ข้ามไปเนื้อหา

หวัง ลี่หง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หวังลี่หง)
หวัง ลี่หง
บนพรมแดงงานเอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดAlexander Lee Hom Wang
เกิด17 พฤษภาคม พ.ศ. 2519
ที่เกิดอี้อู, มณฑลเจ้อเจียง, จีน
แนวเพลงC-pop, อาร์แอนด์บี, ฮิปฮอป
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, นักแสดง, โปรดิวเซอร์เพลง
ช่วงปีค.ศ. 1995 - ปัจจุบัน (ร้องเพลง)
ค.ศ. 1999 - ปัจจุบัน (การแสดง)
ค่ายเพลงSony BMG
เว็บไซต์sonybmg.com.tw

หวัง ลี่หง' (จีน: 王力宏, พินอิน: Wáng Lìhóng, อังกฤษ: Alexander Lee-Hom Wang) เกิด 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1976 ที่รอชิสเตอร์ในนิวยอร์ก สัญชาติอเมริกัน เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงที่ประสบความสำเร็จทั้งในไต้หวัน จีน ฮ่องกง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ครอบครัว

[แก้]

พ่อเป็นหมอ ส่วนแม่ของเขานอกจากจะเป็นบรรณารักษ์แล้ว ก็ยังเป็นนักร้องอุปรากรสมัครเล่นอีกด้วย เขามีพี่ชายที่แก่กว่า 3 ปี ชื่อ ลีโอ เรียนจบแพทย์จากมหาวิทยาลัยเยล ปัจจุบันเป็นหมออยู่ในชิคาโก และน้องชายชื่อ หวาง ลี่ ข่าย อ่อนกว่าเขา 9 ปี

การศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนพิทส์ฟอร์ด ซัทเธอร์แลนด์ มิดเดิ้ล สกูล (1990)
  • จบปริญญาตรีเกียรตินิยมจากวิลเลียมส์คอลเลจเมื่อปี 1998 เอกสาขาดนตรี โทสาขาเอเซียศึกษา
  • ปริญญาโทจากวิทยาลัยดนตรี เบิร์กลีย์ย์
  • ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์จากวิลเลียมส์คอลเลจปี 2016

ประวัติ

[แก้]

หวัง ลี่หง หนุ่มเชื้อสายไต้หวันที่เกิดในสหรัฐอเมริกา เป็นลูกคนกลางในครอบครัว สนใจเรื่องดนตรี ทั้งที่ผลการเรียนเขาอยู่ในระดับดี เขาได้เรียนไวโอลินตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ที่โรงเรียนดนตรีหรูระดับอีสต์แมนสกูลในรอชิสเตอร์ พอ 8 ขวบเขาได้เรียนเปียโน แต่ตอนนั้นเขารู้สึกว่าชอบไวโอลินมากกว่า แต่ปัจจุบันเขาค้นพบเทคนิคการเล่น ก็หลงเสน่ห์เปียโนอย่างจัง จนยกให้วิชาแจ๊สเปียโนเป็นวิชาโปรด ตอนอนุบาลได้เข้ารับการศึกษาที่อนุบาลเจฟเฟอร์สัน

พออายุ 13 ขวบ หวัง ลี่หง ก็เป็นสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดของวงรอชิสเตอร์ ฟิลฮาร์มอนิกายูทออร์เคสตราในฐานะนักเล่นไวโอลิน และรับเล่นละครดนตรีของโรงเรียนเป็นครั้งแรกเรื่อง Once Upon A Mattress 15 ขวบเริ่มแต่งเนื้อร้องกับทำนองเพลง พอถึงวันเกิด เพื่อน ๆ เขาก็จะแต่งเพลงให้เป็นของขวัญวันเกิด เวลามีแขกมาบ้านก็แสดงไวโอลินให้ฟัง

