ซิลิคอนแวลลีย์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ซิลิคอนแวลลีย์ Silicon Valley | |
---|---|
ภูมิภาค | |
ภาพถ่ายทางอากาศของซิลิคอนแวลลีย์; มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในสแตนฟอร์ดและแอปเปิลพาร์กในคูเปอร์ตีโน; ตัวเมืองแซนโฮเซ; Mission Santa Clara de Asís ที่แซนตาแคลรา และศาลากลางกับศูนย์ฝึกฝนศิลปะการแสดงในเมาน์เทนวิว | |
พิกัด: 37°22′23″N 122°03′18″W / 37.373018°N 122.055009°W | |
ประเทศ | สหรัฐ |
รัฐ | แคลิฟอร์เนีย |
ภูมิภาค | เขตอ่าวซานฟรานซิสโก |
มหาภูมิภาค | นอร์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย |
เขตเวลา | UTC−8 (เวลามาตรฐานแปซิฟิก) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC−7 (เวลาออมแสงแปซิฟิก) |
ซิลิคอนแวลลีย์ (อังกฤษ: Silicon Valley) เป็นภูมิภาคในนอร์เทิร์นแคลิฟอร์เนียที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางโลกเทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรม ตั้งอยู่ทางใต้สุดของเขตอ่าวซานฟรานซิสโก ซึ่งตรงกับหุบเขาแซนตาแคลรา[1][2][3] แซนโฮเซเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในซิลิคอนแวลลีย์ ใหญ่เป็นอันดับสามในรัฐแคลิฟอร์เนีย และอันดับ 10 ของสหรัฐ Brookings Institution รายงานว่าเขตปริมณฑลแซนโฮเซมีอัตราจีดีพีต่อหัวสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก (เป็นรองแค่ซือริชและออสโล)[4] และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ที่อยู่อาศัยในย่านนี้มีอัตราร้อยละสูงสุดที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือมากกว่านี้[5]
ซิลิคอนแวลลีย์เป็นที่ตั้งของบริษัทไฮเทคที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งรวมไปถึงสำนักงานใหญ่มากกว่า 30 แห่งใน Fortune 1000 และวิสาหกิจเริ่มต้นพันกว่าแห่ง ใน ค.ศ. 2013 ภูมิภาคนี้ทำให้คนมีงานทำในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประมาณ 250,000 คน[6] สำนักงานใหญ่หลายแห่งกลายเป็นฮอตสปอตสำหรับการท่องเที่ยว[7][8][9]
เศรษฐกิจ
[แก้]พื้นที่อ่าวซานฟรานซิสโก (San Francisco Bay Area) เป็นเขตที่มีการกระจุกตัวของบริษัทไฮเทค (high-tech companies) อยู่มากที่สุดในสหรัฐ โดยจากตำแหน่งงานไฮเทค 387,000 ตำแหน่งงานนั้น ตำแหน่งงาน 225,300 ตำแหน่งอยู่ในเขตซิลิคอนแวลลีย์ ซิลิคอนแวลลีย์เป็นสถานที่ที่มีอัตราคนทำงานไฮเทคสูงที่สุดในทุก ๆ มหานครบนโลก คิดเป็นอัตราคนทำงาน 285.9 คน จากพนักงานเอกชน 1,000 คน ซิลิคอนแวลลีย์มีอัตราเงินเดือน (ต่อปี) สำหรับตำแหน่งงานไฮเทคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งหมดในสหรัฐ คิดเป็น 144,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[10] การที่เงินเดือนภายในซิลิคอนแวลลีย์สูงเป็นผลมาจากบริษัทภาคเทคโนโลยีชั้นสูง โดยเขตเมืองซานโฮเซ่ (San Jose), เมืองซันนีเวล (Sunnyvale) และเมืองซานตา คลาร่า (Santa Clara) มีจำนวนเศรษฐีมากที่สุดและมีจำนวนมหาเศรษฐีพันล้านมากที่สุดในสหรัฐต่อหัว[11]
ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางการผลิตไฮเทคที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา[12][13] อัตราการว่างงานของภูมิภาคนี้อยู่ที่ 9.4% ในเดือนมกราคม ค.ศ.2009 และลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.7% ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ.2019[14] ซิลิคอนแวลลีย์ได้รับ 41% ของการลงทุนร่วมทุน (venture) ทั้งหมดของสหรัฐในปี ค.ศ.2011 และ 46% ในปี ค.ศ.2012[15] นอกจากนี้อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมได้ตระหนักถึงศักยภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายได้เปิดสำนักงานในซิลลิคอนแวลลีย์เพื่อใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศที่เอื้อต่อการประกอบการ (entrepreneurial ecosystem) ของภูมิภาค[16]
การผลิตทรานซิสเตอร์เป็นอุตสาหกรรมหัวใจหลักของซิลลิคอนแวลลีย์ พนักงานฝ่ายผลิต[17]ส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้อพยพชาวเอเชียและชาวลาตินที่ได้รับค่าจ้างต่ำและทำงานในสภาพที่เป็นอันตรายเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการผลิตวงจรรวม[18] ซึ่งตรงกันข้ามกับเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค, วิศวกรรม, การออกแบบ และ การบริหารส่วนใหญ่ที่ได้รับการค่าจ้างสูง[19]
ที่อยู่อาศัย
[แก้]ซิลิคอนวัลเลย์มีปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของตลาดระหว่างงานที่สร้างขึ้นและหน่วยที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้น: ตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 ถึงปี ค.ศ.2015 มีการสร้างงานจำนวนมากขึ้นกว่าหน่วยที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้น (งาน 400,000 ตำแหน่งงาน บ้าน 60,000 ยูนิต)[20] ปัญหาการขาดแคลนนี้ทำให้ราคาบ้านสูงมากและห่างไกลจากกลุ่มคนงานการผลิต[21] ในปี ค.ศ.2016 อพาร์ทเมนต์แบบสองห้องนอนให้เช่ามีราคาประมาณ 2,500 ดอลลาร์ ในขณะที่ราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านดอลลาร์[20] Financial Post เรียกซิลลิคอนแวลลีย์ว่าเป็นภูมิภาคที่อยู่อาศัยที่แพงที่สุดในสหรัฐ[22] ปัญหาคนไร้บ้านเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่อยู่ไกลเกินเอื้อมของผู้มีรายได้ปานกลาง มีพื้นที่พักพิงเพียงเล็กน้อยนอกเหนือจากในเมืองซานโฮเซซึ่งในปี ค.ศ.2015 มีความพยายามพัฒนาที่พักพิงเพิ่มเติมโดยการปรับปรุงโรงแรมเก่า[23]
นอกจากนี้ The Economist ยังระบุว่าค่าครองชีพที่สูงต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ แม้ว่าความแตกแยกระหว่างเงินเดือนสูงและต่ำนี้กำลังผลักดันให้ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากออกไปซึ่งไม่สามารถมีชีวิตอยู่ที่นั่นได้อีกต่อไป โดยในบริเวณอ่าว มีจำนวนผู้อยู่อาศัยที่วางแผนจะออกเดินทางในอีกหลายปีข้างหน้าเพิ่มขึ้น 35% ตั้งแต่ปี ค.ศ.2016 จาก 34% เป็น 46%[24]
ประชากรศาสตร์
[แก้]จำนวนประชากรของซิลิคอนแวลลีย์ อยู่ระหว่าง 3.5 ถึง 4 ล้านคน การศึกษาในปี ค.ศ.1999 โดย แอนนาลี แซ็กเซเนียน (AnnaLee Saxenian) เพื่อสถาบันนโยบายสาธารณะแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (Public Policy Institute of California) รายงานว่านักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของซิลิคอนแวลลีย์หนึ่งในสามเป็นผู้อพยพ และเกือบหนึ่งในสี่ของบริษัทเทคโนโลยีชั้นสูงของซิลิคอนแวลลีย์ (ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980) ประกอบการโดยซีอีโอเชื้อสายจีน (17 เปอร์เซ็นต์) และ เชื้อสายอินเดีย (7 เปอร์เซ็นต์)[25] ในซิลิคอนแวลลีย์มีพนักงานและผู้จัดการด้านเทคนิคที่ได้รับค่าตอบแทนสูง มีจำนวน "เศรษฐีหลักเดียว" (คนที่มีเงินมากกว่าหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่ถึงสิบล้าน) มากกว่าหนึ่งหมื่นคน รายได้และสินทรัพย์ที่หลากหลายนี้สนับสนุนวิถีชีวิตแบบชนชั้นกลางที่มีอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ให้เกิดขึ้นได้[26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Malone, Michael S. (2002). The Valley of Heart's Delight: A Silicon Valley Notebook 1963 - 2001. New York: John S. Wiley & Sons. p. xix. ISBN 9780471201915. สืบค้นเมื่อ 28 July 2020.
- ↑ Matthews, Glenna (2003). Silicon Valley, Women, and the California Dream: Gender, Class, and Opportunity in the Twentieth Century. Stanford: Stanford University Press. p. 2. ISBN 9780804741545.
