องเมียวสะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
陰陽座 (องเมียวสะ) | |
---|---|
สมาชิกวงองเมียวสะ จากซ้ายมาทาทาบิ, มาเนกิ, คุโรเนโกะ, คารุคัง และโทระ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | จังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น |
แนวเพลง | เจ-เมทัล เฮฟวี่ เมทัล |
ช่วงปี | พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | คิง เรคคอร์ดส กัง-ชิน |
สมาชิก | มาทาทาบิ คุโรเนโกะ คารุคัง มาเนกิ |
อดีตสมาชิก | โทระ |
เว็บไซต์ | http://www.onmyo-za.net |
องเมียวสะ (ญี่ปุ่น: 陰陽座; โรมาจิ: Onmyōza) เป็นวงดนตรีแนวเจ-เมทัล ซึ่งประยุกต์เอาดนตรีเฮฟฟวี่ เมทัลผสมกับสำเนียงแบบเจ-ร็อค จากประเทศญี่ปุ่น ชื่อของวงเป็นการผสมคำระหว่าง "องเมียว (ญี่ปุ่น: 陰陽道; โรมาจิ: onmyōdō) " และ "การรวมกลุ่ม (ญี่ปุ่น: 座; โรมาจิ: za) " ดังนั้นชื่อวงจึงอาจแปลเทียบเคียงได้ว่า "กลุ่มองเมียว" ในการแสดงสดสมาชิกในวงจะแต่งกายแบบย้อนยุค โดยจะใส่กิโมโนแบบยุคเฮอัน [1] โลโก้เดิมของทางวงเป็นรูปดาว 5 แฉก โดยปรากฏบนหน้าปก 4 อัลบั้ม แรก ส่วนโลโก้ใหม่มีลักษณะคล้ายสัญลักษณ์ หยิน-หยาง เริ่มใช้ครั้งแรกบนบกอัลบั้มรวมฮิตของวงคือ In'you-Shugyoku และใช้โลโก้นี้จนถึงปัจจุบัน[2]
องเมียวสะเริ่มทำงานดนตรีอย่าจริงจังใน ค.ศ. 1999 โดยแสดงสดครั้งแรกที่งาน Osaka Brandnew venue ในวันที่ 20 มิถนายน 1999 สมาชิกชุดแรกประกอบด้วย มาทาทาบิ, คุโรเนโกะ, มาเนกิ และ คารุคัง ซึ่งในตอนนั้นทางวงยังไม่มีมือกลอง จึงได้จ้างโทระมาเป็นมือกลองสนับสนุน และภายหลังโทระก็กลายเป็นสมาชิกถาวร ในปีเดียวกันนี้องเมียวสะออกอัลบั้มแรก Kikoku Tensho ผ่านสังกัด Moryo's Box ซึ่งเป็นสังกัดอินดี้ที่ทางวงตั้งขึ้นเอง จนในปี 2001 ทางวงก็ไดเซ็นสัญญากับ King Records[3] ราวปี 2009 โทระได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกถาวรของวง แต่ยังเป็นสมาชิกหลักในการแสดงสดเหมือนเดิม[4] สถานะในวงของโทระเปฌนสิ่งที่ค่อนข้างแปลกประหลาดเพราะในอัลบั้ม Kikoku-Tenshou แม้โทระจะเป็นสมาชิกถาวรแล้ว แต่ก็ลงเครดิตว่าเป็นมือกลองสนับสนุน และโทระกลายเป็นมือกลองสนับสนุนอีกครั้งในซิงเกิล Kokui no Tennyo และมีเครดิตเป็นมือกลองสนับสนุนจนปัจจุบัน
อนึ่งชื่อสมาชิกของวงจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับแมว ดังนี้คุโรเนโกะ แปลว่า "แมวดำ"[5], มาทาทาบิ แปลว่า เปลวไฟแต่พ้องเสียงกับความหมายที่ว่า "เป็นที่รักของแมว"[6], มาเนกิ แปลว่ายักษ์แต่พ้องเสียงกับ "แมวกวัก"[7], คารุคัง แปลว่าความชั่วร้าย แต่ก็พ้องเสียงกับชื่อยี่ห้ออาหารแมว[8] และโทระ แปลว่า "เสือ" ซึ่งเป็นสัตว์ตระกูลแมว
เนื้อหาของเพลง
[แก้]เนื้อหาเพลงขององเมียวสะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง ยักษ์ (ญี่ปุ่น: 鬼; โรมาจิ: oni) ปีศาจ (ญี่ปุ่น: 妖怪; โรมาจิ: yōkai) และ มังกร ต่างๆของญี่ปุ่น เป็นหลัก แต่องเมียวสะก็ยังมีเพลงชุด (series) ที่มีเนื้อหาแนวอื่นๆแทรกไว้ในแต่ละอัลบั้มดังนี้
