ข้ามไปเนื้อหา

องค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐสมาชิกของ IMSO ณ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

องค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ[1] (อังกฤษ: International Mobile Satellite Organization: IMSO) เป็นหน่วยงานสำหรับกำกับดูแลส่วนประกอบของการสื่อสารผ่านดาวเทียมระบบความปลอดภัยและแจ้งเหตุภัยพิบัติทางทะเลทั่วโลก (Global Maritime Distress and Safety System: GMDSS) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) ซึ่งออกแบบมาเพื่อวางโครงข่ายระบบทั่วโลกสำหรับการสื่อสารสัญญาณฉุกเฉินอัตโนมัติสำหรับเรือเดินทะเล โดยองค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานในการรับประกันระบบว่าจะสามารถสื่อารผ่านดาวเทียมสื่อสารเคลื่อนที่ทางทะเลได้ตลอด (ปัจจุบันให้บริการโดย อินมาแซท และไอริเดียม)

ประวัติ

[แก้]

อินมาแซท

[แก้]

องค์การดาวเทียมทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Satellite Organization: INMARSAT) ก่อตั้งขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การดาวเทียมทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Satellite Organization) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2519 ที่ลอนดอน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2522[2] ในการประสานงานระหว่างองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 อนุสัญญาว่าด้วย INMARSAT ได้รับการแก้ไขให้รวมไปถึงการใช้งานวิทยุการบินโดยเฉพาะเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ[3]

ผู้อำนวยการใหญ่คนแรกได้รับการแต่งตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523[4] คือ โอลอฟ ลันด์เบิร์ก และเริ่มปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2525[5] ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้บริหารและผู้พัฒนาบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการเฉพาะทางที่สวิดิชเทเลคอม (ปัจจุบันคือเทเลีย) และเขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการทั่วไปและซีอีโอจนถึงปี พ.ศ. 2538[6]

IMSO

[แก้]

ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างรัฐสมาชิกเกี่ยวกับอนาคตของหน่วยงาน มีความตื่นตัวเพิ่มขึ้นในหมู่ประเทศสมาชิกว่าสินทรัพย์ทางธุรกิจขององค์การจะต้องได้รับการแปรรูป เนื่องจากลักษณะการแข่งขันของอุตสาหกรรมการสื่อสารผ่านดาวเทียม และความไม่เต็มใจของรัฐสมาชิกจำนวนมากในการลงทุนเงินใน NIMARSAT เพื่อปรับปรุงระบบโครงข่าย ยังมีอีกหลายคนที่เชื่อมั่นในความสำคัญของการรักษาบทบาทขององค์การในการสื่อสารผ่านดาวเทียมทางทะเล โดยปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 ส่งผลให้เกิดการแก้ไขอนุสัญญาว่าด้วยองค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ (Convention on the International Mobile Satellite Organization) ซึ่งสินทรัพย์ในการดำเนินงานจะถูกแบ่งและแปรรูปองค์การเป็นเอกชน ในขณะที่หน่วยงานจะยังคงเป็นองค์การกำกับดูแลต่อไป[7]

ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2542 INMARSAT ได้กลายเป็นองค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ (IMSO)[3] โดยขณะนั้นสินทรัพย์ในการดำเนินงานของ INMARSAT ได้ถูกแยกออกมาเป็นบริษัทอินมาแซท ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนในสหราชอาณาจักร ซึ่งยินยอมตกลงจะดำเนินการภาระหน้าที่ด้านความปลอดภัยสาธารณะที่อยู่ภายใต้การดูแลของ IMSO ต่อไป[3]

ข้อตกลงระหว่างองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และ IMSO ได้ลงนามกันที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2543 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ICAO และ IMSO[3] โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 อินมาแซทมีรัฐภาคีจำนวนทั้งสิ้น 103 แห่ง[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "๒๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๐". กระทรวงการต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ).
  2. Information on the activities of international intergovernmental and non-governmental organizations relating to space law (PDF), United Nations General Assembly Committee on the Peaceful Uses of Outer Space, Legal Subcommittee, 49th session, 8 March 2010, เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Proposed Amendments to the Convention on the International Mobile Satellite Organization (IMSO), International Civil Aviation Organization, 14 May 2003, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2011
  4. Dalgleish, Don I. (1989). An Introduction to Satellite Communications. ISBN 9780863411328.
  5. Jonathan Higgins page 205
  6. "Olof Lundberg Named Chairman and Ceo of Globalstar L.P." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2023. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  7. Sagar, David (1999). Harris, R. A. (บ.ก.). "The privatisation of INMARSAT: Special problems". International Organisations and Space Law, Proceedings of the Third ECSL Colloquium, Perugia, Italy, 6–7 May 1999. 442: 127–142. Bibcode:1999ESASP.442..127S.
  8. Member states เก็บถาวร 9 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]