ข้ามไปเนื้อหา

หลวงปู่บุญธรรม อุตตมธัมโม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลวงปู่บุญธรรม อุตตมธัมโม (3 มกราคม 2477 - 19 กุมภาพันธ์ 2566) เป็นภิกษุชาวไทย จำพรรษา ณ วัดโพนทอง จังหวัดชัยภูมิ

ประวัติหลวงปู่บุญธรรม อุตตมธัมโม[แก้]

ชาติภูมิ[แก้]

หลวงปู่บุญธรรม อุตตมธัมโม

(N/A อุตฺตมธมฺโม)
ชื่ออื่นหลวงปู่บุญธรรม
ส่วนบุคคล
เกิด3 มกราคม พ.ศ. 2477 (88 ปี)
มรณภาพ19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโพนทอง ชัยภูมิ
อุปสมบทไม่ปรากฏแน่ชัด
พรรษา60
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาส

หลวงปู่บุญธรรม อุตตมธัมโม มีชาติกำเนิดในสกุล "โพธิ์คำ" เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2477 ณ บ้านหนองเรือ ตำบลบ้านเม็ง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

โยมบิดาชื่อ นายโม้ โพธิ์คำ และโยมมารดาชื่อ นางพันธ์ุ โพธิ์คำ มีพี่น้อง ๓ คน และเป็นผู้ชายทั้งหมด

บรรยากาศ และความเป็นอยู่ในหมู่บ้าน[แก้]

หมู่บ้านที่เด็กชายบุญธรรมอาศัยในวัยเด็ก แม้รอบหมู่บ้าน จะเต็มไปด้วยป่าไม้ ห้วยหนอง ที่พอจะหาอาหารมาเลี้ยงชีพได้ แต่ด้วย ไร้วิธีการบริหารจัดการธรรมชาติที่เป็นอยู่ ทุกอย่างจึงถูกควบคุมด้วย แดด ฝน และลมฟ้า ที่คอยพัดพาให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรม

การอยู่การกินของคนในหมู่บ้าน ค่อนข้างเป็นไปด้วยความยาก ลำบาก มีความแปรปรวนของธรรมชาติเป็นตัวแปร บางปี่ฟ้าฝนก็เป็นใจ แต่บางปีก็เหมือนธรรมชาติพิโรธโกรธเคือง ทุกอย่างเต็มไปด้วย ความแร้นแค้น

เวลาจะทำนาก็ต้องรอฝนจากฟ้า น้ำดื่มต้องอาศัยจากบ่อดิน ที่ขุดไว้ บางปีฝนแล้งหนัก ก็ต้องเดินทางเพื่อไปหาน้ำดื่มจากหมู่บ้าน ใกล้เคียง เป็นวังวนที่ทุกคนพอจะเข้าใจได้ และพร้อมจะรับมือหากไม่ เกินกำลังที่จะรับไหว

กำเนิดบ้านหนองแก[แก้]

มื่อมาถึงที่แห่งหนึ่งที่เห็นว่ามีน้ำให้ดื่มอาบได้ มีห้วยหนองให้หา อาหาร มีป่าไม้ให้หาของป่าเพื่อประทังชีวิต ทุกคนที่ย้ายมาจึงตัดสินใจ ลงหลักปักฐาน ณ ที่แห่งนี้ ที่ตั้งของชุมชนมีหนองน้ำและต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า “ต้นแก” เกิดขึ้นอยู่รายรอบ ชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองแก”

บ้านหนองแก่ในวันนั้น อุดมไปด้วยธรรมชาติที่ป่าเขาลำเนาไพร สร้างไว้ให้ ของชาถือว่าเป็นของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้เพื่อได้มีชีวิต อยู่ต่ออย่างสบายๆ สัตว์ป่าเสนอหน้าโชว์ตัวให้เห็นจนชินตา ฝูงลิง จึงขวักไขว่ไปมาอย่างเพลินใจ เก้งกวางจำนวนมากเดินเลาะเล็มหญ้า ไปทั่ว นกเงือก นกยูง นกตะกรุม นกกระเรียน และนกนานาชนิด มีให้เห็นไม่ขาดสาย

