หอคอยกัวลาลัมเปอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
หอคอยกัวลาลัมเปอร์ | |
---|---|
Menara Kuala Lumpur منارا کوالا لومڤور | |
หอคอยกัวลาลัมเปอร์ในเวลากลางคืน | |
สถิติความสูง | |
เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในมาเลเซีย ตั้งแต่ 1994 ถึง 1996[I] | |
ก่อนหน้านี้ | เมอนาราเมย์แบงก์ |
หลังจากนี้ | เปโตรนาสทาวเวอร์ |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เสร็จสมบูรณ์ |
ประเภท | โทรคมนาคม, หอดูดาวตามปฏิทินอิสลาม, การผจญภัย (basejump), การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม |
ที่ตั้ง | บูกิตนานัซ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย |
พิกัด | 3°9′10″N 101°42′12″E / 3.15278°N 101.70333°E |
ลงเสาเข็ม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 |
เริ่มสร้าง | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2534 |
แล้วเสร็จ | 13 กันยายน พ.ศ. 2537 |
เปิดใช้งาน |
|
พิธีเปิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 |
ปรับปรุง | 1 มกราคม พ.ศ. 2555 − 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 |
ความสูง | |
เสาอากาศ | 421 เมตร (1,381 ฟุต) |
หลังคา | 335 เมตร (1,099 ฟุต) |
ชั้นบนสุด | 282 m (925 ft) |
ดาดฟ้า | 276 m (906 ft) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
จำนวนชั้น | 6 |
พื้นที่แต่ละชั้น | 7,700 ตารางเมตร (82,882 ตารางฟุต) |
ลิฟต์ | 4 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | Kumpulan Senireka Sdn. Bhd. |
ผู้รับเหมาก่อสร้าง | Hazama Corporation |
เว็บไซต์ | |
www | |
อ้างอิง | |
[1][2] |
หอคอยกัวลาลัมเปอร์ (มลายู: Menara Kuala Lumpur) หรือ หอคอยเคแอล คือ หอคอยสูงที่ตั้งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2538 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสื่อสารและหอส่งสัญญาณสูงถึง 421 เมตร ภายในหอคอยมีภัตตาคารหมุนรอบ ซึ่งสามารถมองเห็นได้รอบกัวลาลัมเปอร์
หอคอยแห่งนี้ คือ มุมมองที่เป็นจุดสังเกตของเมืองเช่นเดียวกับเปโตรนาสทาวเวอร์ อย่างไรก็ตาม หอคอยแห่งนี้ปรากฏสูงกว่าเปโตรนาสทาวเวอร์ เพราะมันถูกสร้างอยู่บนเนินเขาใจกลางกัวลาลัมเปอร์ ในระดับความสูง 515 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทำให้หอคอยนี้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในกัวลาลัมเปอร์[3]
ประวัติ
[แก้]หอคอยกัวลาลัมเปอร์ ถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นทางการโดยมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของมาเลเซีย ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2534 แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงแรก คือ การขยายป่าเขตร้อน Bukit Nanas และขุดดินสำหรับเตรียมการก่อสร้าง ในช่วงนี้เสร็จในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2535
ช่วงที่ 2 เริ่มขึ้นในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยการก่อสร้างรากฐานและชั้นใต้ดินของหอคอย งานสร้างรากฐานสำเร็จในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2536
หอคอยกัวลาลัมเปอร์ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการเพื่อใช้ในงานกระจายเสียง โดยมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของมาเลเซีย เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2536 เสาส่งสัญญาณถูกติดตั้งด้วยความสูงสูงสุด 421 เมตรจากพื้นดิน
ช่วงที่ 3 การก่อสร้างโครงสร้างหลักเริ่มในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 การก่อสร้างที่ยืดเยื้อนี้เริ่มด้วยการสร้างแต่ละชั้นของหอคอย จนกระทั่งถึงส่วนยอด และสร้างอาคารสำหรับนักท่องเที่ยว สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2538
อาคารท่องเที่ยวถูกออกแบบให้สะท้อนวัฒนธรรมอิสลามของมาเลเซีย ห้องโถงหลักมีเพดานที่ตกแต่งด้วยโดมที่เคลือบด้วยกระจกอันประณีตซึ่งส่องประกายเหมือนเพชรเม็ดใหญ่ โดมเหล่านี้ถูกออกแบบและจัดการในรูปแบบของ Muqarnas หรือคานรับของสถาปัตยกรรมเปอร์เซียหรืออิสลาม โดยนักแกะสลักชาวอิหร่านจาก เอสแฟฮอน
หอคอยกัวลาลัมเปอร์เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 เวลา 20.30 น. ตามเวลาในมาเลเซีย ท่ามกล่างแขกผู้มีเกียรติมากมาย อาทิ ยังดี เปอร์ตวน อากง กษัตริย์แห่งมาเลเซีย[4]
ระดับความสูง
[แก้]หอคอยกัวลาลัมเปอร์ คือ หอคอยที่สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยเรียงลำดับความสูง 10 อันดับแรก ดังนี้
1. Tokyo Skytree เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
2. Canton Tower เมืองกวางโจว ประเทศจีน
3. CN TOWER เมืองโตรอนโต ประเทศแคนนาดา
4. Ostankino Tower กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย
5. Oriental Pearl Tower เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
6. Milad Tower กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน
7. หอคอยกัวลาลัมเปอร์ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
8. Tianjin Radio and Television Tower เมืองเทียนจิน ประเทศจีน
9. China Central Television Tower กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
10. Zhongyuan Tower เมืองเจิ้งโจว ประเทศจีน
ระเบียงภาพ
[แก้]-
หอคอยกัวลาลัมเปอร์และตึกเปโตรนาส
-
หอคอยกัวลาลัมเปอร์
-
หอคอยกัวลาลัมเปอร์
-
ภาพพาโนราม่าจากมุมมองบนหอคอยกัวลาลัมเปอร์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "หอคอยกัวลาลัมเปอร์". SkyscraperPage.
- ↑ "Emporis building ID 105763". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2016.
- ↑ [1] KL Tower
- ↑ Kuala Lumpur Tower was opened, 1 October 1996 New Straits Times
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Menara Kuala Lumpur, Kuala Lumpur | 105753 | EMPORIS
- Kuala Lumpur Tower ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae)
- Satellite Image of the KL Tower at Google Maps
- 3D model of the KL Tower for use in Google Earth เก็บถาวร 2019-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ หอคอยกัวลาลัมเปอร์ ที่โอเพินสตรีตแมป