ข้ามไปเนื้อหา

หลวงไก่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงไก่
ชื่อเกิดสมพงษ์ จิตรเที่ยง
รู้จักในชื่อไก่
เกิด29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (52 ปี)
จังหวัดตรัง ประเทศไทย ไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง, เพื่อชีวิต
อาชีพนักร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์สยาม (2547-2563)

หลวงไก่ เป็นนักร้องลูกทุ่ง สไตล์ที่เรียกว่าลูกทุ่งเพื่อชีวิตสำเนียงใต้ ที่มีผลงานเพลงออกมาแล้ว 2 ชุด และได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี

ประวัติ

[แก้]

หลวงไก่ มีชื่อจริงว่า สมพงษ์ จิตรเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ 2515[1] ที่อำเภอเมือง จังหวัดตรังจบการศึกษาระดับประถมที่ โรงเรียนบ้านสุโสะ จังหวัดตรัง ระดับมัธยมที่ โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ระดับปวช.เรียนที่ ช่างอุตสาหกรรมหาดใหญ่ก่อนจะย้ายไปเรียนต่อที่เทคนิคตรัง จากนั้นก็เรียนต่อระดับ ปวส.แต่เรียนไม่จบ เพราะสนใจดนตรีมากกว่าการเรียน

หลวงไก่เล่นดนตรีมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้น ม.1 โดยเริ่มจากการเป็นนักร้องนำของโรงเรียน พอขึ้นชั้น ม.3 ก็เริ่มเล่นคีย์บอร์ด พอมาเรียนที่เทคนิคตรัง ก็ไปเล่นดนตรีตามร้านอาหาร เนื่องจากฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี ก็เลยยึดอาชีพร้องเพลงเล่นดนตรีเพื่อหาเงินส่งตัวเองเรียน ช่วงนั้นเขาเป็นมือกลอง เวลาเล่นก็ตีกลองร้องเพลงไปด้วย เขาเล่นดนตรีอยู่ที่จังหวัดตรังประมาณ 3 ปี ก็เริ่มออกไปเล่นต่างจังหวัด เริ่มที่เกาะสมุย นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ฯลฯ เขาไปเล่นเกือบทุกผับทั่วภาคใต้ เพราะคิดว่าต้องการหาเงินก่อน แล้วค่อยเรียนที่หลัง ก็เลยทำให้เรียน ปวส.ได้แค่ปีเดียว ก็หยุดไป

ในปี พ.ศ. 2540 เอกชัย ศรีวิชัยได้ตั้งวงดนตรีศรีวิชัย เขาก็ได้มาตีกลองให้กับวง ซึ่งเอกชัยและครอบครัวก็รักและดูแลเขาเป็นอย่างดี เอกชัยก็เลยผูกแขนรับเขาเป็นน้องบุญธรรม และไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด เลยได้คลุกคลีกับวงการเพลง ได้เห็นเบื้องหน้าเบื้องหลังการทำงาน

ช่วงนั้นเขาได้ร้องเพลงช่วงโหมโรงเรียกคนดูเข้าชม โดยเขาร้องเพลงแนวเพื่อชีวิตและสตริง ขณะที่วงของเอกชัยเป็นลูกทุ่ง แต่ก็ปรากฏว่าเขาเรียกผุ้ชมกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาดูได้มาก เอกชัยก็เลยให้ร้องสตริงมาตลอด ทั้งเพื่อดึงคนดูกลุ่มวัยรุ่น และให้วัยรุ่นได้รู้จักกับศิลปวัฒนธรรมแบบปักษ์ใต้ ไก่มัน "

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 หลวงไก่ ได้เซ็นสัญญากับค่ายใหม่อาร์สยาม ในสังกัดอาร์เอส หลังจากที่ค่ายเดิมคืออาร์สยามปิดตัวลง ได้ย้ายเข้าอาร์สยาม และออกอัลบั้มเดี่ยวทั้งหมด 8 อัลบั้ม ก่อนที่จะหมดสัญญาลง เมื่อปี พ.ศ. 2563 หลังจากนั้น เธอจึงมาเป็นอิสระ ต่อมาได้หมดสัญญากับค่ายอาร์สยามในปี พ.ศ. 2563 และหลังจากนั้นจึงเป็นอิสระ

