ข้ามไปเนื้อหา

หอจดหมายเหตุภาพยนตร์แห่งประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอจดหมายเหตุภาพยนตร์แห่งประเทศจีน
中国电影资料馆
ภาพรวมหอจดหมายเหตุ
ก่อตั้ง1958; 66 ปีที่แล้ว (1958)
สำนักงานใหญ่3 ถนนเหวินฮุ่ย-ยฺเหวียน เขตไห่เตี้ยน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
รัฐมนตรี
  • ซุน เซี่ยงฮุย
หน่วยงานแม่กรมโฆษณาการแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เว็บไซต์www.cfa.org.cn แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
เชิงอรรถ
[1]

หอจดหมายเหตุภาพยนตร์แห่งประเทศจีน (จีน: 中国电影资料馆; อังกฤษ: China Film Archive (CFA)) เป็นหอจดหมายเหตุภาพยนตร์จีนตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง อยู่ในการครอบครองและการดำเนินการโดยกรมโฆษณาการแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP)[2] ก่อตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาภาพยตร์จีนที่มีอยู่และฟื้นฟูภาพยนตร์ที่ 'สูญหาย'[3] ในช่วงไม่ปีที่ผ่านมา หอจดหมายเหตุร่วมมือกับองค์กรภาพยนตร์นานาชาติเพื่อช่วยเหลือในการอนุรักษ์ภาพยนตร์ และจัดกิจกรรมจำนวนมากโดยเฉพาะเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปักกิ่ง[4]

เป้าหมาย[แก้]

เป้าหมายในการก่อตั้งหอจดหมายเหตุคือเพื่ออนุรักษ์ภาพยนตร์จีนและออกฉายในพื้นที่ชนบท[1] ในปี ค.ศ. 2012 ภาพยนตร์ที่ผลิตในประเทศจีนระหว่างปี ค.ศ. 1905 ถึง ค.ศ. 1976 จำนวนประมาณ 2,400 เรื่องได้รับการเก็บรักษาในหอจดหมายเหตุ[5] ภายหลังหอจดหมายเหตุได้ขยายขอบเขตการบริการไปถึงการเก็บรักษาภาพยนตร์ในรูปแบบดิจิทัลทั้งภาพยนตร์จีนและภาพยนตร์นานาชาติ[3] นอกจากนี้ หอจดหมายเหตุยังดำเนินโครงการวิจัยที่มุ่งค้นหาภาพยนตร์ที่ 'สูญหาย' และแนวปฏิบัติในการสร้างภาพยนตร์ที่ถูกละทิ้ง[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Cunliffe, Tom (2014). "Sun Xianghui: China Film Archive". Eastern Kicks. สืบค้นเมื่อ May 16, 2021.
  2. "China Film Archive". Culture Place.
  3. 3.0 3.1 Wagner, Robert W. (1980). "Cinema, and Film Training in the People's Republic Of China". Journal of the University Film Association. 32 (4): 63–66. JSTOR 20687539 – โดยทาง JSTOR.
  4. "World Premiere at Shanghai International Film Festival for Historic Collection of Unseen China Films from BFI National Archive". Targeted News Service. June 10, 2015.
  5. Chi, Robert (2012). Zhang, Yingjin (บ.ก.). Hong Kong Cinema Before 1980 | A Companion to Chinese Cinema. Oxford: Blackwell Publishing Ltd. pp. 75–94.
  6. Lent, John A. (1999). "Cheng Jihua and Li Shaobai, Pioneers in Chinese Film Studies: Interview II". Asian Cinema. 10 (2): 91–95. doi:10.1386/ac.10.2.91_7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]