ชุดเวทย์นินจา (ญี่ปุ่น: 忍法帖; โรมาจิ: ninpocho) จะมีอยู่ 1 เพลงในทุกอัลบั้ม แต่งขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงนักเขียนชาวญี่ปุ่นฟุทาโร่ ยามาดะ มีรายชื่อเพลงดังนี้
เพลง | อัลบั้ม |
---|---|
Onikiri Ninpouchou (鬼斬忍法帖) | Kikoku-Tenshou (鬼哭転生) |
Kegai Ninpouchou (化外忍法帖) | Hyakki-Ryouran (百鬼繚乱) |
Kagerou Ninpouchou (陽炎忍法帖) | Kojin-Rasetsu (煌神羅刹) |
Utsusemi Ninpouchou (空蝉忍法帖) | Fuuin-Kairan (封印廻濫) |
Youka Ninpouchou (妖花忍法帖) | Houyoku-Rindou (鳳翼麟瞳) |
Nehan Ninpouchou (涅槃忍法帖) | Mugen-Houyou (夢幻泡影) |
Kouga Ninpouchou (甲賀忍法帖) | Garyo-Tensei (臥龍點睛) |
Hadou Ninpouchou (覇道忍法帖) | Maou-Taiten (魔王戴天) |
Musasabi Ninpouchou (野衾忍法帖) | Chimimouryou (魑魅魍魎) |
Kuzaku Ninpouchou (孔雀忍法帖) | Kongoukyuubi (金剛九尾) |
ชุดเพลงโยชิทซึเนะ (Kumikyoku 'Yoshitsune') เป็นชุดเพลงที่แต่งขึ้นสดุดีวีรบุรุษในยุคเฮอันมิยาโมโตะ โนะ โยชิทซึเนะเพลงชุดนี้อยู่ในอัลบั้ม Garyo-Tensei แต่ตัดออกเป็น 3 ซิงเกิล คือ
- Kumikyoku "Yoshitsune" ~Akki Hougan (組曲「義経」~悪忌判官)
- Kumikyoku "Yoshitsune" ~Muma Enjou (組曲「義経」~夢魔炎上)
- Kumikyoku "Yoshitsune" ~Raise Kaikou (組曲「義経」~来世邂逅)
ชุดเพลงสดุดีดาเตะ มาซามุเนะ ไดเมียวคนสำคัญของยุคสงครามเป็นชุดเพลงล่าสุด มี 2 ซิงเกิล คือ
- Aoki Dokugan (蒼き独眼)
- Konpeki no Soujin (紺碧の双刃)
สมาชิกในวง
[แก้]- มาทาทาบิ (瞬火) - เบส / ร้องนำ
- คุโรเนโกะ (黒猫) - ร้องนำ
- มาเนกิ (招鬼) - กีต้าร์ / คอรัส
- คารุคัง (狩姦) - กีต้าร์
สมาชิกสนับสนุน
[แก้]- โดบาชิ มาโกโตะ - กลอง / เพอร์คัชชั่น (2552–ปัจจุบัน)
- อาเบะ มาซาฮิโร่ - คีย์บอร์ด
อดีตสมาชิก
[แก้]- โทระ (斗羅) (อะซูชิ คาวาซูกะ) - กลอง / เพอร์คัชชั่น (2542–2552)
ผลงาน
[แก้]อัลบั้ม
อัลบั้ม | คำแปล | วันออกวางแผง |
---|---|---|
Kikoku-Tenshou (鬼哭転生) | เสียงคร่ำครวญสู่การกลับชาติมาเกิด | 1999/12/05 |
Hyakki-Ryouran (百鬼繚乱) | การชุมนุมร้อยปีศาจ | 2000/12/24 |
Kojin-Rasetsu (煌神羅刹) | ประกายแสงแห่งยักษ์ | 2002/01/10 |
Fuuin-Kairan (封印廻濫) | ดวงตราที่หมุนวน (หมายถึงโลโก้ของวงที่ใช้ในช่วง ค.ศ. 1999 - 2005) | 2002/07/24 |
Houyoku-Rindou (鳳翼麟瞳) | ปีกฟีนิกซื, ดวงตายูนิคอร์น | 2003/01/22 |
Mugen-Houyou (夢幻泡影) | เงาสะท้อนบนไอน้ำ | 2004/03/03 |
Garyo-Tensei (臥龍點睛) | สัมผัสแห่งวาระสุดท้าย | 2005/06/22 |
In'you-Shugyoku (陰陽珠玉) | อัญมนีแห่งหยินและหยาง | 2006/02/08 |
Maou-Taiten (魔王戴天) | จอมมารฟ้า (หมายถึงโอดะ โนะบุนะงะ) | 2007/07/25 |
Chimimouryou (魑魅魍魎) | วิญญานคนตายที่สถิตย์ในแม่นำแและขุนเขา (คล้ายกับความเชื่อเรื่องผีไพร) | 2007/07/25 |
Kongoukyuubi (金剛九尾) | ความงดงามและแข็งแกร่งของหางทั้ง 9 (หมายถึงปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง) | 2009/09/09 |
Kishi-Bojin (鬼子母神) | เทพมารดาของเหล่าวิญญานเด็ก (เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของเทพีฮาริตี) | 2011/12/21 |
อัลบั้มแสดงสด
อัลบั้ม | คำแปล | วันออกวางแผง |
---|---|---|
