ข้ามไปเนื้อหา

หะวามหัล

พิกัด: 26°55′26″N 75°49′36″E / 26.9239°N 75.8267°E / 26.9239; 75.8267
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หะวามหัล
ฟาซาดของหะวามหัล
หะวามหัลตั้งอยู่ในชัยปุระ
หะวามหัล
ที่ตั้งภายในชัยปุระ
หะวามหัลตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
หะวามหัล
หะวามหัล (รัฐราชสถาน)
ชื่ออื่นพระราชวังแห่งสายลม
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมราชปุต
ประเทศอินเดีย
พิกัด26°55′26″N 75°49′36″E / 26.9239°N 75.8267°E / 26.9239; 75.8267
แล้วเสร็จ1799
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างหินทรายแดงชมพู
การออกแบบและการก่อสร้าง
ผู้รับเหมาก่อสร้างมหาราชา สวาอี ปรตาป สิงห์

หะวามหัล หรือ ฮาวามาฮาล (ฮินดี: हवामहल; Hawa Mahal) เป็นพระราชวังในนครชัยปุระ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นจากหินทรายแดงและชมพู ตั้งอยู่บนของของซิตีพาเลส และมีอาณาเขตไปถึงพื้นที่ เซนานา หะวามหัลสร้างขึ้นในปี 1799 โดยมหาราชา สวาอี ปรตาป สิงห์ หลานของมหาราช สวาอี ชัย สิงห์ ที่สอง ผู้ก่อตั้งนครชัยปุระ[1] สร้างขึ้นหลังได้รับแรงบัลดาลใจมาจากเขตรีมหัล

หะวามหัลเป็นผลงานออกแบบโดย ลาล จันท์ อูสตาด (Lal Chand Ustad) โครงสร้างฟาซาดด้านนอกสูงห้าชั้นคล้ายกันกับรูปรองผึ้ง ประกอบด้วยหน้าต่างเล็กฌโรขาจำนวน 953 บาน ประดับประดาอย่างวิจิตรด้วยงานแลททิส[2] งานออกแบบแลททิสนี้มีเป้าหมายเดิมทีเพื่อให้สตรีชั้นสูงที่อาศัยในวังสามารถมองออกมาสังเกตชีวิตของผู้คนธรรมดา หรือเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ บนถนนด้านนอกของหะวามหัลได้ สตรีชั้นสูงเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามกฎ "ปูรดาห์" ซึ่งห้ามมิให้เปิดเผยใบหน้าของตนในที่สาธารณะ งานออกแบบนี้ยังช่วยให้อากาศเย็นพัดเข้ามาภายในหะวามหัล ด้วยหลักการของปรากฏการณ์เวนทูรี จึงทำให้พื้นที่ภายในยังคงอุณหภูมิที่ไม่ร้อนมากเกินไปในช่วงฤดูร้อนของชัยปุระ[2][3][4] คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดว่าฟาซาดของหะวามหัลที่เห็นนี้เป็นด้านหน้าของวัง แต่จริง ๆ คือด้านหลังของวัง[5]

ในปี 2006 ได้มีการบูรณะหะวามหัลครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ด้วยมูลค่ารวมราว 4.568 ล้านรูปี[6] ภายใต้ยูนิตทรัสต์ออฟอินเดีย[7]

สถาปัตยกรรม

[แก้]

วังหะวามหัลมีความสูง 5 ชั้น, 50 ฟุต (15 เมตร) สามชั้นบนสุดของอาคารมีความกว้างประมาณห้องหนึ่งห้อง ในขณะที่ชั้นหนึ่งและสองมีปาติโอยื่นออกมา ภายในวังหะวามหัลประกอบด้วยห้องที่ประดับด้วยหินอ่อนสีต่าง ๆ ประดับด้วยงานฝังและปิดทอง ใจกลางมีคอร์ทยาร์ดที่ตรงกลางมีน้ำพุ[8][9]

สถาปนิกผู้ออกแบบหะวามหัลคือลาล จันท์ อูสตา โดยสร้างด้วยหินทรายสีแดงชมพูเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกีบการประดับสิ่งปลูกสร้างอื่นในนคร ฟาซาดของหะวามหัลประกอบด้วยนีชจำนวน 953 บาน ที่ประดับด้วยงานแกะสลักฌโรขาอย่างวิจิตร ในขณะที่ด้านในของวังไม่ได้มีการประดับประดาเป็นพิเศษอย่างวิจิตรมากนัก งานออกแบบหะวามหัลเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมราชปุต และ สถาปัตยกรรมโมกุล โดยที่ลักษณะแบบราชปุตพบได้ในงานออกแบบโดม, เสา และลวดลายดอกบัวกับดอกไม้ รูปแบบอิสลามแบบโมกุลที่ะบได้สามารถพบในงานลงฟิลิกรีและตามส่วนโค้งของอาคาร ซึ่งแยกจากลักษณะที่คล้ายที่พบได้ที่ปัญจมหัลในฟาเตหปุระสิกรี[10]

ทางเข้าหะวามหัลจากฝั่งซิตีพาเลสจะเข้าผ่านทางประตูหลวง (imperial door) เมื่อเข้าไปจะพบกับลานกว้างที่มีอาคารสองชั้นล้อมรอบอยู่สามด้าน หะวามหัลคืออาคารที่ปิดล้อมฝั่งตะวันออก ในลานนี้ปัจจุบันยังมีพิพิธภัณฑ์โบราณคดีตั้งอยู่เช่นกัน[11]

หะวามหัลยังขึ้นชื่อว่าเป็น chef-d'œuvre (ผลงานชิ้นเอก) ของมหาราชา ชัย สิงห์ เนื่องจากที่นี่เป็นที่แปรพระราชฐานโปรดของมหาราชา นอกจากนี้ ภายในหะวามหัลยังมีความเย็นอันเป็นผลจากลมที่ผ่านตามรูเปิดเล็ก ๆ ของหน้าต่าง ประกอบกับน้ำพุใจกลางลานกว้าง[12]

ชั้นบนสุดสองชั้นของหะวามหัลสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางลาดเท่านั้น ปัจจุบันหะวามหัลอยู่ภายใต้การทำนุบำรุงดูแลของกรมโบราณคดี รัฐบาลรัฐราชสถาน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "About Hawa Mahal | Hawa Mahal" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-07-04.
  2. 2.0 2.1 Rai, Vinay; William L. Simon (2007). Think India: the rise of the world's next superpower and what it means for every American. Hawa Mahal. Dutton. p. 194. ISBN 978-0-525-95020-2. สืบค้นเมื่อ 6 December 2009. Hawa Mahal.
  3. "Hawa Mahal". สืบค้นเมื่อ 6 December 2009.
  4. "Jaipur, the Pink City". สืบค้นเมื่อ 6 December 2009.
  5. pareek, Amit Kumar Pareek and Agam Kumar. "Hawa Mahal the crown of Jaipur". amerjaipur.in. สืบค้นเมื่อ 2017-03-03.
  6. "Restoration of Hawa Mahal in Jaipur". Snoop News. 22 มีนาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2009.
  7. "INTACH Virasat" (PDF). Jaipur. Intach.org. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 November 2009.
  8. "Hawa Mahal – Jaipur". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ธันวาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2009.
  9. Sitwell, Sacheverel (1962). The red chapels of Banteai Srei: and temples in Cambodia, India, Siam, and Nepal. Hawa Mahal. Weidenfeld and Nicolson. p. 174. ISBN 9789020073201. สืบค้นเมื่อ 7 December 2009.
  10. "Hawa Mahal of Jaipur in Rajasthan, India". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2009. สืบค้นเมื่อ 7 December 2009.
  11. 11.0 11.1 "Hawa Mahal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2009.
  12. Rousselet, Loius; Charles Randolph Buckle (2005). India and its native princes: travels in Central India and in the presidencies of Bombay and Bengal. Hawa Mahal. Asian Educational Services. p. 228. ISBN 81-206-1887-4. สืบค้นเมื่อ 10 December 2009.