หวายตะค้าน้ำ
หน้าตา
หวายตะค้าน้ำ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Arecales |
วงศ์: | Arecaceae |
สกุล: | Calamus |
สปีชีส์: | C. axillaris |
ชื่อทวินาม | |
Calamus axillaris |
หวายตะค้าน้ำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calamus axillaris) เป็นหวายกอขนาดกลาง ลำต้นเลื้อยพันขึ้นที่สูง ลักษณะคล้ายหวายตะค้าทองแต่ไม่มีสีเหลือบขาวบริเวณด้านล่างของใบ พบในภาคใต้ของไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว เป็นหวายค่อนข้างหายากในมาเลเซีย พบเฉพาะในปะหัง ยะโฮร์ และเปรัก ใช้สานตะกร้า เครื่องมือดักปลา และใช้ผูกมัด
อ้างอิง
[แก้]- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6: หวาย. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 103