ปี 1994 หลังจากผ่านการทดสอบไวโอลินจากอีสต์แมนมิวสิกสกูล หวัง ลี่หงก็มีสิทธิเข้าเรียนดนตรีต่อที่วิลเลียมส์คอลเลจในรัฐแมสซาชูเซตส์ ที่บ้านเขา (ยกเว้นแม่) ต่างไม่เห็นด้วยกับการที่เขาจะยึดดนตรีเป็นอาชีพ ต่างลงความเห็นว่าดนตรีเหมาะเป็นงานอดิเรกเท่านั้น แต่เมื่อเห็นความตั้งใจของเขา ทุกคนก็ยอมรับและเข้าใจในที่สุด

ระหว่างเรียนที่วิลเลียมส์คอลเลจ หวัง ลี่หงเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งชมรมดนตรีวิลเลียมส์แกรสส์รูตส์มิวสิก ในขณะเดียวกันก็ลงเรียนภาษาจีนกลางไปด้วย

งานเพลง

[แก้]
หวัง ลี่หงรับรางวัลเอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ 2006 สาขา Favorite Artist Taiwan

หวัง ลี่หง มีโอกาสเข้าวงการดนตรีในไต้หวันตอนอายุ 19 ปี ตอนนั้นเขายังเรียนอยู่ปีสอง ทางโรงเรียนมีโครงงานให้ทำระหว่างปิดเทอมฤดูหนาว หัวข้อรายงานชื่อ Demographics of the Pop Music Phonomenon เขาจึงถือโอกาสบินกลับไต้หวันหาข้อมูล รวมทั้งไปเยี่ยมยายที่ยังคงอยู่ที่นั่น แถมยังได้เอาผลงานของตัวเองอัดลงวิดีโอส่งให้สังกัดแผ่นเสียงที่ไต้หวันหลายแห่งพิจารณา นั่นเป็นการเดินทางไปไต้หวันครั้งแรกของเขา เมื่อไปถึงเขายังได้เข้าร่วมการแข่งขันร้องเพลง เขาเลือกร้องเพลง Too Silly ของเอริค มู่ กับเพลง Mong Ching Shui ของ หลิวเต๋อหัว ผ่านเข้ารอบสุดท้ายแต่ก็ไม่ชนะเลิศ บริษัทริโอ มิวสิก โปรดักชันในเครือเด็คคา เร็คคอดส์สนใจเซ็นสัญญาเขาเข้าสังกัด

ผลงานชิ้นแรกของหวัง ลี่หงเป็นอัลบัมภาษาจีนกลางชื่อ Beethoven, My Rival วางขายเดือนธันวาคมปี 1995 มีเพลงที่เขาแต่งทำนองเองรวมอยู่สามเพลงคือ Listen To The Rain, Last Night และ Hate To Say Goodbye เป็นที่สนใจในหมู่นักวิจารณ์อย่างมาก แต่ไม่มีโอกาสทำกิจกรรมโปรโมตอัลบัมได้ เพราะยังเรียนหนังสืออยู่ ทำให้ยังไม่ดังเท่าที่ควร

กรกฎาคม 1996 มีอัลบัม If You Ever Heard My Song ออกมาเป็นผลงานชุดที่สอง ชุดนี้นอกจาก หวัง ลี่หง จะได้แต่งทำนองเพลงที่เป็นไตเติ้ลแทร็คแล้ว ยังได้แต่งทำนองให้เพลง Headline Rock, Better Off Alone ฯลฯ ด้วย ธันวาคมปีเดียวกันมีอัลบัมตามออกมาอีกชุด Missing You ชุดนี้มีเพลงที่เขาแต่งอยู่สองเพลง An Appointment For Your Love กับ Noah จากนั้นก็ออกคอนเสิร์ตแสดงสดเป็นครั้งแรกที่ K K Disco

หลังจากออกอัลบัมที่สี่ White Paper ซึ่งเริ่มทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในไต้หวันเมื่อปี 1997 หวัง ลี่หง ก็กลับไปอเมริกาและรับตำแหน่ง Music Director ของ Spring Streeters วงแอเคปเพลลาของวิลเลียมส์คอลเลจ เมษายนปีถัดไปเขาเขียนเนื้อเพลงและทำนองให้ The Bite That Burns ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ในปีสุดท้ายของเขาด้วย พล็อตละครเวทีเรื่องนี้เกี่ยวกับแวมไพร์ ซึ่งเขาแต่งสกอร์ไว้ถึงกว่า 570 หน้า