- ↑ Shueh, Sam (2009). Silicon Valley. Charleston, SC: Arcadia Publishing. p. 8. ISBN 9780738570938. สืบค้นเมื่อ 28 July 2020.
- ↑ "Silicon Valley Business Journal – San Jose Area has World's Third-Highest GDP Per Capita, Brookings Says". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2017. สืบค้นเมื่อ April 3, 2018.
- ↑ Kolomatsky, Michael (June 17, 2021). "Where Are the Million-Dollar Homes? - A new report reveals which U.S. metropolitan areas have the highest percentage of homes valued at $1 million or more". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 18, 2021.
- ↑ "Monthly employment continues upward climb". Silicon Valley Index. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2013. สืบค้นเมื่อ September 24, 2013.
- ↑ Carson, Biz. "16 Silicon Valley landmarks you must visit on your next trip". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019.
- ↑ "Tech Headquarters You Can Visit in Silicon Valley". TripSavvy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019.
- ↑ Sheng, Ellen (December 3, 2018). "Why the headquarters of iconic tech companies are now among America's top tourist attractions". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2019. สืบค้นเมื่อ July 26, 2019.
- ↑ "Cybercities 2008: An Overview of the High-Technology Industry in the Nation's Top 60 Cities". aeanet.org. สืบค้นเมื่อ April 19, 2015.
- ↑ "America's Greediest Cities". Forbes. ธันวาคม 3, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 29, 2017.
- ↑ Albanesius, Chloe (มิถุนายน 24, 2008). "AeA Study Reveals Where the Tech Jobs Are". PC Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 12, 2018.
- ↑ Pimentel, Benjamin. "Silicon Valley and N.Y. still top tech rankings". MarketWatch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2008. สืบค้นเมื่อ April 19, 2015.
- ↑ "SAN JOSE-SUNNYVALE-SANTA CLARA METROPOLITAN STATISTICAL AREA" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2019.
- ↑ "Venture Capital Survey Silicon Valley Fourth Quarter 2011". Fenwick.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2013. สืบค้นเมื่อ July 8, 2013.
- ↑ "Porsche lands in Silicon Valley to develop sportscars of the future". IBI. พฤษภาคม 8, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 13, 2017. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 8, 2017.
Carmakers who have recently expanded to Silicon Valley include Volkswagen, Hyundai, General Motors, Ford, Honda, Toyota, BMW, Nissan and Mercedes-Benz.
- ↑ "Production Occupations (Major Group)". bls.gov. Bureau of Labor Statistics. May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015.
- ↑ Matthews, Glenda (November 20, 2002). Silicon Valley, Women, and the California Dream: Gender, Class, and Opportunity in the Twentieth Century (1 ed.). Stanford, California: Stanford University Press. pp. 154–56. ISBN 978-0-8047-4796-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ January 16, 2015.
- ↑ "Occupational Employment Statistics Semiconductor and Other Electronic Component Manufacturing". bls.gov. Bureau of Labor Statistics. May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015.
- ↑ 20.0 20.1 Brown, Eliot (June 7, 2016). "Neighbors Clash in Silicon Valley Job growth far outstrips housing, creating an imbalance; San Jose chafes at Santa Clara". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2016. สืบค้นเมื่อ June 7, 2016.
- ↑ Matthews, Glenda (November 20, 2002). Silicon Valley, Women, and the California Dream: Gender, Class, and Opportunity in the Twentieth Century (1 ed.). Stanford, California: Stanford University Press. pp. 233. ISBN 978-0-8047-4796-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ January 16, 2015.
- ↑ "Zero down on a $2 million house is no problem in Silicon Valley's 'weird and scary' real estate market | Financial Post". July 29, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2017. สืบค้นเมื่อ October 14, 2017.
- ↑ Potts, Monica (December 13, 2015). "Dispossessed in the Land of Dreams: Those left behind by Silicon Valley's technology boom struggle to stay in the place they call home". The New Republic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2015. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015.
A 2013 census showed Santa Clara County having more than 7,000 homeless people, the fifth-highest homeless population per capita in the country and among the highest populations sleeping outside or in unsuitable shelters like vehicles.
- ↑ "Silicon Valley is changing, and its lead over other tech hubs narrowing". The Economist (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 5, 2018.
- ↑ Saxenian, AnnaLee (1999). "Silicon Valley's New Immigrant Entrepreneurs" (PDF). Public Policy Institute of California. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Riflin, Gary (August 5, 2007). "In Silicon Valley, Millionaires Who Don't Feel Rich". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2015. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
Silicon Valley is thick with those who might be called working-class millionaires
อ่านเพิ่ม
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Bronson, Po (2013). The Nudist on the Lateshift: and Other Tales of Silicon Valley. Random House. ISBN 978-1-4481-8964-9.