Sekinetsu-Enbu (赤熱演舞) | การเต้นรำที่ร้อนแรง | 2003/06/25 |
Onmyou-Live (陰陽雷舞) | การแสดงสดของเหล่าองเมียว | 2006/06/07 |
ซิงเกิล
ซิงเกิล | คำแปล | วันออกวางแผง |
---|---|---|
Ouka no Kotowari (桜花ノ理) | เหตุผลของซากุระ | 2000/08/19 |
Tsuki ni Murakumo Hana ni Kaze (月に叢雲花に風) | ดวงจันทร์ในเงาเมฆ, ดอกไม้ในสายลม | 2001/12/16 |
Youka Ninpocho (妖花忍法帖) | เวทย์นินจาดอกไม้โลกีย์ | 2002/12/25 |
Houyoku-Tenshou (鳳翼天翔) | ฟินิกซ์สยายปีก | 2003/06/04 |
Mezame (醒) | การตื่น | 2003/10/01 |
Nemuri (睡) | การหลับ | 2004/01/07 |
Kumikyoku "Yoshitsune" - Akki Hogan (組曲『義経』~悪忌判官) | บทเพลงแห่งโยชิทซึเนะ - ผู้เป็นที่รังเกียจของปีศาจ | 2004/09/23 |
Kumikyoku "Yoshitsune" - Muma Enjou (組曲『義経』~夢魔炎上) | บทเพลงแห่งโยชิทซึเนะ - เปลวไฟแห่งฝันร้าย | 2004/10/27 |
Kumikyoku "Yoshitsune" - Raise Kaikou (組曲『義経』~来世邂逅) | บทเพลงแห่งโยชิทซึเนะ - เจอกันใหม่ชาติหน้า | 2004/11/26 |
Kouga Ninpocho (甲賀忍法帖) | เวทย์นินจาแห่งโคงะ | 2005/04/27 |
Kokui no Tennyo (黒衣の天女) | หญิงสาวบริสุทธิ์ในเสื้อคลุมสีดำ | 2007/06/27 |
Kureha (紅葉) | คุเรฮะ | 2008/08/06 |
Soukoku/Doukoku (相剋/慟哭) | การชิงดีชิงเด่น/ความเศร้าโศก | 2009/01/21 |
Aoki Dokugan (蒼き独眼) | ชายตาเดียวในเกราะฟ้า | 2009/01/21 |
Konpeki no Soujin (紺碧の双刃) | ดาบคู่สีฟ้า | 20011/02/09 |
หมายเหตุ
- Mezame เป็นซิงเกิลพิเศษที่ไม่มีรวมในอัลบั้มใด แต่เพลงนี้ก็ถูกรวมไว้เป็นเพลงแรกในอัลบั้ม In'you-Shugyoku
- ซิงเกิลขององเมียวสะที่ได้รับเลือกเป็นเพลงประกอบสื่อบันเทิงอื่นๆมี ดังนี้
- Kouga Ninpocho เป็นเพลงเปิดแอนิเมชันเรื่อง เนตรสยบมาร
- Soukoku/Doukoku เป็นเพลงประกอบเกม "อินุงามิ แคลน" บนเครื่องนินเท็นโด ดีเอส
- Konpeki no Soujin เป็นภาคต่อของเพลงAoki Dokugan แต่ยังไม่เคยถูกรวมไว้ในอัลบั้มใด
ดีวีดี
อัลบั้ม | คำแปล | วันออกวางแผง |
---|---|---|
Hyakki-Korinden (百鬼降臨伝) | ตำนานแห่งสายเลือดร้อยปีศาจ | 2002/01/10 (วิดีโอเทป)
2004/02/14(ดีวีดี) |
Hakkou-Ranbu (白光乱舞) | การเต้นรำในแสงจ้า | 2003/06/25 |
Wagashikabane wo Koeteyuke (我屍越行) | ข้ามศพข้าไป | 2005/03/02 |
Yuugen-Reibu (幽玄霊舞) | การแสดงสดแห่งปีศาจ | 2005/08/22 |
Shugyoku-Enbu (珠玉宴舞) | อัญมนีแห่งการเต้นรำ | 2006/06/21 |
Tenkafubu (天下布舞) | พิธีกรรมแห่งการครองโลก | 2005/08/22 |
Ryuou Rinbu (龍凰輪舞) | มังกรไฟเต้นรำ | 2010/04/21 |
Shikigami Reibu (式神雷舞) | การเต้นรำของเทพสายฟ้า | 2010/07/21 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ดู http://www.clotheslinejournal.com/heian.html เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ดู http://www.onmyo-za.net/eng/discography/dis_albums.html เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-02.
- ↑ http://thanyarath.wordpress.com/category/onmyouza/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 2011-03-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-03.