หัวต่อไฟฟ้า
หน้าตา
หัวต่อไฟฟ้า (อังกฤษ: Electrical connector) เป็นอุปกรณ์เครื่องกลไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อมต่อตัวนำไฟฟ้าและสร้างวงจรไฟฟ้า[1] ขั้วต่อไฟฟ้าส่วนใหญ่มีเพศ – เช่น ส่วนประกอบตัวผู้ที่เรียกว่า ปลั๊ก เชื่อมต่อกับส่วนประกอบตัวเมียหรือ เบ้า การเชื่อมต่ออาจถอดออกได้ (สำหรับอุปกรณ์พกพา) ต้องใช้เครื่องมือในการประกอบเข้าและถอดออก หรือใช้เป็นข้อต่อไฟฟ้าถาวรระหว่าง 2 จุด[2] สามารถใช้ตัวปรับต่อเพื่อเชื่อมตัวเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน
โครงแบบของหัวต่อหลายพันแบบถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้งานกับไฟฟ้า ข้อมูล และโปรแกรมประยุกต์ด้านโสตทัศนูปกรณ์[3] หัวต่อไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทพื้นฐานตามหน้าที่ได้ ดังนี้:[4]
- Inline หรือ Cable หัวต่อถาวรที่เชื่อมกับสายเคเบิลได้ ดังนั้น จึงสามารถเสียบเข้ากับขั้วปลายสายไฟอื่นได้ (ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่กับที่หรือสายเคเบิลอื่น)
- Chassis หรือ Panel หัวต่อถาวรที่ติดอยู่กับชิ้นส่วนของอุปกรณ์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับอุปกรณ์ที่อยู่กับที่ได้
- PCB mount หัวต่อที่เชื่อมบัดกรีเข้ากับแผงวงจรพิมพ์ เป็นจุดยึดเกาะกับสายเคเบิลหรือสายไฟ[5]: 56
- Splice หรือ butt หัวต่อถาวร (ส่วนใหญ่เป็นหัวต่อรางฉนวน) ที่เชื่อมต่อสายไฟหรือสายเคเบิลที่ความยาวไม่เท่ากันได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Electrical Connectors Information". Engineering360. IEEE GlobalSpec. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
- ↑ Mroczkowski, Robert S. (1998). "Ch 1". Electrical Connector Handbook: Theory and Applications. McGraw Hill. ISBN 0-07-041401-7.
- ↑ Elliott, Brian S. (2007). "Chapter 9: Connectors". Electromechanical Devices & Components (2nd ed.). McGraw-Hill Professional. ISBN 978-0-07-147752-9.
- ↑ SFUptownMaker. "Connector Basics". SparkFun. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
- ↑ Horowitz, Paul; Hill, Winfield (1989). The Art of Electronics (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-37095-7.
- Foreman, Chris, "Sound System Design", Handbook for Sound Engineers, Third Edition, Glen M. Ballou, Ed., Elsevier Inc., 2002, pp. 1171–72.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หัวต่อไฟฟ้า