เข้าวงการ

[แก้]

เอกชัยได้พาน้องบุญธรรมเข้ามาเสนอกับ ค่าย อาร์ สยาม แนวเพลงที่เขาทำตอนแรกเป็นแนวเพลงเพื่อชีวิต พอดีทางค่ายได้ตั้งยูนิตเพลงชื่อ มีดี เร็คคอร์ด ขึ้น ซึ่งมี สนอง โสตถิลักษณ์ และ หนู มิเตอร์ เป็นผู้บริหาร ซึ่งทำเพลงเพื่อชีวิตตรงกับแนวเพลงที่เขานำเสนอพอดี ผู้บริหารค่าย อาร์ สยาม ก็เลยมอบหมายให้ พี่หนู มิเตอร์ ดูแลงานเพลงชุดนี้ให้

ผลงาน

[แก้]

อัลบั้มเดี่ยว

[แก้]

หลวงไก่ (พฤศจิกายน 2547)

[แก้]
  1. ขวัญใจพี่หลวง
  2. สาวสะตอ ม.ราม
  3. คนขี้หก
  4. เจ้านกน้อย
  5. ไม่ได้ตีสะหม้อ
  6. เพื่อเธอ
  7. แอบรักอย่างแรง
  8. ปรารถนา
  9. รักทองแดง
  10. สวยตรงใจ

แหลงชัดคำเดียว (27 เมษายน 2549)

[แก้]
  1. แหลงชัดคำเดียว
  2. เผลอใจรัก
  3. คนไม่สาไร
  4. ขวัดดังเปล่า
  5. ผิดตรงไหน
  6. แรงใจพี่หลวง
  7. ฝากเพลงหอมแก้ม
  8. สาวสะพานควาย
  9. ยังไม่พร้อม
  10. เสียแล้วเสียไป[2]

รักหลาวรักเดียว (30 สิงหาคม 2550)

[แก้]
  1. ขอที (อย่ามีปัญหา)
  2. สะหม้ออินเตอร์
  3. ขวัญใจคนยาก
  4. ครั้งสุดท้าย
  5. ฟ้าส่งเธอมา
  6. เด็กวิน เด็กแว้น
  7. อย่าหลงแผ้ว แผ้ว
  8. รักหลาวรักเดียว
  9. แหลงชัดคำเดียว
  10. ขอบคุณที่ยังรักกัน
  11. มอเตอร์ไซค์แมน[3]

แค่โทรมาบอกว่าคิดถึง (28 พฤษภาคม 2552)

[แก้]
  1. ขยะหัวใจ
  2. แค่โทรมาบอกว่าคิดถึง
  3. งามหน้าไหมน้อง
  4. ฟ้าคงมีเหตุผล
  5. ไม่มีเงินไม่มีรัก
  6. ลูกน้องลูกพี่
  7. เลิกราไม่เลิกรัก
  8. แสงไฟในเศษฟืน
  9. หยับเข้ามา
  10. ห่างกันก้าวหนึ่งถึงเข้าใจ

หลวงไก่ 5 (28 กรกฏาคม 2554)

[แก้]
  1. คนมีประวัติ
  2. ขวัญใจเด็กช่าง
  3. เพื่อนแท้ในวันแพ้พ่าย
  4. คิดถึง คิดไม่ถึง
  5. ท่าไม้ตาย
  6. วินมอเตอร์ไซค์กับนายหัว
  7. คอย
  8. เรือโคลงใจเคลง
  9. สัญชาติงูเห่า
  10. เสียหลัก

หลวงไก่ 6 พี่หลวงคนเดิม (17 ตุลาคม 2556)

[แก้]
  1. พี่หลวงคนเดิม
  2. รับสายช้าอย่างอน
  3. ยาพิษร้าย
  4. รอ
  5. สละเรือ
  6. กรุณาวางสาย
  7. ต่อหน้าฉันไม่มีใคร ต่อหน้าใครไม่มีฉัน
  8. สะหม้อรอเธอ
  9. ก่อร่างสร้างฝัน
  10. ทางหลวงหมายเลข 1
  11. ลมหายใจคือเธอ
  12. เราจะไม่ทิ้งกัน

อัลบั้มพิเศษ

[แก้]

