หลวงพ่อโอภาสี
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
พระมหาชวน โอภาสี (ชวน มะลิพันธุ์) | |
---|---|
ชื่ออื่น | หลวงพ่อโอภาสี |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มีนาคม พ.ศ. 2441 (57 ปี) |
มรณภาพ | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2498 |
การศึกษา | น.ธ.เอก, ปธ.8 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดหลวงพ่อโอภาสี กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | วัดนันทาราม อ. ปากพนัง |
อุปสมบท | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร |
ประวัติ
[แก้]หลวงพ่อโอภาสี หรือ พระมหาชวน เกิดวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2441 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2442) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่ออายุ 5 ปี ท่านได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูนนท์จรรยาวัตต์ เจ้าอาวาสวัดนันทาราม อ. ปากพนัง[1] และในขณะที่ท่านบรรพชา ท่านก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมประกอบไปด้วยกัน ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ไม่นาน ท่านก็ลาพ่อแม่เดินทางมาศึกษาต่อยังกรุงเทพฯ ถวายตัวเป็นศิษย์ในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งได้รับไว้ในพระอุปการะ ต่อมาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชขฌาย์เช่นกัน ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมช่วงหนึ่งจนกระทั่งสอบได้จนถึงเปรียญธรรม 7 ประโยค ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ท่านได้ออกจากสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้ออกธุดงค์ต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ จนได้เป็นศิษย์หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา หลังจากถูกขับออกจากวัดบวรนิเวศ ท่านได้ไปปักกลดอยู่ที่ของนายเนียม คหบดี ผู้เป็นผู้ที่มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ในช่วงเวลานั้น ท่านก็ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือทำกิจของสงฆ์ ชาวบ้านในละแวกนั้นเรียกนามใหม่ท่านว่า หลวงพ่อโอภาสี และประชาชนก็ช่วยกันสร้างกุฎหรือถวายจัตตุปัจจัยเพื่อสร้างวัดป้องกันแดดและฝน หลวงพ่อท่านได้นำจตุปัจจัยทั้งหมดที่ประชาชนนำมาถวายนำไปเผาทิ้งในกองไฟ ซึ่งท่านได้สอนประชาชนว่า การที่เรานำเพลิงเผาจตุปัจจัยเหล่านี้ ก็เปรียบเหมือนการดับเผาจิตใจความรัก โลภ โกรธ หลง ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ หรือเผากิเลสให้หมดสิ้นไปจากชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นท่านจึงไม่ยึดติดใด ๆ ในวัตถุและตั้งใจศึกษาพระธรรมตั้งแต่ครองสมณเพศ และสามารถตัดกิเลสได้ ไม่ยึดติดเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้[2]
สมัยสงครามอินโดจีน พระเกจิอาจารย์จะปลุกเสกวัตถุมงคลมากมายที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยสำหรับวัตถุมงคลในตอนนั้นของท่านคือ ผ้าประเจียด เป็นวัตถุมงคลที่ดังในสมัยนั้น เชื่อกันว่าสิ่งนั้นจะคุ้มครองทหารไทยในการต่อสู้ในสงคราม และพระเครื่องนั้นผู้ที่บูชาจะต้องเป็นคนที่รักษาศีลธรรมด้วย วัตถุมงคลของท่านก็จะมีเพียงรุ่นเดียวคือ เหรียญครุฑแบกเสมา ประชาชนและลูกศิษย์ของท่านต่างเคราพหลวงพ่อท่านเป็นอย่างมาก บทสวดมนต์หรือคาถาของท่านก็สำหรับให้ประชาชนและลูกศิษย์ลูกหาสวดเพื่อเดินทางไปไหนจะได้ปลอดภัย และมีสิริมงคลในชีวิต ขอเพียงเรายึดมั่นในความดี และท่านก็มีคติคำสอนอยู่อย่างหนึ่งคือ ก่อนจะหลับไปแต่ละวัน ขอให้ทุกคนนึกถึงความดีที่ตนเองทำไปในแต่ละวันด้วย หลวงพ่อโอภาสีได้ถึงแก่มรณภาพลงในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ในขณะที่พุทธสมาคมแห่งประเทศอินเดียได้ทำจดหมายนิมนต์หลวงพ่อโอภาสีไปนมัสการสังเวชนียสถาน และให้ญาติโยมได้นมัสการอย่างใกล้ชิด จึงทำให้กำหนดการทุกอย่างของงานต้องยกเลิกลงไป ถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปนานกว่า 60 ปีแล้วก็ตาม แต่ประชาชนและลูกศิษย์ลูกหาก็ไม่เคยลืมเลือน และยังแสดงความกตัญญูจัดงานสรงน้ำรูปหล่อท่านเป็นประจำ และประชาชนก็เชื่อว่าหลวงพ่อท่านไม่เคยไปไหนเลย แต่ยังคงอยู่คุ้มครองลูกศิษย์อยู่ สังขารของหลวงพ่อท่านก็ยังคงอยู่ในสวนอาศรมบางมด มีพุทธศาสนิกชนผู้เคารพศรัทธาไปกราบไหว้บูชามิได้ขาด ประหนึ่งท่านยังมีชีวิตอยู่[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-29. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
- ↑ "ประวัติหลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
- ↑ หลวงพ่อโอภาสี ประวัติและปฏิปทาของท่าน