- Cringely, Robert X. (1996) [1992]. Accidental Empires: How the boys of Silicon Valley make their millions, battle foreign competition, and still can't get a date. HarperCollins. ISBN 978-0-88730-855-0.
- English-Lueck, June Anne (2002). Cultures@Silicon Valley. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-4429-4.
- Hayes, Dennis (1990) [1989]. Behind the Silicon Curtain: The Seductions of Work in a Lonely Era. Black Rose Books. ISBN 978-0-921689-62-1.
- Kaplan, David A. (2000). The Silicon Boys: And Their Valleys Of Dreams. HarperCollins. ISBN 978-0-688-17906-9.
- Koepp, Rob (April 11, 2003). Clusters of Creativity: Enduring Lessons on Innovation and Entrepreneurship from Silicon Valley and Europe's Silicon Fen. John Wiley & Sons. ISBN 978-0-470-85566-9.
- Lécuyer, Christophe Lécuyer (2006) [2005]. Making Silicon Valley: Innovation and the Growth of High Tech, 1930–1970. Chemical Heritage Foundation. ISBN 978-0-262-12281-8.
- Levy, Steven (2014) [1984]. Hackers: Heroes of the Computer Revolution. O'Reilly Media. ISBN 978-1-4493-8839-3.[ลิงก์เสีย]
- O'Mara, Margaret Pugh (2015) [2004]. Cities of Knowledge: Cold War Science and the Search for the Next Silicon Valley: Cold War Science and the Search for the Next Silicon Valley. Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-6688-5.
- Pellow, David N; Park, Lisa Sun-Hee (2002). The Silicon Valley of Dreams: Environmental Injustice, Immigrant Workers, and the High-tech Global Economy. New York University Press. ISBN 978-0-8147-6710-8.
- Saxenian, AnnaLee (1996). Regional Advantage: Culture and Competition in Silicon Valley and Route 128. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-75340-2.
- Scoville, Thomas (2001). Silicon Follies (Fiction). Simon & Schuster. ISBN 978-0-7434-1945-1.
- Whiteley, Carol; McLaughlin, John (2002). Technology, Entrepreneurs and Silicon Valley. Silicon Valley Historical Association. ISBN 978-0-9649217-1-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
วารสารและหนังสือพิมพ์
[แก้]- Kantor, Jodi (December 23, 2014). "A Brand New World in Which Men Ruled". The New York Times.
- Koenig, Neil (February 9, 2014). "Next Silicon Valleys: How did California get it so right?". BBC News.
- Malone, Michael S. (January 30, 2015). "The Purpose of Silicon Valley". MIT Technology Review.
- Norr, Henry (December 27, 1999). "Growth of a Silicon Empire". San Francisco Chronicle.
- Palmer, Barbara (February 4, 2004). "Red tile roofs in Bangalore: Stanford's look copied in Silicon Valley and beyond". Stanford Report.
- Schulz, Thomas (March 4, 2015). "Tomorrowland: How Silicon Valley Shapes Our Future". Der Spiegel.
- Sturgeon, Timothy J. (December 2000). "Chapter Two: How Silicon Valley Came to Be" (PDF). Industrial Performance Center. Massachusetts Institute of Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 19, 2018. สืบค้นเมื่อ March 24, 2015.
- Williams, James C. (December 2013). "From White Gold to Silicon Chips: Hydraulic Technology, Electric Power and Silicon Valley". Social Science Information (Abstract). Sage Publications. 52 (4): 558–574. doi:10.1177/0539018413497834. S2CID 145080600. (Subscription required for full text.)
โสตทัศน์
[แก้]- Silicon Valley: A Five Part Series (DVD). Narrated by Leonard Nimoy. Silicon Valley Historical Association. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
{{cite AV media}}
: CS1 maint: others in cite AV media (notes) (ลิงก์) - "A Weekend in Silicon Valley". The New York Times (Slideshow). August 27, 2010.
- Silicon Valley: A Five Part Series (DVD). Narrated by Leonard Nimoy. Silicon Valley Historical Association. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
{{cite AV media}}
: CS1 maint: others in cite AV media (notes) (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Santa Clara County: California's Historic Silicon Valley—A National Park Service website
- Silicon Valley—An American Experience documentary broadcast in 2013
- Silicon Valley Cultures Project ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร ธันวาคม 20, 2007) from San Jose State University
- Silicon Valley Historical Association เก็บถาวร 2020-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Birth of Silicon Valley เก็บถาวร 2018-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน