ข้ามไปเนื้อหา

หอทัศนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอทัศนาที่เมืองการ์ดาในอิตาลี

หอทัศนา[1] [2] (อังกฤษ: Belvedere หรือบางครั้ง Belvidere) คือ ส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่มาจากภาษาอิตาลีที่แปลว่า “ทัศนะอันงดงาม” ที่มีลักษณะโครงสร้างที่ใช้ประโยชน์ของตำแหน่งที่ตั้งเพื่อให้ได้ทิวทัศน์ดังกล่าว หอทัศนาอาจจะสร้างบนส่วนบนของสิ่งก่อสร้างเพื่อที่จะให้ได้เห็นทิวทัศน์ที่ดี ตัวโครงสร้างเองอาจจะเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นหอกลมยอดแหลม (turret) หรือ หอหลังคาโดม[3] (cupola) หรือเป็นระเบียงเปิดที่ในภาษาอิตาลีเรียกว่า “altana” ก็ได้

บนเนินด้านหนึ่งเหนือพระราชวังวาติกัน อันโตนิโอ โพลลาอูโลสร้างศาลาเล็ก ๆ ที่เรียกกันว่า “palazzetto” ซึ่งเป็นหอทัศนาสำหรับสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 8 หลายปีต่อมาโดนาโต บรามันเตก็เชื่อมวาติกันเข้ากับหอทัศนาตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 โดยการสร้างลานหอทัศนา ("Cortile del Belvedere") ที่เรียงรายด้วยประติมากรรมโบราณที่รวมทั้ง “อพอลโลหอทัศนา” (Apollo Belvedere) ที่เป็นการแพร่หลายความนิยมในการสร้าง “หอทัศนา” กันขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16

อ้างอิง

[แก้]
  1. มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
  2. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
  3. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
  • Roth, Leland M (1993). Understanding Architecture: Its Elements History and Meaning. Oxford, UK: Westview Press. pp. 342–3. ISBN 0-06-430158-3.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หอทัศนา