อรรถพร พลบุตร
อรรถพร พลบุตร | |
---|---|
อรรถพร ใน พ.ศ. 2553 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 มกราคม พ.ศ. 2502 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน) |
อรรถพร พลบุตร (เกิด 31 มกราคม พ.ศ. 2502) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สาธิต ปิตุเตชะ)[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี[2] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
[แก้]อรรถพร เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2502 อาศัยอยู่ที่ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนสุวรรณรังสฤษดิ์วิทยาลัย จังหวัดเพชรบุรี ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ และระดับปริญญาตรี นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การทำงาน
[แก้]อรรถพร พลบุตร เคยทำงานเป็นบรรณาธิการข่าวภาคดึก สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และเป็นบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสด ต่อมาได้เข้าสู่วงการการเมืองโดยการเป็นผู้ช่วย ส.ส. ของ อลงกรณ์ พลบุตร และลงสมัครการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเพชรบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี
จากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มจังหวัดที่ 7 ลำดับที่ 4 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก จากนั้นในจึงหันมาลงสมัครแบเขตเลือกตั้งในจังหวัดเพชรบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แทนนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ย้ายไปลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดเพชรบุรีครั้งแรก นับเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ของนายอรรถพร
ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดเพชรบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 'กลุ่มเพื่อนเฉลิมชัย' ช่วยเพชรบุรี มอบเงินหนุนรพ.สนาม 2 แสน
- ↑ "อรรถพร พลบุตร" ค้านมอเตอร์เวย์”นครปฐม-ชะอำ”ค่า 7.9 หมื่นล.
- ↑ อดีตนายกฯชวนลงพื้นที่หาเสียง “ปชป.”จ.เพชรบุรี เชื่อมั่นประชาชนเลือกทั้ง 3 เขตเลือกตั้ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบ้านแหลม
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- บรรณาธิการหนังสือพิมพ์
- นักการเมืองจากจังหวัดเพชรบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
- บุคคลจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.