ขอบคุณอย่างแรง (กันยายน 2548)

[แก้]

ฉลองยอดขายชุดหลวงไก่ 5 แสนก๊อปปี้

มีเพลงพิเศษเพิ่มจากชุดแรก 2 เพลง

  1. เด็กช่าง...รักจริง
  2. หลบมาบ้านเรา (ร้องคู่กับ เจี๊ยบ เบญจพร)
  3. ขวัญใจพี่หลวง
  4. เพื่อเธอ
  5. ปรารถนา
  6. ไม่ได้ตีสะหม้อ
  7. คนขี้หก
  8. เจ้านกน้อย
  9. รักทองแดง
  10. สาวสะตอ ม.ราม
  11. แอบรักอย่างแรง
  12. สวยตรงใจ[4]

หลวงไก่ลายเสือ (18 กุมภาพันธ์ 2553)

[แก้]
  1. สู้เพื่อเธอ
  2. เก็บไว้นานนาน
  3. คิดมากไปหรือเปล่า
  4. เรือลำหนึ่ง
  5. ชีวิตหนี้
  6. อยากกลับบ้าน
  7. ยังได้อยู่
  8. ผงเข้าตา
  9. เพี้ยน
  10. กระดาษห่อไฟ
  11. 18 ฝน[5]

อัลบั้มรวมเพลง

[แก้]

รวมฮิต หลวงไก่ (กรกฏาคม 2550)

[แก้]
  1. แหล่งชัดคำเดียว
  2. แรงใจพี่หลวง
  3. บินหลาดง
  4. คนไม่สาไร
  5. เด็กช่างรักจริง
  6. เด็กช่างสาวพาณิชย์
  7. หลบมาอยู่บ่านเรา
  8. ขวัญใจพี่หลวง
  9. ฝากเพลงหอมแก้ม
  10. สาวสะตอม.ราม
  11. คนขี้หก
  12. ขวัดด้งเปล่า
  13. เผลอใจรัก
  14. แอบรักอย่างแรง

หลวงไก่ ดับเบิ้ลโบนัส (ตุลาคม 2551)

[แก้]
  1. ขอบคุณที่ยังรักกัน
  2. รักทองแดง
  3. ฟ้าส่งเธอมา
  4. อย่าแหลงแผ้ว แผ้ว
  5. ขวัญใจคนยาก
  6. เสียแล้วเสียไป
  7. ผิดตรงไหน
  8. ยังไม่พร้อม
  9. ครั้งสุดท้าย
  10. เจ้านกน้อย
  11. สาวสะพานควาย
  12. สวยตรงใจ
  13. เด็กช่าง...รักจริง
  14. ไม่ได้ตีสะหม้อ
  15. สะหม้ออินเตอร์
  16. เผลอใจรัก
  17. ขวัดด้งเปล่า
  18. มอเตอร์ไซค์แมน
  19. เด็กวิน เด็กแว้น
  20. ขอที (อย่ามีปัญหา)

หลวงไก่ จัมโบ้ฮิต (กรกฏาคม 2553)

[แก้]
  1. เก็บไว้นานนาน
  2. สู้เพื่อเธอ
  3. แค่โทรมาบอกว่าคิดถึง
  4. เลิกราไม่เลิกรัก
  5. ใครใช้ให้ไปรักเขา
  6. ขอบคุณที่ยังรักกัน
  7. ขวัญใจพี่หลวง
  8. ฝากเพลงหอมแก้ม
  9. ขยะหัวใจ
  10. เศษทรายในรองเท้า
  11. แหลงชัดคำเดียว
  12. รักหลาวรักเดียว
  13. อย่าแหลงแผ้ว แผ้ว
  14. เด็กช่าง...รักจริง
  15. สาวสะตอ ม.ราม
  16. แรงใจพี่หลวง

MP3 หลวงไก่ 50 เพลงฮิตอย่างจัง ดังอย่างแรง (มิถุนายน 2553)

[แก้]

หลวงไก่ Best Collection (มีนาคม 2554)

