อภิชาญ ปานเจริญ
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อภิชาญ ปานเจริญ เป็นนักวิชาการชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น อาจารย์ทางด้านภาษาบาลีสันสกฤต สังกัดภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเปิดสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นวิชาโทในคณะมนุษยศาสตร์ อาจารย์อภิชาญสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม 7 ประโยค และศาสนศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยา) จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้รับทุนมูลนิธิเอเซีย ผ่านมหามกุฏราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยสันสกฤต พาราณสี ประเทศอินเดีย (สาขาภาษาสันสกฤต) และมหาวิทยาลัย BHU (สาขาวรรณคดีสันสกฤต) เป็นอาจารย์บรรยายวิชาภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต วิชาลักษณะภาษาไทย วิชาภาษาต่างประเทศในภาษาไทย วิชาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย และวิชาวรรณกรรมศาสนา
หน้าที่การงาน
[แก้]- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- อดีตหัวหน้าภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- อดีตผู้รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เป็นอาจารย์บรรยายวิชาภาษาสันสกฤต วิชาภาษาบาลี วิชาภาษาต่างประเทศ (เขมร จีน อังกฤษ)ในภาษาไทย วิชาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย และวิชาวรรณกรรมศาสนา ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เป็นอาจารย์พิเศษบรรยายวิชาภาษาสันสกฤตที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[1]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๔๓, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๐, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