หอยเสียบ
หอยเสียบ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Mollusca |
ชั้นใหญ่: | Bivalvia |
ชั้น: | Pelecypoda |
วงศ์: | PHARIDAE |
หอยเสียบ (Pharella javanica) บางแห่งอาจเรียก หอยมีดโกน หอยเสียบ หอยเสียบทราย ชื่อสามัญ : Razor clam, Knife jacked clam, Cultellus clam บางครั้งอาจจะทำให้สับสนซึ่งชื่อตามภาษาไทยในท้องถิ่น เหมือนกันกับหอยเสียบ (หอยเสียบทราย)ที่มีชื่อสามัญ Donax wedge shell หรือ Pacific bean donex ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอยู่ต่างจำพวกกัน
ข้อมูล
[แก้]หอยเสียบเป็นหอยจำพวกกาบคู่ ตัวเล็ก เปลือกบาง ความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร
- ถิ่นอาศัย : พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนแข็งหรือโคลนแข็งปนทราย ในประเทศไทยพบมากที่ชายฝั่งของจังหวัดเพชรบุรี [1](ตั่งแต่ชายฝั่งตำบลบางขุนไทร ปากทะเล บางแก้ว แหลมหลวงในเขตตำบลแหลมผักเบี้ย) พบน้อยมากในจังหวัดชลบุรี มีพบบ้างที่หาดราไว จังหวัดภูเก็ต [2]
- อาหาร : พวกไดอะตอม แพลงตอนพืช และแพลงตอนสัตว์บางชนิด
การรับประทาน
[แก้]เนื้อใช้รับประทาน นิยม นำมาแกะเปลือกเอาเนื้อทำหอยแห้ง ผัด แกง ส่วนเปลือกบดผสมลงในอาหารสัตว์
การอยู่อาศัย
[แก้]หอยชนิดนี้พบได้บริเวณชายหาดที่มีโคลนเหมาะแก่การอยู่อาศัย ในจังหวัดเพชรบุรี ตั่งแต่บริเวณตำบล บางขุนไทรถึงแหลมหลวง โดยเป็นแหลมยื่นไปในทะเลเป็นแนวเขตแบ่งทะเลกับหาดทรายและหาดโคลน โดยส่วนมากจะอาศัยในพื้นกระซ้าผสมโคลนตมที่อยู่ในทะเล โดยในอดีตการเก็บหอยเริ่มต้นจากการชาวบ้านมาหาหอยแคงที่มีอยู่ตามหาดโคลนชายฝั่ง
วิธีการเก็บหอย
[แก้]จะเริ่มการเก็บหอย บริเวณน้ำแห้งหลังจากที่น้ำลงแล้วจะปรากฏรูของหอย ซึ่งมักจะออกมาหาหอยเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัวในช่วงหลังฤดูทำนาอันเป็นอาชีพหลักในสมัยก่อน
แต่ได้มีการเล่าว่าชาวนาจากบ้านนาบัว (ทุ่งบางแก้วในอดีต)ในตำบลบางแก้ว ใช้คานหลาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์แทงมัดข้าวเปลื่อกฟ่อนก่อนเอาไปนวด เอามาใช้หาบหอย ต่อมาคานหลาวนั้นได้หักลง จึงได้ใช้คานหลาวที่เป็นไม้ไผ่แทงลงพื้นดินทะเล ปรากฏว่า พบหอยเสียบเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้มาหาหอยเสียบ ทำไม้ปลายแหลมเช่นเดียวกับปลายของคานเหลาวมาขุดแทงเพื่อเก็บหอย ความที่เป็นไม้ไผ่จึงไม่คงทน จึงทำให้ต่างคนต่างก็คิดดัดแปลงมาเป็นเหล็ก จึงได้มี
ลักษณะเป็น หอก โดยนำมาใช้ขุดหอย จึงเป็นที่มาของอุปกรณ์หาหอยในพื้นที่กับหอยชนิดนี้ นอกจากหอยเสียบแล้วยังใช้หาหอยปากเป็ด หอยหลอด ได้อีกด้วย [3]
ดูเพิ่ม
[แก้]ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบล เก็บถาวร 2021-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cultellus spp.
- ↑ http://www.conchology.be/?t=67&family=PHARIDAE&p=3
- ↑ ยุกตนันท์ จำปาเทศ. 2545. รายงานการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นของคนชายเล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จังหวัดนครปฐม