หุบเขายาร์ลุง
หุบเขายาร์ลุง (ทิเบต: ཡར་ཀླུངས་, ไวลี: yar kLungs; Yarlung Valley) เป็นบริเวณทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากแม่น้ำยาร์ลุงชู แม่น้ำสาขาของแม่น้ำจังโป ในแคว้นชันนัน เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน โดยเฉพาะจุดที่แม่น้ำยาร์ลุงชูบรรจบกับแม่น้ำชงเย ก่อนจะขยายออกเป็นที่ราบกว้าง 2 กิโลเมตร และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำจังโป[1] ในอำเภอเนดง พื้นที่บริเวณนี้รวมถึงเซตัง หนึ่งในเมืองสำคัญของทิเบต ห่างไป 183 กิโลเมตรทางใต้ของลาซา[2] 29°12′N 91°46′E / 29.200°N 91.767°E พื้นที่นี้มีป่าไม้ขึ้นปกคลุมและมีความเหมาะสมแก่การกสิกรรม โดยเป็นที่รู้จักเป็นพิเศษจากผลผลิตแอปเปิลและลูกแพร์[3]
หุบเขายาร์ลุงและหุบเขาชงเยที่อยู่ติดกัน รวมกันในอดีตเป็นราชธานีของราชวงศ์ยาร์ลุงของทิเบต ซึ่งควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญระหส่างอินเดียกับภูฏาน จักรพรรดิทิเบตองค์แรก ซงเซ็น คัมโป (605 หรือ 617? - 649) ย้ายราชธานีไปยังลาซาหลังขยับขยายอาณาเขต
หุบเขายาร์ลุงมักได้สมญาเป็น "ต้นธารของอารยธรรมทิเบต" (cradle of Tibetan civilisation) มีขนาดยาวเพียง 72 กิโลเมตร แต่เต็มไปด้วยปราสาท อาราม วัด ถ้ำพุทธ และสถูปมากมาย แหล่งำลัง (power places; ne-sum) สามแห่ง ตั้งอยู่ในยาร์ลุง ได้แก่ เชลดัก (Sheldrak), ตราดรุก (Tradruk) และ ยุมบูลากัง (Yumbu Lagang; วังยุงบูลากัง) และมีสถูปสำคัญที่ประดิษฐานพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ (ten-sum) สามองค์ คือ Takchen Bumpa, Gontang Bumpa และ Tsechu Bumpa[4]
ไม่ไกลจากเมืองเซซังในอดีตเคยมีสะพานแขวนโลหะสร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 14 ข้ามแม่น้ำยาร์ลุงจังโป/แม่น้ำพรหมบุตร ก่อสร้างโดยวิศวกรขื่อดัง ทังทง คยัลโป มีความยาว 150 ถึง 250 เมตร ปัจจุบันเหลือเพียงหินใหญ่ที่ในอดีตรองรับน้ำหนักสะพานห้าก้อน สะพานใหม่มีการสร้างทดแทนในยุคปัจจุบันประมาณไม่กี่กิโลเมตรทางปลายน้ำที่งาโก (Nyago)[5] สะพานนี้พังทลายมานานแล้ว แม้แต่เมื่อครั้นสรัตทาสเดินทางมาที่นี่ในปี 1879 ยังต้องใช้เรือข้ามฟากข้ามเนื่องจากสะพานอยู่ในสภาพที่ใช้งานไม่ได้อย่างหนัก[6]
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Buckley, Michael and Strauss, Robert. Tibet: a travel survival kit. (1986) Lonely Planet Publications, Victoria, Australia. ISBN 0-908086-88-1.
- Das, Sarat Chandra. (1902). Lhasa and Central Tibet. Reprint: (1988). Mehra Offset Press, Delhi.
- Dorje, Gyurme (1999). Footprint Tibet Handbook with Bhutan. Footprint Handbooks, Bath, England. ISBN 0-8442-2190-2.
- Dorje, Gyurme (2009). Tibet Handbook. Footprint Handbooks, Bath, England. ISBN 978-1-906098-32-2.
- Dowman, Keith. (1988) The Power-Paces of Central Tibet: The Pilgrim's Guide. Routledge & Kegan Paul, London & New York. ISBN 0-7102-1370-0.
- Dudom Rinpoche and Dorje, Jikdrel Yeshe (1991). The Nyingmapa School of Tibetan Buddhism Its Fundamentals and History. 2 Vols. Translated and edited by Gyurme Dorje with Matthew Kapstein. Wisdom Publications. Boston. ISBN 978-0-86171-087-4.
- Hilton, Isabel. (1999). The Search for the Panchen Lama. Viking. Reprint: Penguin Books. (2000). ISBN 0-14-024670-3.
- Mayhew, Bradley and Kohn, Michael. (2005) Tibet. 6th Edition. ISBN 1-74059-523-8.
- Stein, R. A. (1972) Tibetan Civilization. Stanford University Press. ISBN 0-8047-0806-1 (cloth); ISBN 0-8047-0901-7 (ppk).