พญาอนันตนาคราช
พระยาอนันตนาคราช | |
---|---|
ราชาแห่งนาค[1] | |
เทวรูปพระยาอนันตนาคราช ณ นครกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล | |
ชื่ออื่น | เศษะ, อนันตะ, อาทิเศษะ, ศังกรสนะ |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ลัทธิไวษณพ |
ที่ประทับ | ไวกูณฐ์, เกษียรสมุทร, บาดาล |
มนตร์ | om śeṣanāgāya vidmahe anantāya ca dhīmahi tanno nāgaḥ pracodayāt |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | นางนาคลักษมี |
บุตร - ธิดา | นางสุโรจนา |
บิดา-มารดา | |
พี่น้อง | หลายองค์รวมถึง พระมนสาเทวี, พญานาควาสุกรี, และ พญานาคตักษกะ |
เศษะ (สันสกฤต: शेष, อักษรโรมัน: Śeṣa, แปลตรงตัว 'สิ่งที่เหลือหรือค้างอยู่'),[3] หรือ เศษะนาคราช (สันสกฤต: शेषनाग, อักษรโรมัน: Śeṣanāga, แปลตรงตัว 'พญานาคราชเศษะ') และ อาทิเศษะ (สันสกฤต: आदिशेष, อักษรโรมัน: Ādiśeṣa, แปลตรงตัว 'พระยาเศษะนาค') เป็นพญานาค และ เป็นประมุขแห่งนาคผู้เป็นปฐมในศาสนาฮินดู ในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่าเป็นพญานาคผู้มีเศียรนับพันและเป็นหนึ่งในสาวกผู้ภักดีซึ่งได้ออกนามสรรเสริญพระคุณของพระวิษณุตลอดเวลา ในบางครั้งมักออกนามว่า อนันตะเศษะ ในประเทศไทย ออกนามของพญานาคตนนี้ว่า พญาอนันตะนาคราช
เทพปกรณัม
[แก้]เทพชายา
[แก้]พระชายาของพระองค์ คือ นาคลักษมี ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ คระหะ สัมหิตา(Garga Samhita) และเป็นตัวแทนของเกษียรสมุทร[4][5]ชาวไทยทั่วไปที่นับถือพญานาคออกนามของพระนางว่าพระนางอุษาอนันตวดี [6]
อวตาร
[แก้]ในเทพปกรณัม อวตารของพระยาอนันตนาคราชปรากฏในโลกมนุษย์ถึงหกครั้ง ในสัตยยุคทรงอวตารมายังโลกมนุษย์ในฐานะบัลลังก์อาสน์ของพระนรสิงห์ซึ่งทรงมากำราบหิรัณยกศิปุ
ในเตรตายุค พระยาอนันตนาคราชทรงอวตารมาเป็นพระลักษณ์ อนุชา(น้องชาย)ของพระราม) ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่บทบาทมากในรามายณะที่สำคัญ พร้อมด้วยหนุมาน และ นางสีดา ชายาของเขา คือ นาคลักษมีได้อวตารติดตามมาด้วย คือ นางอุรมิลา ขนิษฐา(น้องสาว) ของนางสีดา[7][8]
ในทวาปรยุค พระยาอนันตนาคราชปรากฏในโลกมนุษย์ในนามพระพลราม พระเชษฐา(พี่ชาย)ของพระกฤษณะ ในบางกลุ่ม นับถือว่าเป็นหนึ่งทศาวตารของพระนารายณ์ ชายาของเขา คือ นาคลักษมีได้อวตารติดตามมาด้วย คือ นางเรวดี ราชธิดาของพระเจ้ากฑุมี(Kakudmi)[9][10]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Handa 2004, p. 91.
- ↑ Raj, Selva J.; Dempsey, Corinne G. (12 January 2010). Sacred Play: Ritual Levity and Humor in South Asian Religions (ภาษาอังกฤษ). State University of New York Press. ISBN 978-1-4384-2981-6.
- ↑ Haq, Kaiser (2015-10-12). The Triumph of the Snake Goddess (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-91511-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2023. สืบค้นเมื่อ 29 July 2022.
- ↑ Garga Saṁhita (ภาษาอังกฤษ). Rasbihari Lal & Sons. 2006. ISBN 978-81-87812-98-2.
- ↑ Śrīgargasaṃhitā: Kīrtibhāṣāsārasahitā (ภาษาสันสกฤต). Vyāsa Bālābakṣa Śodhasaṃsthāna. 2000.
- ↑ https://www.wowtgt.com/17333746/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84-%E0%B9%99-%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3?srsltid=AfmBOooWWEfLlMK-78lsRMy-6bqusWB6L86Es48RcP7_UmDssZ1I32KN
- ↑ www.wisdomlib.org (2012-06-24). "Urmila, Urmilā, Ūrmilā: 9 definitions". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
- ↑ Agarwal, Shubhi (20 April 2022). LakshmiLa : The Eternal Love Story. Om Books International. ISBN 978-93-92834-21-9.
- ↑ Revati. "Daughter of King Raivata and wife of Balarama."
- ↑ Dalal, Roshen (2014-04-18). Hinduism: An Alphabetical Guide (ภาษาอังกฤษ). Penguin UK. ISBN 978-81-8475-277-9.
บรรณานุกรม
[แก้]- Handa, Om Chanda (2004), Naga Cults and Traditions in the Western Himalaya, Indus Publishing, ISBN 978-8173871610