อภินันท์ ปวนะฤทธิ์
หน้าตา
อภินันท์ ปวนะฤทธิ์ (6 กุมภาพันธ์ 2489 -) อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จบการศึกษารัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
ประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2511-2518 เลขานุการตรี กรมการเมือง, กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2518-2521 เลขานุการโท, สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
- พ.ศ. 2521-2524 หัวหน้ากอง กรมอาเซียน, กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2524-2527 รองผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
- พ.ศ. 2527-2529 รองอธิบดีกรมการเมือง, กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2529-2531 รองอธิบดีกรมอาเซียน, กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2531-2532 เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงฯ รับผิดชอบภูมิภาคอเมริกา, กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2532-2535 เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ และเอกอัครราชทูต ประจำสาธารณรัฐมัลดีฟส์
- พ.ศ. 2535-2538 เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล
- พ.ศ. 2538-2543 อธิบดีกรมยุโรป, กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2543-2545 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2545-2549 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๔๐, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