หิโตปเทศ
หน้าตา
หิโตปเทศ (สันสกฤต: हितोपदेशः, IAST: Hitopadeśa, "ตำรับที่แนะนำประโยชน์เกื้อกูล") เป็นคัมภีร์อินเดียภาษาสันสกฤตประกอบด้วยนิทานอุทาหรณ์ที่มีตัวละครเป็นทั้งคนและสัตว์ คัมภีร์นี้ได้รวบรวมคำคม ความรู้ทางโลก และคำแนะนำด้านการเมืองไว้ด้วยภาษาที่เรียบง่ายและสวยงาม[1] ได้รับการแปลเป็นหลายภาษา
ที่มาของคัมภีร์ไม่ทราบแน่ชัด แต่จากต้นฉบับตัวเขียนที่หลงเหลืออยู่ ระบุว่าแต่งขึ้น ค.ศ. 1373 (พ.ศ. 1916) อาจแต่งโดยนารายณะบัณฑิตซึ่งคงมีชีวิตอยู่ในรัชกาลพระเจ้าธวลจันทรแห่งเบงกอล เพราะปรากฏข้อความกล่าวถึงในช่วงท้ายของหิโตปเทศ นารายณะบัณฑิตได้อ้างถึงคัมภีร์ที่ใช้ในการเรียบเรียงหิโตปเทศอย่างปัญจตันตระและคัมภีร์อื่น ๆ อย่างนีติศตกะของจาณักยพราหมณ์ หรือ จาณักยศตกะ และกามันทกียนีติสาร ซึ่งเป็นวรรณกรรมนิติศาสตร์ของอินเดีย ส่วนในประเทศไทย พบอยู่ 9 สำนวน[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ S. Narayana (2006). Hitopadesa. แปลโดย Haksar, A.N.D. Penguin Books. ISBN 978-0-140-45522-9.
- ↑ "หิโตปเทศวัตถุปกรณัม : ร่องรอยของหิโตปเทศฉบับสันสกฤตในประเทศไทย" (PDF). ดำรงวิชาการ.