[แก้]
  1. ขอบคุณที่ยังรักกัน
  2. ขวัญใจพี่หลวง
  3. แค่โทรมาบอกว่าคิดถึง
  4. เด็กช่าง...รักจริง
  5. เก็บไว้นานนาน
  6. สู้เพื่อเธอ
  7. ใครใช้ให้ไปรักเขา
  8. เลิกราไม่เลิกรัก
  9. ฝากเพลงหอมแก้ม
  10. แรงใจพี่หลวง
  11. แหลงชัดคำเดียว
  12. รักหลาวรักเดียว
  13. อย่าแหลงแผ้ว แผ้ว
  14. คนไม่สาไร
  15. คนขี้หก
  16. สาวสะตอ ม.ราม

ที่สุดของ...หลวงไก่ (เมษายน 2555)

[แก้]
  1. คนมีประวัติ
  2. ท่าไม้ตาย
  3. ขอบคุณที่ยังรักกัน
  4. เก็บไว้นานนาน
  5. ขวัญใจพี่หลวง
  6. เด็กช่างรักจริง
  7. แหลงชัดคำเดียว
  8. ฝากเพลงหอมแก้ม
  9. แค่โทรมาบอกว่าคิดถึง
  10. ใครใช้ให้ไปรักเขา
  11. สาวสะตอ ม.ราม
  12. สู้เพื่อเธอ
  13. คนไม่สาไร
  14. คนขี้หก

หลวงไก่ ฮิตอย่างแรง (กรกฏาคม 2557)

[แก้]

ซิ้งเกิล

[แก้]
  • รับสายช้าอย่างอน (22 พฤษภาคม 2556)
  • หิ่งห้อย (5 กันยายน 2557)
  • ขอ 3 คำ (7 พฤษภาคม 2558)
  • เทริด (เพลงประกอบภาพยนตร์ เทริด) (7 เมษายน 2559)
  • ชั่วข้ามคืน (พฤษภาคม 2561)
  • รักสายแรง ร้องร่วมกับ ใบเตย Rsiam (16 พฤษภาคม 2562)
  • หิดถิ ร้องร่วมกับ อ๊อฟ ดอกฟ้า Rsiam (17 ตุลาคม 2562)
  • ขอบคุณ (กุมภาพันธ์ 2564)

เพลงพิเศษ

[แก้]
  • รักพ่อ..ไม่มีวันพอเพียง (14 พฤศจิกายน 2559) - จัดทำขึ้นเพื่อขอรวมพลังถ่ายทอดบทเพลงนี้ แทนความรู้สึก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ของ "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
  • ศรัทธา (มกราคม 2555) - จัดทำขึ้นเพื่อประสานกำลังใจจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่
  • คนไทยรักกัน (ตุลาคม 2551) - จัดทำขึ้นเพื่อความสามัคคี

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน (2556) รับบท คนขับแท็กซี่ (รับเชิญ)
  • ทาสรักอสูร (2557) รับบท โจร
  • ฮักแพง (2561) รับบท หลวงไก่ (รับเชิญ)
  • มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ (2563) รับบท จ่าไก่
  • มนต์รักวัวชน (2565)

ผลงานละคร

[แก้]
ปี เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2560 เงาอาถรรพ์ ช่อง 8 ทอง
2563 คนเหนือฅน ช่อง 7 เอชดี จ่าแดง รับเชิญ
2564 ทะเลเดือด จ่ายอด

เกียรติยศ

[แก้]
  • รางวัลมาลัยทอง นักร้องชายยอดนิยมประจำปี พ.ศ. 2549 จากเพลง " ฝากเพลงหอมแก้ม"(ประกาศเมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2550)
  • เพชรในเพลง ประจำปี พ.ศ. 2550 สาขาการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง จากเพลง ไผ่รวมกอ
  • สยามดารา สตาร์ส ปาร์ตี้ 2008 ประจำปี พ.ศ. 2551 สาขานักร้องลูกทุ่งยอดนิยมชาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. หลวงไก่ ปลอบชาวตรัง "แม้น้ำท่วมหนัก แต่ก็ไม่เคยท่วมใจคนไทย" ; ไทยรัฐ
  2. "แหลงชัดคำเดียว (2549)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-03.
  3. รักหลาวรักเดียว (2550)[ลิงก์เสีย]
  4. ขอบคุณอย่างแรง (2548)[ลิงก์เสีย]
  5. หลวงไก่ลายเสือ (2553)