บางวันก็มีช้างตาบอดมาอาละวาดใกล้หมู่บ้าน คนกับเสือ มีโอกาสเผชิญหน้ากันเป็นระยะๆ ถัดขึ้นไปบนภูเขาใกล้หมู่บ้าน ยังมี แรดให้ผู้คนได้เล่าขานให้ลูกหลานได้รับฟัง สิ่งแวดล้อมเช่นนี้คือความหวัง ของผู้คนที่ย้ายมา การตัดสินใจที่จะสร้างชีวิตใหม่จึงเป็นเรื่องง่าย กว่าที่เคยคิดไว้

ในวัยเยาว์ เด็กชายบุญธรรมมีหน้าที่หลักในครอบครัว ก็คือ การเลี้ยงวัวจำนวนเป็นหลักร้อย ทุกวันภารกิจก็คือการต้อนฝูงวัว ไปกินหญ้าตามชายทุ่งชายป่า แม้จะเป็นงานหนักสำหรับเด็ก แต่เพราะ มีเพื่อนๆ ร่วมคณะไปเลี้ยงด้วยกัน ก็ยังพอมีความสนุกเป็นเครื่อง หล่อเลี้ยงใจอยู่บ้าง

ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น[แก้]

การศึกษาในห้องเรียนในช่วงเวลานั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก สำหรับเด็กชายบุญธรรม เพราะด้วยต้องทำงานช่วยครอบครัว และ ปัญหาเรื่องสุขภาพที่ไม่ดีนัก มีโรคภัยรุมเร้าอยู่เนืองๆ โอกาสที่จะได้ เรียนหนังสือจึงแตกต่างจากเด็กๆ ทั่วไป กว่าที่เด็กชายบุญธรรมจะได้เรียนหนังสือก็อายุย่างเข้า ๑๒ ปี แต่ก็เรียนหนังสือในระบบได้เพียง ๓ ปี คือจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก็ต้องยุติการเรียนต่อ เพราะเมื่ออายุ ๑๕ ปีก็ถือว่าพ้นเกณฑ์การศึกษา ในระดับประถม เด็กชายบุญธรรมจึงต้องหยุดการเรียนในระบบไว้เพียง เท่านี้

ใฝ่เรียนจึงต้องบวช[แก้]

เมื่อไม่สามารถเรียนต่อในโรงเรียนทั่วไปได้ พ่อแม่และญาติๆ จึงแนะนำว่า หากอยากเรียนต่อมีอีกทางหนึ่งที่สามารถทำได้คือการ บวชเรียน เพราะการบวชเรียนคือทางเลือกที่ทุกคนสามารถจับต้องได้

ไม่เฉพาะได้เรียนหนังสือเท่านั้น ที่เป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมา แต่การบวชถือว่าเป็นการตอบแทนผู้มีพระคุณอีกด้วย การที่เด็กๆ หรือ ลูกผู้ชายที่พอจะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ ที่คนหมู่มากเลือกที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผ่านโลกมาก่อน

เด็กชายบุญธรรมได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดธาตุ เมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๕ พรรษา พออายุครบบวชเป็นพระ ก็ได้ตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุต่อ และอยู่ในสมณเพศได้อีก ๕ พรรษา

ได้พบคำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ[แก้]

หลังจากที่บวชและได้เข้าอบรมกรรมฐานที่วัดธาตุ เมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นแล้ว พระบุญธรรมก็ได้กลับไปจำพรรษา อยู่ที่วัดโพนทอง บ้านหนองแก อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ในช่วงเข้าพรรษา ขณะที่ทำกิจวัตรของความเป็นพระสงฆ์ตามวิถี ปกติ ก็มีพระมหาบัวทอง พุทธโฆสโก ผู้มีความคุ้นเคยกับพระบุญธรรม มาเป็นเวลานาน ได้ทราบข่าวการบวชของเขา จึงรีบเดินทางมาแจ้งข่าว เรื่องหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และการเข้าถึงธรรมของท่านให้พระผู้เป็น มิ่งมิตรของตัวเองได้รับทราบ

