อย่างนี้ต้องพิสูจน์ Q.E.D.
อย่างนี้ต้องพิสูจน์ Q.E.D. | |
Q.E.D. 証明終了 | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Q.E.D. ~Shomei Shuryo~ |
แนว | ลึกลับ |
มังงะ | |
เขียนโดย | โมโตฮิโร่ คาโต้ |
สำนักพิมพ์ | โคดันฉะ วิบูลย์กิจ |
อนิเมะ | |
Q.E.D. 証明終了 | |
กำกับโดย | อิเซดะ มาซายะ อิโนะคิโดะ ทาคายาสึ |
อย่างนี้ต้องพิสูจน์ Q.E.D.[1] (ญี่ปุ่น: Q.E.D. 証明終了; โรมาจิ: Q.E.D - Quod Erat Demonstrandum) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของ โมโตฮิโร่ คาโต้ ผู้เขียนร็อกเก็ตแมน และล่าสุดเขาได้เขียนผลงานเรื่อง พิพิธภัณฑ์พิศวง ขึ้น ทั้งหมดตีพิมพ์และจัดจำหน่ายในประเทศไทยโดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ
เนื้อเรื่อง
[แก้]เรื่องราวของหนุ่มน้อย โทมะ โซ เด็กอัจฉริยะที่เรียนจบจาก MIT ด้วยวัยเพียง 15 ปี แต่กลับอยากใช้ชีวิตแบบนักเรียน ม.ปลาย ธรรมดา ๆ ที่ญี่ปุ่น ทว่า เรื่องราวรอบตัวเขาไม่ยอมให้เขาเก็บงำความสามารถเอาไว้ เขามักได้ไปเกี่ยวข้องกับปริศนาทั้งเล็กและใหญ่อยู่เสมอ โดยมากก็จะเกิดจากการชักนำของเพื่อนร่วมห้องสาวน้อยผู้แข็งแรง น้ำใจงาม และชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน ที่ชื่อ มิสุฮาระ คานะ ลูกสาวตำรวจนักสืบ และในช่วงหลัง โทมะก็ได้ช่วยงานตำรวจหลายเรื่อง นอกจากคานะแล้ว ก็ยังมีบรรดาเพื่อนเก่าที่ MIT ที่มักจะนำพาเรื่องราวต่าง ๆ มาให้โทมะอยู่เสมอ เช่น โลกิ เป็นต้น
'อย่างนี้ต้องพิสูจน์' ไม่เหมือนกับการ์ตูนแนวสืบสวนทั่วไป ที่แฝงไปด้วยเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่พบเห็นได้ ไปถึงเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับประเทศ ไม่จำเป็นต้องมีห้องปิดตาย ไม่มีฉากไล่ล่าคนร้าย ไม่มีองค์กรอาชญากรรมดำมืด ไม่ได้มีความฝันมุ่งมั่นเป็นนักสืบที่เก่งที่สุด โทมะและมิสุฮาระ เพียงแต่พบเห็นปริศนา แล้วก็คลี่คลายมันโดยใช้การคิดตามหลักเหตุผล และใช้ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ (ซึ่งบางครั้งเป็นความรู้ที่เด็กอัจฉริยะอย่างโทมะเท่านั้นจึงจะมีได้)
การดำเนินเรื่องของ Q.E.D. มีโครงสร้างเหมือนกับการ์ตูนแนวสืบสวนเรื่องอื่น ๆ เริ่มจากเกิดคดี กลุ่มตัวละครเอกรับทราบข้อมูล และเมื่อตัวละครทำการไขปริศนาของคดีนั้น ๆ ได้แล้ว ก็จะประกาศข้อความบ่งบอกให้ผู้อ่านได้ทราบโดยการเขียนคำว่า Q.E.D. (มาจากภาษาละตินว่า quod erat demonstrandum หรือในภาษาไทยคือ ซ.ต.พ. - ซึ่งต้องพิสูจน์) หรือมีการเล่นเทคนิคการนำเสนอคำว่า Q.E.D. อีกหลายรูปแบบ เช่นแสดงในรูปของป้ายบอกทาง เศษกระดาษ เป็นต้น
ตัวละคร
[แก้]- โทมะ โซ: เด็กหนุ่มอัจฉริยะ จบมหาวิทยาลัยจาก MIT ด้วยวัยเพียง 15 ปีแต่กลับมาเรียนม.ปลายอีกครั้ง ดูเป็นคนนิ่ง ๆ
- มิสุฮาระ คานะ: เด้กสาวผู้ร่าเริง ห้าวหาญ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มุทะลุ เข้ากับคนได้ง่ายมาก มักจะลากตัวเองและโทมะเข้าไปหาปัญหาเสมอ
- โลกิ: เพื่อนสนิทของโทมะที่มหาวิทยาลัย MIT
- ผู้กองมิสุฮาระ: พ่อของ มิสุฮาระ คานะ
- เอบะ : เป็นทั้งเพื่อนและผู้ช่วยของโลกิ
- โทมะ ยู:น้องสาวของโทมะโซ ความสามารถพิเศษประสาทหูแยกแยะภาษาได้ดีเยี่ยม
ละครโทรทัศน์
[แก้]- ผู้กำกับ อิเซดะ มาซายะ, Iseda Masaya (伊勢田雅也) และ อิโนะคิโดะ ทาคายา, Enokido Takayasu (榎戸崇泰)
รายชื่อนักแสดง | ตัวละครในเรื่อง |
นากามูระ อาโออิ | โทมะ โซ |
ทาคาฮาชิ ไอ | มิสุฮาระ คานะ |
อิชิกุโระ เคน | นักสืบโคทาโร่ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รางวัล
[แก้]Q.E.D. ได้รับ รางวัล Kodansha Manga Award ครั้งที่ 33 ในประเภท โชเน็ง ในปี 2552
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โมะโตะฮิระ คะโต. (2544, 30 พฤษภาคม). อย่างนี้ต้องพิสูจน์ Q.E.D., เล่ม 3. ทีป์ปทีป, แปล. กรุงเทพฯ: วิบูลย์กิจ. ISBN 974-218-017-2. หน้า 184 (หน้ารองจากปกหลัง).
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการละครเรื่อง Q.E.D. อย่างนี้ต้องพิสูจน์ เก็บถาวร 2009-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)