หลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์)
หน้าตา
พลเอก หลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ อากาศะพันธุ์) | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2437 |
ถึงแก่กรรม | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 |
พลเอก หลวงเสนาณรงค์[1] (นามเดิม ศักดิ์ อากาศะพันธุ์) (พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2498) อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 ค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในภาคใต้ ซึ่งต่อต้านการรุกรานจากกองทัพญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพา ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก และปลัดกระทรวงกลาโหม
หลวงเสนาณรงค์ ได้รับพระราชทานยศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก[2] และ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ระหว่างวันที่ 14-19 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 [3] ท่านถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2498
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ (ร.ด.ม.(ห))
- เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
- เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
- เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชทานยศพลเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
- ↑ "พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
- ↑ จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1