พระมหาบัวทองเล่าให้ฟังว่า ได้ไปพบพระหลวงตารูปหนึ่งกำลัง สอนธรรมอยู่ที่วัดป่าพุทธยาน จังหวัดเลย อุดมการณ์ดี มีปฏิปทาน มั่นคง ลัดตรงเข้าไปทำลายกิเลสโดยเฉพาะ ไม่มีปฏิปทาแอบอิงฤทธิ์เดช ไม่ทําไปเพื่อลาภสักการะ เป็นพระหลวงตาที่ไม่งมงาย ไม่นำไปในทาง ที่ผิดแน่ๆ

พระมหาบัวทองยังกล่าวถึงความอาจหาญในธรรมของหลวงพ่อ เทียนไว้ว่า หลวงพ่อเทียนยืนยันว่าหากคนใดตั้งใจปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และถูกต้อง อย่างนานไม่เกิน ๓ ปี อย่างกลาง ๑ ปี อย่างน้อยที่สุด ๑ - ๙๐ วัน ก็สามารถเข้าถึงซึ่งการดับทุกข์ได้ อย่างน้อยความทุกข์ ที่เคยมีอยู่ในใจจะจืดจางหายไปได้แน่นอน

เมื่อพระบุญธรรมได้ฟังคำบอกเล่าอย่างอาจหาญจากคนคุ้นเคย เห็นว่าสิ่งที่พระมหาบัวทองเล่าให้ฟังนั้น เข้ากับจริตนิสัยของตัวเอง เป็นเหตุให้ต้องการที่จะพิสูจน์สิ่งที่ได้รับทราบ จึงรับปากพระมหาบัวทองว่า ออกพรรษาเดินทางไปปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

เวลา วันคืน และอายุขัย[แก้]

เมื่อกาลเวลาหมุนผ่าน จากเดือนเคลื่อนไปเป็นปี จากปีเคลื่อน เปลี่ยนไปสู่ปีที่มากกว่าเดิม ชีวิตและการทำงานของหลวงพ่อบุญธรรม อุตตมธมโมก็เช่นกัน ตั้งแต่วันที่ได้รับนิมนต์มาอยู่ที่วัดโพนทอง บ้านหนองแก ท่านก็ไม่ได้จาริกไปอยู่ที่อื่นอีกเลย

จากการทำงานที่หนักหน่วง การพัฒนาทั้งภายนอกและภายใน ที่ทุ่มเทแรงใจอย่างเต็มที่ จนท่านชื่อว่าเป็นที่พึ่งทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านหนองแก และผู้คนจำนวนมากที่ได้พบเจอ ชีวิตของหลวงพ่อบุญธรรมก็ก้าวล่วงวัยผ่าน ที่ต่อมาผู้คนมักเอ่ยสรรพนามท่านว่า “หลวงปู่”

เวลา วันคืน และอายุขัยค่อยๆ เดินทางมาพร้อมกับความเสื่อม ถอยทางร่างกายของหลวงปู่บุญธรรมทุกขณะ เพราะเดิมทีตั้งแต่เป็น พระหนุ่มหลวงปู่ก็เริ่มมีลางบอกเหตุเรื่องสุขภาพไม่ค่อยดีเป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อวัยหนุ่มก็มีโรคเกี่ยวกับปอดที่ต้องดูแลอยู่เนืองๆ ต้องเข้ารับการรักษา เป็นเวลานานๆ อยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็นโรคประจำตัวของท่านไป

จุดเปลี่ยนของสุขภาพ[แก้]

