncomputable steps in an argument") แต่งานยังไม่เสร็จ ก็มีสงครามโลกครั้งที่สองเสียก่อน คือก่อนหน้านั้นเขาก็ทำงาน (อย่างเป็นความลับ) ให้กับ British Cryptanalytic department (หรือเรียกกันว่า Government code & cypher school) พอสงครามเริ่มเขาเลยเปิดเผยตัวเอง (ปกติจะทำเป็น fellow ที่คิงส์คอลเลจ เคมบริดจ์ อยู่หน้าฉากงานเดียว) เลยออกย้ายไปทำงานที่ the wartime cryptanalytic headquaters, Bletchley Park เป้าหมายคือเจาะรหัสของเครื่องเข้ารหัสเอนิกมา (Enigma Cipher Machine) ของเยอรมันให้ได้
ช่วงนั้น ทัวริงทำงานกับ ดับเบิลยู.จี. เวลช์แมน นักคณิตศาสตร์ชื่อดังของเคมบริดจ์ ทัวริงบอกว่าเขาเจาะรหัสได้แล้วคร่าว ๆ ใน ค.ศ. 1939 แต่ต้องได้เครื่องเอนิกมา มาวิเคราะห์การคำนวณทางสถิติเป็นขั้นสุดท้ายก่อน แล้วทุกอย่างจะออกหมด แต่ต้องรอถึง ค.ศ. 1942 ที่เรือดำน้ำ U-boat ของสหรัฐไปยึดมาได้ และแล้วหลังจากนั้นอีนิกมาก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มสงบ ค.ศ. 1944 ทัวริงก็เริ่มสานต่อโครงการเก่าตั้งชื่อ "Building the Brain" แต่ตัดสินใจล้มโครงการไปใน ค.ศ. 1945 พอได้ข่าวว่าจอห์น ฟอน นอยมันน์ออกบทความเรื่อง EDVAC ออกมาจากฝั่งอเมริกา
ใน ค.ศ. 1946 ทัวริงกลับมาดูงานใหม่ ก็พบว่าเป็นงานคนละแนวคิดกัน ทางอเมริกาเน้นด้านอิเลกทรอนิกส์ แต่ทัวริงคิดแบบคณิตศาสตร์ ("I would like to implement arithmetical functions by programming rather than by building in electronic components, a concept different from that of the American-derived designs). โครงการตอนนั้นของทัวริงคือเครื่องคำนวณ (computation machine) ที่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบจาก numerical work เป็น algebra เป็น code breaking เป็น file handling หรือแม้กระทั่งเกมส์ ใน ค.ศ. 1947 ทัวริงเสนอว่า ต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูล และ ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ต้องขยายตัวเองออกเป็น ชุดคำสั่งย่อย ๆ ได้ โดยการใช้รูปย่อแบบ รหัสย่อ (คำสั่ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาษาโปรแกรม) แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการสนันสนุน
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ยังคงเสนอตำแหน่งให้เขา แต่ทัวริงตัดสินใจเปลี่ยนสายขอพัก ไม่ทำด้านคณิตศาสตร์ ไม่ทำด้านเทคโนโลยี แต่ไปทำเรื่อง neurology กับ physiology sciences แทน แล้วก็ออกบทความเรื่องเครือข่ายประสาท ขึ้นมาว่า "a sufficiently complex mechanical system could exhibit learning ability" แล้วส่งบทความไปตีพิมพ์กับ NPL แต่ NPL ก็ทำงานช้า อยู่ ๆ ทีมนักวิจัยที่เคมบริดจ์เอง (สมัยนั้นยังชื่อ Mathematical Laboratory อยู่ ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็น Computer Laboratory) ก็ผลิตเครื่อง EDSAC ขึ้นมา (เป็นเครื่อง storage computer machine เครื่องแรก) โดยใช้หลักของชาร์ล แบบบิจ พร้อม ๆ กับ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ได้ทีมของทัวริงไปทำเครื่องในแนวทัวริงได้สำเร็จ
ทัวริงไม่สนใจในยุ่งการแข่งขันผลงานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งช่วงนั้นผลิตอย่างเร็วมาก เขาจึงไปวิ่งแข่งแทน เพราะเวลาที่เขาวิ่งใน ค.ศ. 1946 นั้น ทำให้เขามีสิทธิ์ลุ้นเหรียญทองวิ่งมาราธอนโอลิมปิก แต่โชคร้ายเขาประสบอุบัติเหตุรถยนต์ก่อน เลยไม่สามารถไปแข่งโอลิมปิกใน ค.ศ. 1948 ได้ (ในปีนั้นคนที่ได้เหรียญเงินเวลารวมก็แพ้ทัวริง) สุดท้ายทัวริงก็เลยตัดสินใจกลับเคมบริดจ์ ผ่านไประยะนึง ทีมงานเก่าเขาที่ย้ายไปมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ก็เชิญเขาไปเป็นหัวหน้าภาควิชาใหม่ (ภาควิชาคอมพิวเตอร์) ทัวริงเลยตัดสินใจย้ายไป คราวนี้ไปเน้นด้านซอฟต์แวร์ ออกบทความวิชาการชื่อดังอีกอันในยุคนั้น "Computer Machine and Intelligence" ใน ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นรากฐานของแนวคิดพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในวงการคอมพิวเตอร์
ใน ค.ศ. 1951 เขาสนใจในงานด้านเคมี ในหัวข้อ morphogenetic theory เผยแพร่บทความเรื่อง "The Chemical Basis of Morphogenesis" ซึ่งต่อมาเป็น founding paper of modern non-linear dynamical theory (เกี่ยวกับ pattern formation of instability into the realm of spherical objects, e.g. radiolaria, cylinder, model of plant stems)
ใน ค.ศ. 1952 เขาถูกจับกุม โทษฐานมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ทัวริงไม่ปฏิเสธและยอมรับโทษแต่โดยดี มีทางเลือกให้เขาสองทางคือ จำคุกกับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อลดความต้องการทางเพศ ซึ่งเขาเลือกที่จะรับการฉีดยา และแล้วใน ค.ศ. 1954 ร่างของทัวริงก็ถูกพบโดยพนักงานทำความสะอาด ในสภาพมีแอปเปิลครึ่งลูกหล่นอยู่ข้าง ๆ และมีร่องรอยการทำการทดลองทางเคมีอยู่ใกล้ ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2009 หลังจากการรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรจึงทำการขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลบริติชต่อวิธีอันไม่ถูกต้องที่รัฐบาลปฏิบัติต่อทัวริงหลังสงคราม[10]
หลายปีต่อมา มีการเปิดเผยขึ้นมาว่า ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสงบลง เขายังคงทำงานให้กับองค์การ 'รหัสลับ' แบบลับ ๆ ของรัฐบาลอยู่ อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถบอกเพื่อน ๆ ได้ว่าทำอะไรบ้างและปิดบังมาตลอด ช่วงนั้นกำลังมีสงครามเย็น สหราชอาณาจักรกับสหรัฐเป็นพันธมิตรกัน สู้กับยุโรปตะวันออก แต่เพื่อนชาวยุโรปตะวันออก ที่เคยร่วมงานกันมาก่อนพยายามติดต่อตัวเขา เช่นใน ค.ศ. 1953 เพื่อนเขาชาวนอร์เวย์ (มีแนวคิดเป็นสังคมนิยม) ถึงกับมาเยี่ยม ขณะที่เขากำลังพักผ่อนอยู่ที่ประเทศกรีซ ทำให้พอเขากลับมาถึงอังกฤษ ก็ถูกเรียกไปคุยกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคง แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าจริง ๆ แล้วมันเกิดเรื่องอะไรและมีเบื้องหลังอย่างไร
สำหรับผลงานที่เด่น ๆ ของทัวริง เช่น การคิดโมเดลที่สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ (แต่อาจมีความเร็วต่ำกว่า) โดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ เพียง เดินหน้า ถอยหลัง เขียน ลบ
เกียรติยศ / เชิดชู
[แก้]อนุสรณ์
[แก้]- อนุสรณ์ของแอลัน ทัวริง เป็นประติมากรรมลอยตัว สวมสูท นั่งบนม้านั่ง มือด้านขวาถือแอปเปิ้ลที่ถูกกัด ประติมากรรมสร้างขึ้นด้วยเหล็กสำริด บนพื้นมีลายธงไพรด์ ทำด้วยกระเบื้องโมเสก ประติมากรรมนี้ตั้งอยู่ ณ สวนสาธารณะแซกวิลล์ ถนนแซกวิลล์ กรุงลอนดอน[11] สหราชอาณาจักร
อนุสรณ์ แอลัน ทัวริง ณ สวนแซกวิลล์ กรุงลอนดอน ประติมากรรมแอลัน ทัวริง ปั้นขึ้นโดยนักประติมากรชาวอังกฤษ สตีเฟน เคตเทิล - ประติมากรรมแอลัน ทัวริง เป็นประติมากรรมลอยตัว สร้างสรรค์ผลงานโดยนักประติมากรชาวอังกฤษ สตีเฟน เคตเทิล (Stephen Kettle) ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยการใช้วัสดุหินฉนวน ตั้งอยู่ ณ สวนสาธารณะเบลตช์ลีย์ ที่ทำการเมื่อครั้งแอลัน ทัวริง กับคณะใช้ในการปฏิบัติการถอดรหัสนาซี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ที่มณฑลบักกิงแฮมเชอร์ สหราชอาณาจักร[12]
สลักรูปบนธนบัตร
[แก้]- ใน ค.ศ. 2021 ธนบัตร 50 ปอนด์สเตอร์ลิงของประเทศอังกฤษ ได้ทำการสลักรูป "แอลัน ทิวริง" เพื่อเชิดชูผลงานและสร้างคุณูปการและช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมากบนโลกในสงครามโลกครั้งที่ 2[13]
