อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์
อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ | |
---|---|
![]() อนุรักษ์ ใน พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2500 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมุกดาหาร เขต 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นประธานสโมสรทีมฟุตบอลมุกดาหาร เอฟซี
ประวัติ
[แก้]อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) และระดับปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รป.ด.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี อีกทั้งเคยได้รับปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศศ.ม.) สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
อนุรักษ์ สมรสกับสุวรรณี ตั้งปณิธานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร มีบุตร 3 คน สสงในนั้นได้แก่ นายนนทภูมิ ตั้งปณิธานนท์ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[1] ในรัฐบาลนาย เศรษฐา ทวีสิน นายเพชรภูมิ ตั้งปณิธานนท์ ผู้จัดการทีมมุกดาหาร ไชยืนยง เอฟซี
และธิดา 1 คน ได้แก่ นางสาวพลอยพชร ตั้งปณิธานนท์ เลขานุการสภาเทศบาลเมืองมุกดาหาร[2]
งานการเมือง
[แก้]อนุรักษ์ เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองมุกดาหาร และนายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร 3 สมัย กลุ่มเรารักมุกดาหาร [3] ต่อมา พ.ศ. 2550 ลาออกมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก สังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 4 ของจังหวัด (มี ส.ส. ได้ 2 คน) พ.ศ. 2554 ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก โดยเอาชนะนางวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ อดีต ส.ส. 3 สมัยจากพรรคภูมิใจไทย
ในปี 2566 เขาถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุำ 6 ปี จากกรณีเรียกรับเงินจำนวน 5 ล้านบาท จากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลแลกกับการผ่านงบประมาณ ในขณะที่เขาเป็นอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2 สภาผู้แทนราษฎร[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดมุกดาหาร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดมุกดาหาร สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ครม. ตั้ง ชาติชาย พยุหนาวีชัย นั่งที่ปรึกษารมว.พม.-ส่วนลูกอดีต ส.ส.มุกดาหาร พท.ประจำสำนักเลขาฯนายกฯ
- ↑ เปิดการประชุมสภาเทศบาลเมืองมุกดาหาร (ครั้งแรก)
- ↑ "วรศึลี สุวรรณปริสุทธิ์ อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-03.
- ↑ ขอเอกสารไม่น่าโทรฯนาน! เปิดคำพิพากษาคุก 6 ปี 'อนุรักษ์' อดีตส.ส.เพื่อไทย เรียกเงิน 5 ล.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดมุกดาหาร
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมุกดาหาร
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- นายกเทศมนตรีในจังหวัดมุกดาหาร