ข้ามไปเนื้อหา

หวอ ถิ เซ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หวอ ถิ เซ้า
ภาพถ่ายของหวอ ถิ เซ้าที่ สถานีตำรวจวุงเตา
เกิด1933
เฟื้อกเถาะ (Phước Thọ) เดิ๊ตด๋อ อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิต23 มกราคม ค.ศ. 1952(1952-01-23) (18–19 ปี)
เรือนจำกนเซิน เกาะกนเซิน ประเทศเวียดนาม
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า
สัญชาติเวียดนาม
อาชีพกองโจร, นักเรียน
ปีปฏิบัติงาน1948–1952
มีชื่อเสียงจากรบต้านฝรั่งเศสแบบกองโจร, เสียชีวิตเพื่อขบวนการทางการเมือง

หวอ ถิ เซ้า (เวียดนาม: Võ Thị Sáu; 1933 – 23 มกราคม 1952) เป็นนักเรียนชาวเวียดนามที่ต่อสู้ในฐานะกองโจรต่อต้านเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในเวียดนามซึ่งในเวลานั้นเป็นรัฐอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส เธอถูกจับกุมและตัดสินมีความผิดถูกประหารชีวิตโดยฝรั่งเศสในปี 1953 เป็นสตรีคนแรกที่ถูกประหารชีวิตในเรือนจำกนเซิน ปัจจุบันเธอได้รับการเชิดชูในเวียดนามในฐานะผู้สละชีพเพื่อชาติและวีรสตรี

หวอ ถิ เซ้า เกิดในคอมมูนเฟื้อกเถาะ (Phước Thọ) อำเภอเดิ๊ตด๋อ ในปี ค.ศ. 1933 ในเวลานั้นตั้งอยู่ในเขตจังหวัดบ่าเสียะ (Bà Rịa Province) ปัจจุบันอยู่ในอำเภอล็องเดิ๊ต (Long Đất District) จังหวัดบ่าเสียะ-หวุงเต่า ในปี ค.ศ. 1948 เธอติดต่อกับกลุ่มกองโจรท้องถิ่นหลังเพื่อนของเธอหลายคนเข้าร่วมกับเหวียตมิญ[1]

เมื่อเธออายุได้ 14 ปี เธอปาระเบิดมือใส่กลุ่มทหารชาวฝรั่งเศสในตลาดที่ชุกชุม เป็นผลให้ทหารฝรั่งเศสเสียชีวิตหนึ่งนาย บาดเจ็บ 12 นาย ในครั้งนั้นเธอหลบหนีไปได้โดยไม่ถูกจับตัว ในปี ค.ศ. 1949 เธอปาระเบิดมือใส่หัวหน้าค่ายทหารชาวเวียดนามคนหนึ่งที่รับผิดชอบการประหารชีวิตผู้สนับสนุนเหวียตมิญหลายคน ระเบิดไม่ทำงานและเธอถูกเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสจับกุม[2]

สุสานของเธอบนเกาะกนเซิน

เซ้าถูกคุมขังในเรือนจำสามแห่ง[2] โดยแห่งสุดท้ายคือสถานีตำรวจใกล้กับเรือนจำกนเซินบนเกาะกนด๋าว เธอถูกประหารชีวิตในวันที่ 23 มกราคม 1952 อายุได้ 18 ปี โดยการยิงเป้าที่มุมของคุกหมายเลขสาม (Bagne III) ก่อนเธอจะถูกยิงเป้า เธอได้รับข้อเสนอให้โพกผ้าปิดตา ซึ่งเธอปฏิเสธและระบุว่าเธอประสงค์ที่จะ “เห็นประเทศชาติอันเป็นที่รักตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต”[3][4]

ในปัจจุบัน เซ้าได้รับการยอมรับให้เป็นผู้สละชีพเพื่อชาติและสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณปฏิวัติ ชาวเวียดนามนับถือบูชาเธอเป็นดั่งดวงวิญญาณบรรพชน[5] และมีผู้ศรัทธาบูชาเธอ ดังที่ปรากฏในสุสานห่างเซือง ที่ฝังร่างของเธอ[3] ไปจนถึงศาลเจ้าบูชาเธอที่บ้านเกิดของเธอในเดิ๊ตด๋อ ปัจจุบันมีถนนหลายสายและโรงเรียนหลายแห่งในเวียดนามที่ตั้งชื่อตามเธอ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Eager, Paige Whaley (2008). From Freedom Fighters to Terrorists: Women and Political Violence. p. 131. One story in particular of Vo Thi Sau exemplifies the commitment of the women to the cause of national liberation. In 1948, after many of her friends and relatives joined the Resistance against the French, Sau became a courier and saboteur for a local guerrilla group....
  2. 2.0 2.1 Grace, Paul (1974). "Introduction". Vietnamese women in society and revolution. Vol. 1. On March 13, 1952 the French executed a sixteen-year-old woman named Vo Thi Sau. She was being ... She was given a grenade with which she managed to kill a French captain and wound 12 French soldiers. Her action went undetected. Late in 1949, a Vietnamese collaborator who was the canton chief of the district managed to get the French to execute hundreds of young men suspected of being Viet Minh cadres right in the marketplace. Sau was given the responsibility of eliminating this traitor. Since ammunition was so scarce, she was given only one hand grenade. It did not explode and she was caught by the French authorities. She went through three jails and scores of....
  3. 3.0 3.1 Emmons, Ron (2012). Frommer's Vietnam: with Angkor War. Perhaps the most tragically poignant story of Con Son's prisoners is that of Vo Thi Sau, executed by the French at 19 years of age for lobbing a grenade at French soldiers when she was only 14. These days there is something of a cult ....
  4. Bass, Thomas (2009). The Spy Who Loved Us (ภาษาEnglish). New York: PublicAffairs. p. 246.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  5. Eisner, Rivka Syd Matova (2008). Re-staging revolution and remembering toward change: National Liberation Front women perform prospective memory in Vietnam. The University of North Carolina at Chapel Hill. p. 287. The Spirit of Vo Thi Sau – One of the other spirits lingering and listening in the room with us is that of the national martyr (let si) Vo Thi Sau. She is one of the most revered ancestral spirits in the lives of the performance group women. Vo Thi Sau ...