หลักห้า
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ชุมชนชาวหลักห้า เป็นชื่อเรียกของชุมชน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณหลักเขตที่ 5 ริมฝั่งคลองดำเนินสะดวก ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร บางส่วนและติดกับเขตตำบลประสาทสิทธิ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตนี้มักเรียกชื่อ วัด หรือโรงเรียน ตามชื่อเสาหลักเขตที่ปักอยู่ริมคลองดำเนินสะดวก เช่น เรียกวัดปราสาทสิทธิ์ ว่าวัดหลักห้า เป็นต้น แต่เดิมตำบลประสาทสิทธิ์ รวมอยู่กับตำบลดอนไผ่ บางครั้งชาวบ้านอาจเรียกวัดประสาทสิทธิ์ว่าวัดดอนไผ่
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/3a/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C.jpg/220px-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C.jpg)
ชุมชนชาวหลักห้าส่วนใหญ่มีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก อาชีพหลักได้แก่เกษตรกรรม เช่น การทำสวนองุ่น สวนส้ม แก้วมังกร มะม่วง มะพร้าวน้ำหอม ชมพู่ทับทิมจันทร์ และสวนผักต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งในเมืองไทย ในสมัยอดีต หน้าวัดปราสาทสิทธิ์ จะมีพ่อค้าแม่ขายน้ำพืชผลเกษตรกรรม มาจำหน่าย หรือแลกเปลี่ยนกัน จนกลายเป็นตลาดนัดทางน้ำ บางก็เรียกว่าตลาดน้ำหลักห้า หรือตลาดน้ำปากคลองบัวงาม แต่ปัจจุบันเมื่อมีถนนตัดผ่าน การเดินทางสัญจรทางรถยนต์มีมากขึ้น การเดินทางไปค้าขายทางรถมีความสะดวกเป็นอย่างมาก ตลาดน้ำหลักห้าจึงได้ซบเซาลงไปตามลำดับ กระทั่งปัจจุบัน จะมีพ่อค้าแม่ขายที่พายเรือจำหน่ายสินค้าจำนวนน้อยมาก
วัดหลักห้า หรือวัดปราสาทสิทธิ์ มีองค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่บนวิหารริมคลองดำเนินสะดวก เป็นที่เคารพบูชาเป็นอย่างมากของประชาชนทั่วไป มีการจัดงานประจำปี โดยมีพิธีแห่พระทางน้ำ ซึ่งเป็นประเพณีของชุมชนชาวหลักห้า จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีพิธีการแห่องค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ตามคลองดำเนินสะดวก ตั้งแต่หลักหนึ่งจนถึงหลักแปด เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล ทำมาค้าขายดี และมีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป
หลักเขตของคลองดำเนินสะดวก
[แก้]การขุดคลองดำเนินสะดวก เป็นการขุดคลองที่ใช้แรงงานคนเพียงอย่างเดียว มิได้อาศัยเครื่องจักรกลใด ๆ ทั้งสิ้น ใช้เวลาขุดคลอง 2 ปีเศษจึงแล้วเสร็จ คลองดำเนินสะดวกเป็นคลองที่ยาวมาก อาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านในการขุดคลอง คือมีการขุดคลองเป็นช่วง ๆ สลับกับพื้นที่บางช่วงไม่ได้ขุด เมื่อฤดูฝนมาถึงน้ำหรากมาก็จะเซาะดินที่ไม่ได้ขุดให้พังทลายไปชนกับช่วงที่ขุดไว้แล้ว เป็นการทุนแรงงานนั้นเอง
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a9/Near_floating_market_-_pobl%C3%AD%C5%BE_plovouc%C3%ADho_trhu_-_panoramio_-_Thajsko.jpg/220px-Near_floating_market_-_pobl%C3%AD%C5%BE_plovouc%C3%ADho_trhu_-_panoramio_-_Thajsko.jpg)
คลองดำเนินสะดวกเป็นคลองที่มีความตรง ไม่คดเคี้ยว และมีการแบ่งระยะโดยการปักหลักเขตของคลองรวมทั้งสิ้น 8 หลักเขต โดยใช้เสาหินสี่เหลี่ยมขนาด 8x8 นิ้ว ปักไว้บนพื้นดินริมคลองสลักเลขกำกับไว้ แต่ละหลักมีระยะห่างกันประมาณ 4 กิโลเมตร หลักที่ 1 อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคคลองดำเนินสะดวก.jpgร และหลักสุดท้ายคือหลักที่ 8 อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และนิยมเรียกชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ตามชื่อหลักเขตดังกล่าว เช่น ชุมชนชาวหลักสาม ชาวหลักสี่ หรือชาวหลักห้า เป็นต้น นอกจากนั้นโรงเรียนหรือวัดก็นิยมเรียกชื่อตามหลักเขตดังกล่าว เช่น โรงเรียนวัดหลักห้า โดยมีชื่อทางราชการ คือ โรงเรียนชุมชนวัดประสาทสิทธิ์ และโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ หรือ วัดหลักห้า ซึ่งเรียกชื่อทางราชการว่า วัดปราสาทสิทธิ์ เป็นต้น