ต่อมาในเดือนสิงหาคม 1998 หวัง ลี่หง ก็ออกอัลบัมที่ห้า แต่เป็นอัลบัมชุดแรกกับสังกัดโซนี่ ฮ่องกง Revolution ครึ่งหนึ่งเป็นเพลงที่เขาเขียนและโปรดิวซ์เอง ขายได้ถึงหนึ่งแสนแผ่นในหนึ่งสัปดาห์ อัลบัมชุดนี้ซึ่งมีเพลง Frozen Dream ที่เขาแต่งให้เด็กกำพร้าในไต้หวัน ทำให้เขาคว้ารางวัล Best Producer และ Best Male Singer จากงานแจกรางวัล Golden Melody Awards ของไต้หวัน

ในปี 1999 หวัง ลี่หง เข้าเรียนการร้องเพลงและดนตรีแจ๊สที่ เบิร์กลีย์ย์ มิวสิก สกูล มิถุนายนปีนั้นเขาออกอัลบัมมาอีกชุดคือ Impossible To Miss You มีเพลงฮิต คือ Julia เพลงที่เขาบอกว่าแต่งโดยใช้เวลาแค่ห้านาทีระหว่างตัดผม อัลบัมชุดนี้ทำให้เขาเป็นที่รู้จักของในเอเซียมากขึ้น ทำให้เขาครองรางวัล Best Producer Award จากงานแจกรางวัล Singapore Hit Awards และรางวัล Most Promising Newcomer จากงานแจกรางวัล RTHK ครั้งที่ 22 ของฮ่องกงได้สำเร็จ หวัง ลี่หงพักการเรียนหนึ่งเทอมเพื่อเทรนการร้องกับ วิลเลียม ไรลีย์ ครูดนตรีที่ทางโซนี่แนะนำมา วิลเลียมส เคยโค้ชเสียงให้ ไมเคิล โบลตัน, ไบรอัน อดัมส์ และ สตีวี่ วันเดอร์ มาแล้ว ในปี 1999 เช่นกันที่เขาพากย์เสียงการ์ตูนเป็นครั้งแรก ให้กับเรื่อง Iron Giant รวมทั้งแต่งทำนองเพลง ให้ศิลปินรายอื่นร้องเป็นครั้งแรก กับเพลง Love Will Never Disappear ที่ จางฮุ่ยเหม่ย (A-Mei) ร้องรวมไว้ในอัลบัมรวมเพลงฮิตของเธอ ซึ่งวางขายในเดือนธันวาคมปี 1999

เมื่อเรียนจบปริญญาโทจากเบิร์กลีย์ในปี 1999 หวัง ลี่หง ก็เริ่มรับงานแสดงเรื่องแรกคือ The Iron Giant ตามมาด้วย China Strike Force ของ สแตนลีย์ ทง ในปี 2000 เรื่องนี้เขายังได้ร่วมโปรดิวซ์อัลบัมซาวด์แทร็ค ประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้กับ คูลิโอ แร็ปเปอร์ชาวอเมริกันด้วย ปีเดียวกันนี้เขายังได้ออกอัลบัมชุดที่เจ็ด Forever's First Day ออกมาด้วย เขาใช้เวลาปีกว่าในการทำงาน ทั้งแต่งและเรียบเรียงเอง 11 เพลง ในอัลบัมมีการหยิบเอา Descendent Of The Dragon มาร้องใหม่เป็นเพลงแดนซ์ เป็นเพลงเก่าของเฮอเต๋อเจียนเมื่อต้นยุค 80 แต่คนที่ร้องจนเพลงนี้ฮิตได้คือคุณลุงแท้ ๆ ของเขา หลีเจี้ยนฟู เขาบอกว่าที่เลือกคัฟเวอร์เพลงนี้ เพราะเหตุผลส่วนตัวหลายอย่าง นอกจากว่าเป็นเพลงเก่าของคุณลุงแล้ว ก็ยังเพราะช่วงนั้นเป็นปี 2000 ปีมังกร แล้วเขาเองก็เป็นหนุ่มราศีมกรอีกด้วย

อัลบัมชุดที่เจ็ด Forever's First Day ออกขายในเดือนมิถุนายนปี 2000 หวัง ลี่หง แต่งทำนองเอง 10 เพลงจากทั้งหมด 11 เพลง เขียนเนื้อเพลงเองห้าเพลง โปรดิวซ์และเรียบเรียงเองทุกเพลง งานชุดนี้เขาพยายามผสมผสานดนตรีทั้งแร็ป ฮิปฮอป แจ๊ส อาร์แอนด์บี หรือแม้แต่ดนตรีคลาสสิก เนื้อเพลงก็มีทั้งกวางตุ้งและจีนกลาง

หลังจากลุยงานมาโดยตลอด ไม่ได้หยุดแม้แต่วันเดียวเกือบสองปีเต็ม ช่วงเดือนสิงหาคม 2001 หวัง ลี่หงเขามีโอกาสไปพักผ่อนกับครอบครัว ที่เกาะไมโคโนส ประเทศกรีซ ที่นั่นเป็นแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงได้อย่างดี จนกลายเป็นอัลบัม The One And Only อัลบัมที่ทำให้หวัง ลี่หงคว้ารางวัล Producer Of The Year, Composer Of The Year กับ Song Of The Year (จากเพลง THe One And Only)

ต่อมา หวัง ลี่หงได้ออกอัลบัมตามมาหลายชุดอย่าง Unbelievable, Shangri-la จนประสบความสำเร็จ ไม่แพ้ F4 หรือ เจย์ โจว ร่วมสังกัดคือ SONY BMG และยังได้ถ่ายโฆษณาสินค้าในเมืองไทย กับทาทา ยัง ศิลปินหญิงของไทยอีกด้วย นอกจากนี้ เพลงฮิตของเขายังเข้าตาศิลปินแจ๊ส เคนนี จี จนนำไปเรียบร้องใหม่และรวมไว้ในอัลบัมใหม่ของเขาอีกด้วย

ต่อมา หวัง ลี่หง ออกอัลบัมใหม่ล่าสุด กับ 10 เพลงใหม่ เปิดตัวด้วยซิงเกิลแรก Hua Tian Cuo และจะตามมาด้วยเพลงซึ้งอย่าง Kiss Goodbye นอกจากนี้ ยังมี ศิลปินรับเชิญอย่าง เรน และ Lim Jeonghee จากเกาหลีอีกด้วย ในเดือน พฤษภาคม 2006 หวัง ลี่หง ได้รับเชิญเป็นพิธีกรร่วมกับเคลลี่ โรว์แลนด์ ในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์และได้แสดงเพลง Heroes of earth และยังคว้ารางวัลศิลปินยอดนิยมจากไต้หวัน ไปครองอีกด้วย

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2549 ลี่หงได้รับรางวัล Best Male Singer จากอัลบัม Heros of Earth ในงาน Taiwan Golden Melody Awards ครั้งที่ 17

หวัง ลี่หงยังร่วมแสดงใน “Lust, Caution” ภาพยนตร์โดยผู้กำกับคนดัง “อั้งลี่” อีกด้วย ปี 2007 หวัง ลี่หงกลับมาอีกครั้งกับอัลบัมใหม่ Change My Ways ภายใต้สังกัด Epic โดยโซนี่ บีเอ็มจี มิวสิก เปิดตัวกับซิงเกิลแรก LUO YE GUI GEN

ผลงานอัลบัม

[แก้]
  • ธ.ค. 1995 Love Rival Beethoven เด็คคา
  • ส.ค. 1996 If You Heard My Song เด็คคา
  • ธ.ค. 1996 Thinking Of You เด็คคา
  • ก.ค. 1997 Whitepaper เด็คคา
  • ส.ค. 1998 Revolution โซนี่ มิวสิก
  • มิ.ย. 1999 Impossible To Miss You โซนี่ มิวสิก
  • มิ.ย. 2000 Forever First Day โซนี่ มิวสิก
  • ก.ย. 2001 The One And Only โซนี่ มิวสิก
  • ต.ค. 2002 Evolution โซนี่ มิวสิก
  • ก.ย. 2003 The only one โซนี่ มิวสิก
  • ธ.ค. 2003 Unbelievable โซนี่ มิวสิก
  • มิ.ย.. 2004 HERE MY VOICE โซนี่ มิวสิก ญี่ปุ่น
  • ธ.ค. 2004 Shangri-La โซนี่ บีเอ็มจี มิวสิก
  • ธ.ค. 2005 Heroes Of Earth โซนี่ บีเอ็มจี มิวสิก
  • ก.ค. 2007 Change Me โซนี่ บีเอ็มจี มิวสิก
  • 23ม.ค. 2015 Your Love โซนี่ บีเอ็มจี มิวสิก

