องค์กรนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกา
องค์กรนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกา (อังกฤษ: Sakyadhita International Association of Buddhist Women) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรประเภท 501(c)(3) ที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1987 ในช่วงสรุปของการประชุมครั้งแรก และจดทะเบียนในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1988
องค์กรนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกาจัดประชุมระดับนานาชาติในทุกสองปี โดยเป็นการรวมตัวสมาชิกคนหนึ่งของโบสถ์, แม่ชี และพระสงฆ์จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ประวัติ
[แก้]องค์กรดังกล่าวก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1987 ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งองค์กรนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกาเป็นพันธมิตรของสตรีและบุรุษที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อสิ้นการประชุมนานาชาติเรื่องพุทธสตรีครั้งแรก[1] โดยจัดขึ้นที่พุทธคยา ที่ซึ่งทะไลลามะที่ 14 เป็นผู้แสดงปาฐกถาพิเศษ[2] คำว่า ศากยธิดา หมายถึง "ธิดาของพระพุทธเจ้า" และใช้เป็นครั้งแรกในที่ประชุม ส่วนความคิดริเริ่มในการสร้างองค์กรมาจากอัยยา เขมา, การ์มา เลกเช โซโม, ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ฉายาปัจจุบันภิกษุณีธัมมนันทา) และคาโรลา โรลอฟฟ์ (ฉายาปัจจุบันภิกษุณีจำปา เจริญ[ไม่แน่ใจ ]) ซึ่งปัจจุบัน องค์กรนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกามีสมาชิกเกือบ 2,000 คนใน 45 ประเทศทั่วโลก สาขาแห่งชาติขององค์กรได้รับการก่อตั้งขึ้นในประเทศออสเตรเลีย, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, เกาหลี, เนปาล, โปรตุเกส, สเปน, ไต้หวัน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันมีสาขาใหม่ในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, มองโกเลีย, รัสเซีย และเวียดนาม
การประชุม
[แก้]การประชุมนานาชาติขององค์กรจัดขึ้นทุกสองปี[3] การประชุมนี้เป็นการรวมตัวสมาชิกคนหนึ่งของโบสถ์, แม่ชี และพระสงฆ์จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อแบ่งปันประสบการณ์, การวิจัย และการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงสถานภาพของสตรีชาวพุทธ—โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ได้จัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับสตรีชาวพุทธในทวีปเอเชียมาแล้วถึง 13 ประเทศและอีก 3 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ การประชุมมีเอกสาร, การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการแสดงในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสตรีชาวพุทธ การพบกันทั่วโลกนี้เปิดกว้างสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเพศ, เชื้อชาติ หรือศาสนา[4] สำหรับการประชุมศากยธิดาครั้งที่ 14 ได้จัดขึ้นในปี ค.ศ. 2015 ที่ยกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนการประชุมศากยธิดาครั้งที่ 15 จะจัดขึ้นในปี ค.ศ. 2017 ที่ฮ่องกง
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Boucher, Sandy (1993). Turning the Wheel: American Women Creating the New Buddhism. Beacon Press. pp. 91-92. ISBN 9780807073056.
- ↑ Dalai Lama, "Opening Speech of His Holiness the Dalai Lama", Sakyadhita: Daughters of the Buddha (Ithaca, NY: Snow Lion Publications, 1988), pp. 39-46.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2017-09-22.
- ↑ Fenn, Mavis L. and Kay Koppedrayer, "Sakyadhita: A Transnational Gathering Place for Buddhist Women", Journal of Global Buddhism 9(2008)
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Banks, Ellison, ed. Women's Buddhism, Buddhism's Women -- Tradition, Revision, Renewal [1] pp. 97–101. Somerville, MA: Wisdom Publications, 2000 ISBN 978-0861711659
- Berkeley Center for Religion, Peace and World Affairs, http://berkleycenter.georgetown.edu/resources/organizations/sakyadhita เก็บถาวร 2013-02-13 ที่ archive.today
- Buffetrille, Katia, ed.[2] pp. 113–118. Leiden: Koninklijke Prill, 2012. ISBN 978-9004232174
- Chodron, Thubten http://www.thubtenchodron.org/BuddhistNunsMonasticLife/ordination_sakyadhita_heritage_from_the_buddha.html#r3
- Dalai Lama, The message of support from HHDL for the 7th conference: http://www.dalailama.com/messages/buddhism/buddhist-women
- European Buddhist Union, http://www.e-b-u.org/members/member-organisations/sakyadhita-france/
- Fenn, Mavis L. and Kay Koppedrayer, "Sakyadhita: A Transnational Gathering Place for Buddhist Women," เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Journal of Global Buddhism 9(2008) p. 45–79. ISSN 1527-6457
- French, Rebecca. "Daughters of the Buddha: The Sakyadhita Movement, Buddhist Law, and the Position of Buddhist Nuns." [3] In Feminism, Law, and Religion. Edited by Marie A. Failinger, Elizabeth R. Schiltz, and Susan J. Stabile. pp. 371–89. Farnham, Surrey, U.K.: Ashgate Publishing, 2013. ISBN 9781409444206 (NL)
- Halafoff, Anna, and Praveena Rajkobal. “Sakyadhita International: Gender Equity in Ultramodern Buddhism.” Feminist Theology: The Journal of the Britain & Ireland School of Feminist Theology 23:2(2015) 111-127.
- Mohr, Thea. Weibliche Identität und Leerheit: Eine Ideengeschichtliche Rekonstruktion der Buddhistischen Frauenbewegung Sakyadhita International. Frankfurt am Main: Peter Lang, 2002. ISBN 3631382839
- Tsomo, Karma Lekshe, ed. Sakyadhita: Daughters of the Buddha. Ithaca, NY: Snow Lion Publications, 1989 (reprinted in Delhi: Indian Books Centre, 1998) (German edition, Dochter des Buddhas). ISBN 0937938726
- Tsomo, Karma Lekshe. "Sakyadhita Pilgrimage in Asia: On the Trail of the Buddhist Women’s Movement." Nova Religio 10:3 (2006) 102-116.
- Wurst, Rotraut. Identitaet im Exil: Tibetisch-Buddhistische Nonnen and Netzwerk Sakyadhita. Berlin: Dietrich Reimer Verlag, 2001. ISBN 3496027118
- Women in Buddhism: Unity and Diversity 1988 (31-minute video) http://bhikkhu.webs.com/apps/videos/videos/view/prev?channel_id=3208215&from_id=15178708 เก็บถาวร 2013-02-09 ที่ archive.today (9 minute clip)