ข้ามไปเนื้อหา

หลี่ เฟย์เฟย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลี่ เฟย์เฟย์
หลี่ ที่เอไอฟอร์กู๊ด ปี 2017
เกิดค.ศ. 1976 (อายุ 47–48 ปี)[1]
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สถาบันที่ทำงาน
วิทยานิพนธ์Visual Recognition: Computational Models and Human Psychophysics (2005)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก

หลี่ เฟย์เฟย์ (จีนตัวย่อ: 李飞飞; จีนตัวเต็ม: 李飛飛; Fei-Fei Li, เกิดปี 1976) เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันที่เกิดที่ประเทศจีน เธอเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างชุดข้อมูลอิมเมจเน็ต ซึ่งช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างเร็วในสาขาคอมพิวเตอร์วิทัศน์ระหว่างทศวรรษ 2010s[2][3][4][5]

เธอเป็นศาสตราจารย์ที่เซควอยอาแคพิทัล (Sequoia Capital) สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และอดีตประธานคณะกรรมการบริหารของทวิตเตอร์[6] ปัจจุบันเธอเป็นผู้ร่วมดูแลสถาบันปัญญาประดิษฐ์โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางของสแตนฟอร์ด (Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence) และ ห้องทดลองสแตนฟอร์ดวิชันแอนด์เลิร์นนิงแล็บ (Stanford Vision and Learning Lab)[7][8] เธอเป็นผู้ดูแลของห้องทดลองปัญญาประดิษฐ์สแตนฟอร์ด (Stanford Artificial Intelligence Laboratory, SAIL)[9] จากปี 2013 ถึง 2018

ในปี 2017 เธอร่วมก่อตั้ง เอไอฟอร์ออลล์ (AI4ALL) องค์การไม่แสวงผลกำไรที่ทำงานเพื่อเพิ่มความหลากหลายและเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้คนในสายการศึกษาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์[10][11] ความชำนาญการทางการวิจัยของเธอรวมถึง ปัญญาประดิษฐ์, การเรียนรู้ของเครื่อง, การเรียนรู้เชิงลึก, คอมพิวเตอร์วิทัศน์ และ ปริชานประสาทวิทยาศาสตร์[12]

เธอได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติ (NAE) ในปี 2020 จากผลงานในการสร้างรากฐานความรู้ทางการเรียนรู้ของเครื่องและการเข้าใจระบบการมองเห็นรับรู้ (visual understanding) เธอยังเป็นสมาชิกของสถาบันแพทยศาสตร์แห่งชาติ (NAM) และ สถาบันศิลปศาสตร์และวิทยาการแห่งชาติ (AAAS)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Markoff, John (November 19, 2012). "Seeking a Better Way to Find Web Images". The New York Times. Dr. Li, 36
  2. Gershgorn, Dave (July 26, 2017). "The data that transformed AI research—and possibly the world". Quartz.
  3. Hempel, Jessi. "Fei-Fei Li's Quest to Make Machines Better for Humanity". Wired (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 1059-1028. สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.
  4. "ImageNet: Where Have We Gone? Where Are We Going? with Fei-Fei Li". learning.acm.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.[ลิงก์เสีย]
  5. Jaton, Florian (2020). The constitution of algorithms : ground-truthing, programming, formulating. Geoffrey C. Bowker. Cambridge, Massachusetts. p. 272. ISBN 978-0-262-36323-5. OCLC 1202407378.
  6. "Profiles: Fei-Fei Li". Stanford University.
  7. "Leadership".
  8. "Stanford Vision and Learning Lab (SVL)".
  9. "Home". Stanford Artificial Intelligence Laboratory.
  10. "Melinda Gates and Fei-Fei Li Want to Liberate AI from "Guys With Hoodies"". WIRED (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-04-16.
  11. "AI4ALL - Official Website". ai-4-all.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-16.
  12. "Fei-Fei Li Ph.D. - Professor, Stanford University".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]