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • The Iron Giant (1999)
  • China Strike Force (2000)
  • From Ashes To Ashes
  • ภาพยนตร์สั้นรณรงค์การสูบบุหรี่กำกับโดย เลสลี่ จาง นำแสดงโดย หวัง ลี่หง, ม่อเหวินเว่ย และ เหม่ยเยี่ยนฟาง (2001)
  • The Avenging Fist (2001)
  • Moon Child (2003)
  • Starlit High Noon (2005)
  • Blackhat (2015)

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
ปี รางวัล
ค.ศ. 1996
  • Best New Artist of 1996, The People's Daily Newspaper, Taiwan
  • Best New Artist of 1996, Push Magazine, Taiwan
ค.ศ. 1998
  • Top 20 of 1998, Channel V: "Revolution" (公轉自轉)
  • Ten Best Albums of the Year, News Media Group, Malaysia: "Revolution" (公轉自轉)
  • Ten Best Albums of the Year, Chinese Musicians' Association, Taiwan: "Revolution" (公轉自轉)
ค.ศ. 1999
  • Best Producer of the Year, Golden Melody Awards, Taiwan: "Revolution" (公轉自轉)
  • Best Male Vocalist, Golden Melody Awards, Taiwan: "Revolution" (公轉自轉)
  • Best Producer of the Year, Golden Melody Awards, Singapore: "Revolution" (公轉自轉)
ค.ศ. 2000
  • Best New Male Artist, HK Radio Station
  • Top 20 of 1999, Channel V: "Julia"
  • Ten Best Albums of the Year, Chinese Musicians' Association: "Impossible to Miss You" (不可能錯過妳)
  • Top Ten Songs of the Year, Chinese Musicians' Association: "Crying Palm" (流淚手心)
  • Best Male Vocalist, MTV Asia
  • Best Composer of the Year, Golden Melody Awards, Malaysia: "Impossible to Miss You" (不可能錯過妳)
  • Best Male Vocalist of the Year, Golden Melody Awards, Malaysia: "Impossible to Miss You" (不可能錯過妳)
  • Best Male Performer, 1st Asia Chinese Music Awards
  • Best Composer, 1st Asia Chinese Music Awards
  • Top 15 Hits, 1st Asia Chinese Music Awards
ค.ศ. 2001
  • Top 20 of 2000, Channel V: "Forever's First Day" (永遠的第一天)
  • Best Singer-Songwriter, Channel V
  • Best Song, MTV Asia: "The One and Only" (唯一)
  • Best Song of the Year, CCTV-MTV Asia: "Descendent of the Dragon" (龍的傳人)
  • Best Composer-Artist, Golden Melody Awards, Malaysia: "The One and Only" (唯一)
  • Best Producer of the Year, Golden Melody Awards, Malaysia: "The One and Only" (唯一)
  • Top Ten Songs, Golden Melody Awards, Malaysia: "The One and Only" (唯一)
  • Soaring Artists, 23rd Annual RTHK Music Award; Bronze
  • All China Most Popular Artist, 23rd Annual RTHK Music Award; Silver
ค.ศ. 2002
  • Best Male Vocalist, CCTV-MTV Asia
  • Top 20 Songs, CCTV-MTV Asia: "The One and Only" (唯一)
  • Best Composer-Artist, Golden Melody Awards, Malaysia: "The One and Only" (唯一)
  • Best Lyricist, Golden Melody Awards, Malaysia: "The One and Only" (唯一)
  • Best Mandarin Song: "The One and Only" (唯一), TVB Jade Solid Gold Music Awards
  • Outstanding Performance, TVB Jade Solid Gold Music Awards; Silver
ค.ศ. 2003
  • Most Popular Male Singer, HITO Pop Music Awards, Taiwan
  • Best Song of the Year, HITO Pop Music Awards, Taiwan: "W-H-Y"
  • Best Music Video, Channel V: "Two People Do Not Equal to Us" (兩個人不等於我們)
