หีบแฟรงค์
หีบแฟรงค์ | |
---|---|
ด้านหลังและฝาของหีบแฟรงค์ | |
ปี | คริสต์ศตวรรษที่ 8 |
หมวดหมู่ | ศิลปะแองโกล-แซ็กซอน |
ประเภท | งานแกะสลัก |
สื่อ | กระดูกวาฬ |
มิติ | 10.9 cm × 19 cm × 22.9 cm (4.3 นิ้ว × 7.5 นิ้ว × 9.0 นิ้ว) |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์บริติช ลอนดอน |
หีบแฟรงค์ (อังกฤษ: Franks Casket หรือ Auzon Runic Casket) เป็นหีบที่สลักจากกระดูกวาฬของสมัยแองโกล-แซ็กซอน ที่ในปัจจุบันเป็นของพิพิธภัณฑ์บริติช, ลอนดอน, อังกฤษ หีบแน่นไปด้วยลวดลายสลักด้วยมีดแซะเป็นฉากเรื่องราวแบบงานสลักนูนราบสองมิติ พร้อมด้วยคำจารึกส่วนใหญ่ที่เป็นอักษรรูนส์ การตีความหมายของภาพและอักษรจารึกยังคงเป็นเรื่องที่ศึกษากันอยู่อย่างลึกซึ้ง[1] แต่โดยทั่วไปแล้วเชื่อกันว่ามีที่มาจากนอร์ทธัมเบรีย[2] หีบแฟรงค์เป็นงานชิ้นที่มีความสำคัญในการทำความเข้าใจถึงวัฒนธรรมแองโกล-แซ็กซอนตอนต้น
หัวข้อและที่มาของภาพสลักบนหีบแตกต่างกันไป ที่รวมทั้งภาพคริสเตียนภาพหนึ่ง “การชื่นชมของแมไจ” และ ภาพที่มาจากประวัติศาสตร์โรมัน (จักรพรรดิไททัส) และ ตำนานเทพโรมัน (รอมิวลุส และรีมุส) และภาพจากตำนานของชนพื้นเมืองเจอร์มานิค: ตำนานเจอร์มานิคเกี่ยวกับเวย์แลนด์ช่างตีเหล็ก, ฉากจากตำนานซิเกิร์ด และตำนานจากตอนที่หายไปของตำนานเกี่วยกับอยิลลัซน้องชายของเวย์แลนด์ช่างตีเหล็ก[3] คำจารึก “แสดงถึงความสามารถทางภาษาและอักขระ แม้ส่วนใหญ่จะเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเก่าและอักษรรูนส์ ขณะที่ยังเขียนเป็นภาษาละติน”[4] บ้างก็เขียนกลับหัวกลับหางหรือจากขวาไปซ้าย จะเห็นได้ชัดว่าเป็นลักษณะของหีบเป็นงานที่เลียนแบบงานหีบสลักงาช้างของยุคโบราณตอนปลายของเบรสเชีย เช่นเดียวกับหีบโวโรลีซึ่งเป็นงานของไบแซนไทน์ที่แผลงมาจากศิลปะคลาสสิกที่สร้างราว ค.ศ. 1000[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vandersall, Amy L. "The Date and Provenance of the Franks Casket" Gesta 11.2 (1972:9-26) p. 9; Ms Vandersall summarises the previous scholarship as at 1972 in setting the casket into an art-historical, rather than linguistic context. Mrs Leslie Webster, former Keeper at the British Museum and the leading expert, is publishing a new short book on the casket in 2010- see the bibliography.
- ↑ The first considerable publication, by George Stephens, Old-Northern Runic Monuments of Scandinavia and England (1866-1901) I-II:470-76, 921-23, III:200-04, IV:40-44, placed it in Northumbria and dated it in the eighth century.
- ↑ Vandersall 1972:9.
- ↑ Webster (Blackwell)
- ↑ Webster (Blackwell)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Franks Casket (British Museum page)
- Alfred Becker, Webseite zu Franks Casket
- Austin Simmons, The Cipherment of the Franks Casket Simmons' theory, with the best images เก็บถาวร 2012-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน