ข้ามไปเนื้อหา

หอสมุดดิจิทัลแห่งโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หอสมุดดิจิทัลแห่งโลก (อังกฤษ: World Digital Library, WDL) เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 21 เมษายน 2552 เป็นบริการห้องสมุดในอินเทอร์เน็ตที่รวบรวมทรัพยากรความรู้ที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของหลายประเทศทั่วโลก เอกสารคุณค่าเหล่านี้ ได้แก่ หนังสือหายาก เอกสารต้นฉบับตัวเขียนและฉบับพิมพ์ แผนที่ รวมทั้งสื่อบันทึกเสียง ภาพยนตร์ รูปภาพ และภาพพิมพ์ ที่แปลงเป็นรูปดิจิทัลเพื่อให้บริการฟรีในอินเทอร์เน็ตที่ [1] โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างยูเนสโกและหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เก็บถาวร 2009-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะเป็นแหล่งรวมห้องสมุดสถาบันวัฒนธรรมจากทั่วโลก ปัจจุบันให้บริการสืบค้น 7 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน ภาษาจีน ภาษาอารบิก และภาษาโปรตุเกส ซึ่งเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติ เป้าหมายสำคัญที่ยูเนสโกและหอสมุดรัฐสภาอเมริกันย้ำ คือ การเติมเต็มช่องว่างดิจิทัลระหว่างประเทศต่าง ๆ เปิดโอกาสให้โลกรับรู้ รู้จักวัฒนธรรมของกันและกัน และเรียนรู้มากขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจและสันติภาพในโลก ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเฉพาะโครงการหอสมุดดิจิทัลสามารถเสนอความรู้ดิจิทัลและแบ่งปันกันอย่างเสรี หอสมุดแห่งชาติ 5 แห่ง ที่ร่วมริเริ่มกิจกรรมนี้ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติอเล็กซานดรินา อียิปต์ หอสมุดแห่งชาติจีน หอสมุดแห่งชาติบราซิล เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และหอสมุดแห่งชาติรัสเซีย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]