  • Top Ten Songs of the Year, Chinese Musicians' Association: "Love, Love, Love"
  • Top Ten Albums of the Year, Chinese Musicians' Association: Unbelievable (不可思議)
  • Top Ten Albums of the Year, China Times: Unbelievable: (不可思議)
  • Media's Choice Artist, Channel V
  • Top Fashion Trendsetter, Cosmopolitan, China
  • Top Ten Songs of the Year, HiTFM, "You're Not Here" (妳不在), and "The One and Only" (Japanese version) (唯一) (日文版)
ค.ศ. 2004
  • Best Male Singer Award, Channel V
  • Best Producer of the Year, Golden Melody Awards, Taiwan: "Unbelievable" (不可思議)
  • Ten Best Albums of the Year: "Unbelievable" (不可思議)
  • Most Popular Asian Male Singer, Golden Melody Awards, Singapore: "Unbelievable" (不可思議)
  • The Best Songs of the Year, Golden Melody Awards, Singapore: "Love Is Everywhere" (愛無所不在)
  • Ten Best Albums of the Year, Dong Xi Nan Bei Da Sheu Sheng Awards: "Unbelievable" (不可思議)
  • Favorite Asian Artist, Channel V, Thailand
  • Buzz Asia From Taiwan, MTV Video Music Awards Japan 2004
ค.ศ. 2005
  • Most Popular Male Artists, 5th Global Chinese Music Awards
  • Top 5 Most Popular Artists, 5th Global Chinese Music Awards
  • Top 25 Hits, 5th Global Chinese Music Awards; 心中的日月
  • Best Music Composition, 5th Global Chinese Music Awards: "Forever Love"
  • Most Popular Regional Artist, 12th Singapore Hits Award
ค.ศ. 2006
  • Best Male Artist, HITO Music Awards
  • Best Music Arrangement, HITO Music Awards
  • The Most Popular Voted Composer-Artist, HITO Music Awards
  • Song of the Year: The Heart's Sun and Moon (心中的日月), HITO Music Awards
  • Most Popular Chinese Singer: Taiwan Area, 13th EDC Dong Fang Feng Yun Bang Awards
  • Favorite Mandarin Song "Kiss Goodbye", TVB Jade Solid Gold Selection
  • Best Composer Song: "Mistake by the Flower Fields" (花田錯), MusicRadio Awards
  • Best Taiwan Male Singer, MusicRadio Awards
  • Best Producer, MusicRadio Awards
  • Favorite Artist Taiwan, เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์
  • Best Male Vocalist, Golden Melody Awards, Taiwan: "Heroes of Earth" (蓋世英雄)
  • Top 20 Hits, 6th Global Chinese Music Awards: "Kiss Goodbye"
  • Best Producer, 6th Global Chinese Music Awards: "Heroes of Earth" (蓋世英雄)
ค.ศ. 2007
  • Best Endorser, 1st Mobile Oscar 2007
  • Best Composing Singer (Hong Kong & Taiwan Area), 13th Chinese Music Awards
  • Most Popular Male Artist (Hong Kong & Taiwan Area), 13th Chinese Music Awards
  • Most Popular Song of the Year (Hong Kong & Taiwan Area), 13th Chinese Music Awards: "Big City, Small Love" (大城小愛)
  • Top 10 Albums of the Year, KKBOX Music Charts: "Heroes of Earth" (蓋世英雄)
  • Top 20 Songs of the Year, KKBOX Music Charts: "Kiss Goodbye"
  • Best Male Artist, HITO Music Awards 2007
  • Longest No. 1 Album, HITO Music Awards 2007: "Heroes of Earth" (蓋世英雄)
  • Top 10 Songs of the Year, HITO Music Awards 2007: "Kiss Goodbye"

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]