ในด้านสุขภาพกาย หลวงปู่บุญธรรมมีอาการป่วยไข้มารบกวน อยู่เรื่อยๆ แต่ที่เริ่มเด่นชัดมากขึ้นก็คือ มีครั้งหนึ่งได้ล้มทับท่าน ซึ่งดู ในช่วงแรกๆ ก็เหมือนไม่มีผลข้างเคียงอะไร หลวงปู่ก็ยังรับกิจนิมนต์ ไปแสดงธรรมตามที่ต่างๆ ได้ปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก ประกอบกับอายุที่มากขึ้น หลวงปู่เริ่มมีอาการเหมือนความจำเดี่ยวมาเดี๋ยวไป เหมือนกับคนหลงลืมแล้วก็กลับมาจำได้ เหมือนไฟฟ้าที่เดี่ยวสว่างเกี่ยวกับ คนรอบตัวท่านและญาติๆ ที่คอยดูแลสังเกตเห็นว่า มีสัญญาณบ่งบอกว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับท่านลูกศิษย์และญาติจึงได้นำตัวหลวงปู่ไปตรวจสุขภาพอย่างละเอียด ผลวินิจฉัยว่าสมองของหลวงปู่มีความผิดปกติ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยง สมองไม่พอ หลวงปู่จึงถูกนำส่งเข้าห้องผ่าตัดที่โรงพยาบาลทันที

หลังการผ่าตัด แม้หลวงปู่จะฟื้นคืนมา แรกๆ ความทรงจำ บางอย่างก็ไม่เต็มร้อย แพทย์และเจ้าหน้าที่จึงค่อยๆ รักษาท่าน ทำให้ หลวงปู่กลับมาจดจำสิ่งต่างๆ ได้ตามปกติ แต่ก็ยังอยู่ในช่วงที่ต้อง เฝ้าระวัง

ช่วงเวลาแห่งการบอกลา[แก้]

หลังการฟื้นตัว คณะลูกศิษย์ได้นำหลวงปู่กลับมาที่วัดโพนทอง บ้านหนองแก แต่การกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนของหลวงปู่ในครั้งชั่ จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ทุกการรอคอยของชาวบ้านและเหล่าลูกศิษย์ ไม่ใช่การคาดหวัง ว่าหลวงปู่จะต้องกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม พวกเขาขอเพียงให้มีโอกาส พูดคุย กราบบูชาบุคคลอันเป็นที่รัก ในขณะที่ยังพอพูดตอบกลับคืน ให้ชื่นใจก็พอ ลูกศิษย์และชาวบ้านหนองแก ได้เตรียมห้องพักฟื้นที่ดีที่สุดเท่าที่ พวกเขาจะทำได้ เพื่อให้หลวงปู่ได้อยู่อย่างสะดวกสบาย แต่ละวันก็จะมี การผลัดเปลี่ยนกันเพื่อดูแลท่าน เป็นความเหงาว้าเหว่ทางจิตที่รู้สึกต่อ สิ่งที่ได้รับรู้ แต่ก็อบอุ่นใจทุกครั้งที่ยังมีโอกาสได้ดูแลคนที่เรารักในห้วง สุดท้ายของกาลเวลา

ในช่วงเวลาที่พลังชีวิตของหลวงปู่มีจำกัด แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจ จำกัดความเป็นหลวงปู่ก็คือ รอยยิ้มของท่านยังงดงามดั่งเดิม ความ เมตตาที่ส่งออกมาผ่านแววตา ทำให้รู้สึกอิ่มเอิบหัวใจ ยากที่จะบรรยาย เป็นคำพูดได้มีคำพูดหนึ่งเวลามีใครไปกราบ ท่านก็จะพูดอยู่เสมอว่า “หลวงปู่จะลานิพพานแล้วนะ”

หลวงปู่ลานิพพาน[แก้]

เช้าวันอาทิตย์ ๑๙ เดือนกุมภาพัน พุทธศักราช ๒๕๖๕ อากาศตอนเช้าในวันนี้ยังเย็นสบายเหมือนหลายวันที่ผ่านมา เสียงนก ยังดังก้องไปทั่ววัดไหนทอง บ้านหนองแก เสียงธรรมชาติของสรรพสิ่ง ยังไหวเอนไปตามโลกเหมือนดั่งเคย แต่มีสิ่งหนึ่งที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปตลอดกาล

เช้ามืดของวันอาทิตย์ที่หลายคนยังคงหลับใหล แต่มีพระสูงวัย รูปหนึ่งนอนอยู่บนเตียงด้วยอาการที่สงบ และกลุ่มลูกศิษย์ที่คอยดูแล อย่างใกล้ชิดด้วยความห่วงหาอาทรหลวงปู่บุญธรรม อุตตมธมฺโม ในวัยสนธยาของชีวิตที่นอนสงบนิ่ง อยู่บนเตียง ได้แต่มองดูสิ่งแวดล้อมรอบข้างด้วยจิตที่อยากขอบคุณ ท่านมองสิ่งภายนอกทั้งลูกศิษย์ที่มาคอยเฝ้าด้วยความรู้สึกขอบคุณที่ พวกเขาช่างมีน้ำใจต่อท่านเหลือเกิน ท่านมองและพิจารณาดูโลกใบนี้ที่ท่านได้เกิดมา แม้จะ เต็มไปด้วยความว้าวุ่นของคนที่ยังตามหาสาระไม่เจอด้วยความเห็นใจ คงได้แต่ส่งความห่วงใยไปยังพวกเขา ขอให้แสงแห่งธรรมได้ส่องลงไปในใจ เพื่อให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนจากร้ายให้กลายเป็นดี

ขณะที่มองดูโลกภายนอก และพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว หลวงปู่ได้ใช้ทุกขณะของเวลาที่ได้ใช้สอยพิจารณาถึงธรรมชาติของธรรม ที่ปรากฏในจิต เห็นอาการของจิตที่กำลังทำงาน เห็นพลังของสติปัญญา ที่คอยทำหน้าที่ดูแลเพื่อไม่ให้ความทุกข์ใดๆ มารบกวนจิตใจ ท่านมองลึกลงไปในกิจที่พึงทำว่า ยังมีสิ่งใดตกค้างในจิตของท่าน หรือไม่ เป็นการสำรวมจิตเพื่อสำรวจชีวิตอย่างละเอียดถ้วนถี่ด้วยปัญญา ที่แจ่มแจ้งชัดเจน แม้ธาตุขันธ์ภายนอกจะไม่เป็นใจ แต่ธาตุแห่งการตื่นรู้ บนช่างแจ่มชัดยิ่ง

ท่านใช้ปัญญาที่สั่งสมมาทั้งชีวิต ผ่านการเรียนรู้ตามคำสอนของ พระพุทธองค์ และคำสั่งสอนจากองค์หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ท่าน ตระหนักรู้ว่าชีวิตในด้านรูปกายนี้ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ช่างเป็นสิ่งที่ รับบางเกินจะควบคุมไหว คงถึงเวลาที่จะบอกลาวัฏฏะนี้เสียที

ในวัยสนธยาของชีวิต ให้ตัดสินใจ ที่จะโปกลาโลกนี้ไปด้วยค่ากล่าวลาว่า "หลวงปู่ขอสานิพพาน" แล้วท่าน ก็ค่อยๆ หายใจเข้าออกอย่างมีสติ รู้สึกตัวในทุกขณะ ค่อยๆ ผ่อนลม หายใจลงทีละนิดๆ แล้วก็ดับวางธาตุขันธ์ลงด้วยจิตที่ว่างจากพันธการ ทั้งปวง

ท่านก้าวสู่มรณาภาวะในเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ดุจดั่งพระผู้รู้แจ้งโลกตามความเป็นจริง และจากโลกนี้ไปโดยไม่รู้สึกอาลัย เสียดายต่อการจากลาในครานี้เลย หลวงปู่บุญธรรม อุตฺตมรมฺโม ได้ลาจากโลกสมมุตินี้ไปอย่างสง่างาม สมดั่งเป็นสาวกแห่งองค์พุทธะ คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีและคำสอน อันประเสริฐ เพื่อแต่งแต้มโลกนี้ให้งดงาม เพื่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลาน ได้เรียนรู้ ที่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างผู้มีธรรมนำทาง

สิริรวมอายุของหลวงปู่บุญธรรม อุตฺตมธมโม ๙๓ ปี บวชดำรงตน เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา ๖๐ พรรษา