เกมคอมพิวเตอร์
[แก้]- ชื่อของแอลัน ทัวริง ยังถูกพาดพิงถึงในเนื้อเรื่องของเกมคอมพิวเตอร์แนวสยองขวัญชื่อว่า เอาต์ลาสต์ (Outlast) โดยในเนื้อเรื่องที่ถูกสมมุติขึ้นมานี้กล่าวว่า ทัวริงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเมิร์กออฟร่วมกับ ดร.รูดอล์ฟ เวอร์นิก ซึ่งเป็นตัวละครสมมุติในเนื้อเรื่องของเกม
ภาพยนตร์
[แก้]- ภาพยนตร์ ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก (The Imitation Game) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์/ชีวิต/ระทึกขวัญ กำกับโดยมอร์เทน ทิลดัม เขียนบทโดยเกรแฮม มัวร์ โดยดัดแปลงจากหนังสือ Alan Turing: The Enigma โดยแอนดรูว์ ฮอดจส์ นำแสดงโดยเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cooper, Prof S. Barry (7 October 2014). "The Imitation Game: how Benedict Cumberbatch brought Turing to life". The Guardian. Guardian News and Media Limited. สืบค้นเมื่อ 17 April 2017.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อwhoswho
- ↑ ดรรชนีผลงานตีพิมพ์โดย แอลัน ทัวริง บนกูเกิล สกอลาร์
- ↑ 4.0 4.1 แอลัน ทัวริง at the Mathematics Genealogy Project
- ↑ Gandy, Robin Oliver (1953). On axiomatic systems in mathematics and theories in physics. repository.cam.ac.uk (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Cambridge. doi:10.17863/CAM.16125. [[EThOS]] uk.bl.ethos.590164.
- ↑ Grattan-Guinness, Ivor, Chapter 40, Turing's mentor, Max Newman. In Copeland, B. Jack; Bowen, Jonathan P.; Wilson, Robin; Sprevak, Mark (2017). The Turing Guide. Oxford University Press. ISBN 978-0198747826.
- ↑ อลัน ทัวริงผู้ช่วยชีวิตคนนับล้าน แต่กลายเป็นอาชญากรเพราะรักผู้ชาย
- ↑ ธนบัตร 50 ปอนด์ : อลัน ทิวริง สำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์โลกจึงได้รับเกียรติบนแบงก์รุ่นใหม่
- ↑ https://www.mentalfloss.com/article/64049/did-alan-turing-inspire-apple-logo
- ↑ BBC coverage of Gordon Brown's apology for Turing's mistreatment by the British government
- ↑ https://www.manchestereveningnews.co.uk/news/nostalgia/manchester-public-art-alan-turing-8054356
- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Kettle
- ↑ https://www.bbc.com/thai/international-49007726
- ↑ ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก
- Campbell-Kelly, Martin (ed.) (1994). Passages in the Life of a Philosopher. London: William Pickering. ISBN 0-8135-2066-5
- Campbell-Kelly, Martin, and Aspray, William (1996). Computer: A History of the Information Machine. New York: Basic Books. ISBN 0-465-02989-2
- Ceruzzi, Paul (1998). A History of Modern Computing. Cambridge, Massachusetts, and London: MIT Press. ISBN 0-262-53169-0
- Chandler, Alfred (1977). The Visible Hand: The Managerial Revolution in American Business. Cambridge, Massachusetts: Belknap Press. ISBN 0-674-94052-0
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2497
- นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ
- นักวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เอ็มบีอี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์โอบีอี
- ผู้ฆ่าตัวตายด้วยพิษไซยาไนด์
- ผู้ฆ่าตัวตายในสหราชอาณาจักร
- บุคคลจากลอนดอน
- บุคคลจากวิล์มสโลว์
- ชายรักร่วมเพศชาวอังกฤษ
- นักวิชาการที่มีความหลากหลายทางเพศ