หลี่ อวี้อวี๋
หลี่ อวี้อวี๋ (จีน: 李亦畬; พินอิน: Li Yìyú;ค.ศ. 1832 – 1892) ชื่อ จิงหลุน (จีน: 经纶; พินอิน: Jīnglún) ชื่อเล่น อวี้อวี๋ (จีน: 亦畬; พินอิน: Yìyú) เป็นลูกของน้องสาว อู่ อวี่เซียง (จีน: 武禹襄; พินอิน: Wǔ Yǔxiāng) และเป็นลูกศิษย์เพียงคนเดียวที่ได้รับการถ่ายทอดวิชามวยไท่เก๊กตระกูลอู่จากอู่ อวี่เซียง จึงเป็นผู้สืบทอดมวยไทเก็กตระกูลอู่รุ่นที่ 2 โดยปริยาย
หลี่ อวี้อวี๋ เสียชีวิตลงในวันที่ 8 เดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 1892 เนื่องจากตรอมใจจากการตายของมารดาที่เสียไปในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน
พื้นเพ
[แก้]หลี่ อวี้อวี๋ เป็นคนถนนตะวันตก เมืองกว่างฟู่ อำเภอหยงเหนียน มณฑลเหอเป่ย เป็น จวีเหยิน (เป็นยศอย่างหนึ่ง) สมัยราชวงศ์ชิง เกิดในครอบครัวที่มีการศึกษาสูง บิดาชื่อ ชิน มารดา แซ่ อู่ มีพี่น้อง 4 คน อวี้อวี๋ เป็นพี่ชายคนโต รักการร่ำเรียน และการฝึกฝนวิทยายุทธตั้งแต่เด็ก
ประวัติการศึกษามวยไท่เก๊ก
[แก้]อู่ อวี่เซียง ผู้เป็นน้าชาย เชี่ยวชาญ มวยไท่เก๊ก แต่ไม่เคยสอนใคร นอกจาก หลี่ อวี้อวี๋ ซึ่ง อู่ อวี่เซียง ก็ได้ท่ายทอดวิชาให้อย่างเต็มที่ ไม่ปิดบังใดๆ เป็นเวลากว่า 20 ปี หลี่ อวี้อวี๋ ได้เรียนวิชามวยไท่เก๊กจากน้าชายโดยครบถ้วน และได้ใช้เวลาทั้งชีวิตในการศึกษาและฝึกฝนอย่างตั้งใจ ทุกท่วงท่า ทุกเวลา ล้วนนึกถึงแต่ท่ามวย เมื่อคิดท่ามวย หรือ เคล็ดลับได้ ก็จะจดบันทึกบน เศษกระดาษ แปะบนหลักหิน แล้ววิเคราะห์ต่ออย่างจริงจัง เมื่อพบข้อผิดพลาด ก็จะดึงเศษกระดาษกลับลงมาแก้ไข แล้วแปะกลับบนหลักหินใหม่ จนกว่าจะรู้ว่าถูกต้องจริงๆ ฉะนั้น วิทยายุทธ์ที่ล้ำเลิศของเขาไม่ใช่ได้มาโดยบังเอิญ แต่เกิดจากการมุ่งมั่นฝึกฝนมวยไท่เก๊กทั้งชีวิต
ข้อเขียนของ หลี่ อวี้อวี๋ ได้แก่ “คาถา 5 คำ”, “เคล็ดลับการคลายออก”, “เคล็ดลับการฝึกพลังและการประมือ”, “คำนำมวยไท่เก๊ก”, และ “ทฤษฎีแห่งเท็จจริงแยกรวม”
ในช่วงวัยชรา หลี่ อวี้อวี๋ ได้เรียบเรียง ทฤษฎีมวยของ หวัง จงเย่ (จีน: 王宗岳; พินอิน: Wáng Zōngyuè; เจ้าของคัมภีร์มวยภายใน) และ อู่ อวี่เซียง ขึ้นใหม่ โดยคัดลอกขึ้น 3 ฉบับ ตัวเองเก็บไว้หนึ่งฉบับ ให้น้องชาย หลี่ ฉี่ซวน (จีน: 李启轩; พินอิน: Li Qǐxuān) หนึ่งฉบับ และฉบับสุดท้ายมอบให้ลูกศิษย์ชื่อ เฮ่อ เว่ยเจิง (จีน: 郝为真; พินอิน: Hǎo Wéizhēn) คัมภีร์สามเล่มนี้ นิยมเรียกว่า “สามเล่มเก่าแก่ (จีน: 老三本; พินอิน: Lǎo sān běn)” นักฝึกมวยไท่เก๊กยุคหลังนับถือเป็นสุดยอดคัมภีร์อมตะแห่งไท่เก๊ก ชื่อของนาย หลี่ อวี้อวี๋ ก็ได้โด่งดังไปทั่วโลก
อ้างอิง
[แก้]- หลี่ เว่ยหมิง (2552). 武式太极拳精粹研究全书, กรุงเทพฯ.